• Home

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0702/3652 ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ กรณีการโอนกิจการบางส่วนให้แก่กัน

เลขที่หนังสือ กค 0702/3652 ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ กรณีการโอนกิจการบางส่วนให้แก่กัน

  • Home

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0702/3652 ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ กรณีการโอนกิจการบางส่วนให้แก่กัน

เลขที่หนังสือ กค 0702/3652 ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ กรณีการโอนกิจการบางส่วนให้แก่กัน

เลขที่หนังสือ : กค 0702/3652
วันที่ : 6 มิ.ย. 2560
เรื่อง : ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ กรณีการโอนกิจการบางส่วนให้แก่กัน
ข้อกฎหมาย : พระราชกฤษฎีกาฯ ฉบับที่ 516
ข้อหารือ           1. บริษัทฯ ประกอบกิจการให้บริการสินเชื่อรายย่อยแบบมีหลักประกันและลงทุนในบริษัทย่อย ต่างๆ และถือหุ้นในบริษัท ย่อย) ในอัตราร้อยละ 97
          2.บริษัทฯ ได้ซื้อหุ้นในบริษัท A เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานและเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันทางธุรกิจ ทำให้บริษัทฯ ต้องปรับโครงสร้างทางธุรกิจเพื่อจัดตั้งกลุ่มธุรกิจทางการเงินตามข้อกำหนดของธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งกำหนดให้บริษัทแม่จะต้องประกอบธุรกิจเป็นโฮลดิ้งเพียงอย่างเดียว บริษัทฯ จึงมีความจำเป็นต้องโอนกิจการบางส่วนที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจให้บริการสินเชื่อรายย่อยแบบมีหลักประกันไปให้แก่บริษัทย่อย โดยการโอนทรัพย์สินและหนี้สิน ดังนี้
              2.1 ลูกหนี้ตามสัญญาเงินให้กู้ยืม และลูกหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อ
              2.2 ลูกหนี้อื่นๆ เช่น ลูกหนี้จากการขายทรัพย์สินรอการขาย เงินทดรองจ่าย ค่าใช้จ่ายล่วงหน้า เป็นต้น
              2.3 ทรัพย์สินถาวร เช่น ที่ดิน ยานพาหนะ อุปกรณ์สำนักงาน เฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น
              2.4 ทรัพย์สินอื่นๆ เช่น ทรัพย์สินรอการขาย เงินมัดจำ สินทรัพย์ ภาษีเงินได้รอตัดบัญชี เป็นต้น
              2.5 รายได้ค้างรับ
              2.6 เงินให้กู้ยืมบริษัทในเครือ
              2.7 เจ้าหนี้การค้า เจ้าหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อ และเจ้าหนี้อื่นๆ
              2.8 ค่าใช้จ่ายค้างจ่ายต่างๆ และเงินประกันการเช่า
              2.9 ประมาณการหนี้สิน ผลประโยชน์พนักงาน
              2.10 สาขาทั้งหมดของบริษัทฯ
          3. เมื่อโอนทรัพย์สินและหนี้สินดังกล่าวแล้ว บริษัทฯ จะเหลือเฉพาะรายการเงินลงทุน ในบริษัทย่อยที่เป็นรายการเกี่ยวกับโฮลดิ้งเท่านั้น แต่บริษัทฯ ยังมีรายการหนี้สิน ได้แก่ ตั๋วแลกเงินกับสถาบันการเงิน หุ้นกู้ และเงินกู้ยืมจากสถาบันการเงิน ซึ่งบริษัทฯ ไม่ประสงค์ที่จะเหลือรายการเหล่านี้ไว้ แต่ขัดกับ เงื่อนไข ตามมาตรา 34 และ มาตรา 39 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และเงื่อนไขของสถาบันการเงินที่ไม่สามารถเปลี่ยนตัวลูกหนี้ได้ อีกทั้งความน่าเชื่อถือในตัวลูกหนี้ด้วย เนื่องจาก บริษัทย่อยไม่ได้เป็นบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ แต่อย่างไรก็ตาม ในส่วนของหนี้ที่ไม่ได้รับโอนมา ทางบริษัทย่อยก็จะทำสัญญาเงินกู้ยืมระหว่างกัน เพื่อรับภาระในหนี้สินเหล่านั้นจนกว่าจะสิ้นสุดสัญญา บริษัทฯ จึงหารือว่า กรณีการโอนทรัพย์สินและหนี้สินดังกล่าว ถือเป็นการโอนกิจการบางส่วน ให้แก่กัน ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 516) พ.ศ. 2554 หรือไม่
          
แนววินิจฉัย           กรณีบริษัทฯ โอนทรัพย์สินและหนี้สินตามข้อเท็จจริง หากเป็นการโอนให้แก่บริษัทในเครือเดียวกัน ตามมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 516) พ.ศ. 2554 และได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการโอนกิจการ บางส่วนให้แก่กันของบริษัทมหาชนจำกัด หรือบริษัทจำกัด เพื่อยกเว้นรัษฎากร ลงวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2554 บริษัทฯ ย่อมได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ ตามมาตรา 3 แห่ง พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 516) พ.ศ. 2554
เลขตู้ : 80/40399



ขอบคุณบทความจาก :: https://www.rd.go.th
 1366
Visitor
Get started for free today. ทดลองใช้งาน

Create a website for free Online Stores