• Home

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0702/10013 ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการยกเว้นภาษีตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 604) พ.ศ. 2559

เลขที่หนังสือ กค 0702/10013 ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการยกเว้นภาษีตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 604) พ.ศ. 2559

  • Home

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0702/10013 ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการยกเว้นภาษีตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 604) พ.ศ. 2559

เลขที่หนังสือ กค 0702/10013 ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการยกเว้นภาษีตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 604) พ.ศ. 2559

เลขที่หนังสือ : กค 0702/พ./10011
วันที่ : 25 พฤศจิกายน 2559
เรื่อง : ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการส่งออกสินค้าไปต่างประเทศ
ข้อกฎหมาย : มาตรา 80/1(1) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อหารือ           บริษัทฯ ซึ่งประกอบกิจการให้บริการขนส่ง เก็บรักษา และกระจายสินค้าให้กับลูกค้า หารือเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการส่งออกสินค้าไปต่างประเทศ สรุปข้อเท็จจริงได้ ดังนี้
          1.ลูกค้าของบริษัทฯ (ผู้ขาย) ประกอบกิจการผลิตและจำหน่ายเครื่องใช้ไฟฟ้าในประเทศไทยและส่งออกไปต่างประเทศ
          2.ในการส่งออกสินค้าไปต่างประเทศ ผู้ขายจะตกลงเงื่อนไขการขนส่งกับผู้ซื้อในต่างประเทศ โดยใช้ Incoterms แบบ FCA (Free Carrier) ซึ่งผู้ขายจะบรรจุสินค้าในตู้คอนเทนเนอร์ ณ โรงงานของผู้ขาย และจะทำพิธีการศุลกากรกับกรมศุลกากรในนามของผู้ขาย โดยมีชื่อผู้ขายเป็นผู้ส่งออกในใบขนสินค้าขาออกที่ออกโดยกรมศุลกากรเช่นเดียวกับการส่งออกภายใต้ Incoterms แบบ FOB (Free on board) หลังจากนั้น ผู้ขายจะส่งมอบสินค้าโดยการเคลื่อนย้ายตู้คอนเทนเนอร์ไปยังลานเก็บตู้คอนเทนเนอร์ตามที่ผู้ซื้อกำหนดณ ท่าเรือแห่งประเทศไทย เพื่อรอการบรรทุกขึ้นเรือที่ผู้ซื้อเป็นผู้จัดหาต่อไป ซึ่งโดยทั่วไปจะรอการขึ้นเรือประมาณ 1 ถึง 3 วัน (สินค้าที่จะส่งออกและเข้าไปในลานตู้คอนเทนเนอร์ จะต้องผ่านพิธีการศุลกากรแล้วเท่านั้น)
          3.การส่งออกภายใน Incoterms แบบ FCA ดังกล่าว การส่งมอบสินค้าและการโอนความเสี่ยงภัยจากผู้ขายไปยังผู้ซื้อ จะเกิดขึ้นเมื่อผู้ขายนำตู้คอนเทนเนอร์ไปวางพักในลานเก็บตู้คอนเทนเนอร์ ณ ท่าเรือ และขั้นตอนหลังจากนั้นผู้ซื้อจะเป็นผู้รับผิดชอบในค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น และมีสิทธิเรียกร้องในกรณีที่เกิดความเสียหายต่อตัวสินค้า ซึ่งจะแตกต่างจาก Incoterms แบบ FOB ที่ผู้ขายมีหน้าที่ต้องส่งมอบสินค้าพร้อมทั้งโอนความเสี่ยงภัยไปยังผู้ซื้อ โดยการขนสินค้าไปวางบนเรือที่ผู้ซื้อกำหนด
          4.บริษัทฯ ได้หารือว่า การส่งออกสินค้าภายใต้ Incoterms แบบ FCA ดังกล่าว เข้าลักษณะเป็นการส่งออกสินค้าซึ่งได้รับสิทธิในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ตามมาตรา 80/1 (1) แห่งประมวลรัษฎากร หรือไม่
แนววินิจฉัย           การส่งออกสินค้าไปต่างประเทศภายใต้ Incoterms แบบ FCA ซึ่งมีชื่อผู้ขายเป็นผู้ส่งออกในใบขนสินค้าขาออกที่ออกโดยกรมศุลกากร นั้น เข้าลักษณะเป็นการส่งออกตามมาตรา 77/1 (14) แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ขายได้รับสิทธิในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ตามมาตรา 80/1 (1) แห่งประมวลรัษฎากร
เลขตู้ : 79/40246


ขอบคุณบทความจาก :: https://www.rd.go.th
 507
Visitor
Get started for free today. ทดลองใช้งาน

Create a website for free Online Stores