• Home

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0702/4383 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีเงินได้จากการเป็นตัวแทนประกันภัย

เลขที่หนังสือ กค 0702/4383 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีเงินได้จากการเป็นตัวแทนประกันภัย

  • Home

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0702/4383 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีเงินได้จากการเป็นตัวแทนประกันภัย

เลขที่หนังสือ กค 0702/4383 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีเงินได้จากการเป็นตัวแทนประกันภัย

เลขที่หนังสือ : กค 0702/4383
วันที่ : 6 กรกฎาคม 2560
เรื่อง : ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีเงินได้จากการเป็นตัวแทนประกันภัย
ข้อกฎหมาย : มาตรา 40 (2) (8)
ข้อหารือ           1. นางสาว ส. ประกอบอาชีพรับจ้าง เป็นนายหน้าประกันวินาศภัย ประเภทการจัดการประกันวินาศภัยโดยตรง
          2. นางสาว ส. ได้ทำสัญญาซื้อที่ดินพร้อมตึกแถว โดยทำสัญญาซื้อร่วมกับนาย ส. และนางสาว ภ พร้อมทั้งได้ทำสัญญาจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวกับธนาคาร
          3. นางสาว ส. ได้ใช้ตึกแถวที่อยู่บนที่ดิน ในการดำเนินธุรกิจประกันวินาศภัย โดยเปิดเป็นสำนักงานประกันวินาศภัย (สำนักงานฯ)ซึ่งจากการตรวจสอบเอกสารหลักฐานเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในปี 2558 พบว่า มีรายการค่าใช้จ่าย 8 รายการ เป็นเงินทั้งสิ้น 170,328.17 บาท
          4. เมื่อปีภาษี 2558 นางสาว ส มีรายได้จากค่านายหน้ารวมทั้งปีจำนวน 704,972.21 บาท และได้นำไปยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี (ภ.ง.ด.94) เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2558 โดยแสดงเงินได้จำนวน 227,018.37 บาท หักค่าใช้จ่ายตามจำนวนที่จ่ายจริง 54,724.88 บาท คงเหลือ 172,293.49 บาท และได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด.90) เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2559 และเนื่องจากเงินได้จำนวนดังกล่าวยังไม่ถึงเกณฑ์ที่จะต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม นางสาว ส จึงไม่ได้ยื่นคำขอเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแต่อย่างใด
          5. นางสาว ส. ได้มีหนังสือหารือว่า รายได้ค่านายหน้าในปีภาษี 2558 เข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งสามารถหักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควรได้หรือไม่ อย่างไร
แนววินิจฉัย          เงินได้ที่นางสาว ส. ได้รับจากการเป็นนายหน้าหรือตัวแทนตามกฎหมายว่าด้วยการรับประกันวินาศภัยหรือกฎหมายว่าด้วยการประกันชีวิต เป็นเงินได้ตามมาตรา 40(2) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับปีภาษี 2558-2559 นั้น มาตรา 42 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร กำหนดให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาในอัตราร้อยละ 40 แต่เมื่อรวมกับค่าใช้จ่ายสำหรับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากร แล้ว ต้องไม่เกิน 60,000 บาท
         อย่างไรก็ดี กรณีที่นางสาว ส. มีหลักฐานในการประกอบกิจการให้เห็นได้อย่างชัดแจ้งว่า ได้ประกอบกิจการในรูปแบบของการทำธุรกิจและสามารถพิสูจน์รายจ่ายในการประกอบกิจการได้ ซึ่งต้องมีลักษณะการประกอบกิจการดังนี้
         1. ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน และ
         2. ได้จัดตั้งเป็นสำนักงานในการประกอบกิจการ โดยมีอาคารสำนักงานเป็นกรรมสิทธิ์ของตนเองหรือเช่าจากบุคคลอื่น โดยมีหลักฐาน เช่น หลักฐานการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ สัญญาเช่าสำนักงาน และ
         3. มีการลงทุนด้วยการจัดหาเครื่องมือเครื่องใช้ มีค่าใช้จ่ายสำนักงาน และ
         4. มีการจ้างลูกจ้างหรือพนักงานในการประกอบกิจการ โดยมีหลักฐานตามสัญญาจ้างแรงงาน หลักฐานการจ่ายเงินเข้ากองทุนประกันสังคมตามกฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม และหลักฐานการแสดง การหักภาษี ณ ที่จ่ายและนำส่ง ในกรณีการคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่าย ไม่มีภาษีที่ต้องหัก ณ ที่จ่ายและนำส่ง จะต้องมีหลักฐานเกี่ยวกับการยื่นรายการเกี่ยวกับค่าจ้างแรงงานตามแบบ ภ.ง.ด.1 ก.
         5. มีค่าใช้จ่ายในการประกอบกิจการ เช่น ค่ารับรอง หรือค่าบริการเพื่อประโยชน์ในการติดต่องานกับลูกค้า และ
         6. มีหนังสือรับรองจากบริษัทประกันชีวิตว่าไม่มีการจ่ายเงินชดเชยหรือออกค่าใช้จ่ายแทนให้
         ค่าตอบแทนที่นางสาว ส. ได้รับจากการเป็นนายหน้าหรือตัวแทนตามกฎหมายว่าด้วยการรับประกันวินาศภัยหรือกฎหมายว่าด้วยการประกันชีวิตดังกล่าว ย่อมเข้าลักษณะเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร และในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้หักค่าใช้จ่ายได้ตามความจำเป็นและสมควร โดยให้นำมาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ต


ขอบคุณบทความจาก :: https://www.rd.go.th
 1618
Visitor
Get started for free today. ทดลองใช้งาน

Create a website for free Online Stores