• Home

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0702/8174 กรณีสามีและภริยาทำกิจการค้าร่วมกันมีรายได้เกิน 1,800,000 บาทต่อปี

เลขที่หนังสือ กค 0702/8174 กรณีสามีและภริยาทำกิจการค้าร่วมกันมีรายได้เกิน 1,800,000 บาทต่อปี

  • Home

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0702/8174 กรณีสามีและภริยาทำกิจการค้าร่วมกันมีรายได้เกิน 1,800,000 บาทต่อปี

เลขที่หนังสือ กค 0702/8174 กรณีสามีและภริยาทำกิจการค้าร่วมกันมีรายได้เกิน 1,800,000 บาทต่อปี

เลขที่หนังสือ : กค 0702/8174
วันที่ : 14 ธันวาคม 2560
เรื่อง : กรณีสามีและภริยาทำกิจการค้าร่วมกันมีรายได้เกิน 1,800,000 บาทต่อปี
ข้อกฎหมาย : มาตรา 77/1 (5) มาตรา 77/2 และมาตรา 85/1 แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อหารือ

         1. การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีสามีและภริยา ประกอบการค้าร่วมกัน ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มร่วมกัน โดยถือเป็นหน่วยภาษีเดียวกันในนามของสามีและภริยาทั้งสองฝ่าย ตามมาตรา 77/1 (5) มาตรา 77/2 มาตรา 82 และมาตรา 85/1 แห่งประมวลรัษฎากร
                    1.1 สามีและภริยาจะต้องยื่นคำร้องขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มในนามของ “สามีและภริยา” ใช่หรือไม่
                    1.2 สามีและภริยาจะต้องยื่นคำร้องขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรใหม่ “สามีและภริยา” ในนามของ “ห้างหุ้นส่วนสามัญ” ใช่หรือไม่
         2. การยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามมาตรา 57 ฉ แห่งประมวลรัษฎากร ให้สิทธิสามีและภริยาสามารถแยกยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้ กรณีสามีและภริยาเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและต้องเสียภาษีในนามของ “ห้างหุ้นส่วนสามัญ” ตามข้อ 1.2 การยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สามีและภริยาไม่สามารถใช้สิทธิแยกยื่นแบบแสดงรายการภาษีตามมาตรา 57 ฉ แห่งประมวลรัษฎากรอีกใช่หรือไม่

แนววินิจฉัย          กรณีที่สามีและภริยาประกอบกิจการค้าร่วมกันต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มร่วมกัน โดยถือเป็นหน่วยภาษีเดียวกันในนามของสามีและภริยาทั้งสองฝ่าย ตามมาตรา 77/1 (5) มาตรา 77/2 มาตรา 82 และมาตรา 85/1 แห่งประมวลรัษฎากร ตามแถลงข่าวกรมสรรพากร ลงวันที่ 7 มีนาคม 2557 เรื่อง กรมสรรพากรชี้แจงกรณีสามีและภริยาทำกิจการค้าร่วมกัน มีรายได้เกิน 1,800,000 บาทต่อปี ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย
         1. การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและการขอเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรใหม่ กรณีที่สามีและภริยาร่วมกันประกอบกิจการ อันเป็นกิจการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเนื่องจากเป็นการให้บริการในทางธุรกิจหรือวิชาชีพ ตามมาตรา 77/1 (5) และการประกอบกิจการดังกล่าวมีมูลค่าของฐานภาษีเกิน 1,800,000 บาท ต่อปี ผู้ประกอบการต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มในนามของสามีและภริยาทั้งสองฝ่าย ซึ่งถือเป็นหน่วยภาษีเดียวกัน โดยให้ดำเนินการขอเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรในนามคู่สมรสสามีและภริยาเพื่อใช้ในการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 85 วรรคสี่ แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 57) เรื่อง กำหนด หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ลงวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2537 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 215) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขเกี่ยวกับการยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ลงวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2560 และต้องนำรายรับจากการที่สามีและภริยาร่วมกันประกอบกิจการดังกล่าวมาเป็นฐานในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มในนามของผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 77/1 มาตรา 77/2 มาตรา 82 และมาตรา 85/1 แห่งประมวลรัษฎากร อนึ่ง กิจการค้าใดที่จะถือว่าสามีและภริยาร่วมกันประกอบกิจการโดยมีรายรับร่วมกันนั้นขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงในแต่ละกรณี
         2. การยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามคำชี้แจงที่กรมสรรพากรแถลงข่าวนี้ เป็นคนละกรณีกับการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 57 ฉ แห่งประมวลรัษฎากร ที่ให้สิทธิสามีและภริยาสามารถแยกยื่นแบบแสดงรายการภาษีได้ ดังนั้น แม้ว่าสามีและภริยาเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในนามของสามีและภริยาเป็นหน่วยภาษีเดียว สามีและภริยาก็ยังสามารถใช้สิทธิแยกยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามมาตรา 57 ฉ แห่งประมวลรัษฎากรได้
เลขตู้ : 80/40508


ขอบคุณบทความจาก :: https://www.rd.go.th
 625
Visitor
Get started for free today. ทดลองใช้งาน

Create a website for free Online Stores