• Home

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0702/1985 ภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีรายจ่ายที่เกี่ยวข้องกับการได้รับสิทธิประโยชน์เพิ่มเติมสำหรับการลงทุนเพื่อพัฒนาทักษะเทคโนโลยี และนวัตกรรม

เลขที่หนังสือ กค 0702/1985 ภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีรายจ่ายที่เกี่ยวข้องกับการได้รับสิทธิประโยชน์เพิ่มเติมสำหรับการลงทุนเพื่อพัฒนาทักษะเทคโนโลยี และนวัตกรรม

  • Home

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0702/1985 ภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีรายจ่ายที่เกี่ยวข้องกับการได้รับสิทธิประโยชน์เพิ่มเติมสำหรับการลงทุนเพื่อพัฒนาทักษะเทคโนโลยี และนวัตกรรม

เลขที่หนังสือ กค 0702/1985 ภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีรายจ่ายที่เกี่ยวข้องกับการได้รับสิทธิประโยชน์เพิ่มเติมสำหรับการลงทุนเพื่อพัฒนาทักษะเทคโนโลยี และนวัตกรรม

เลขที่หนังสือ : 0702/1985
วันที่ : 8 มีนาคม 2559
เรื่อง : ภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีรายจ่ายที่เกี่ยวข้องกับการได้รับสิทธิประโยชน์เพิ่มเติมสำหรับการลงทุนเพื่อพัฒนาทักษะเทคโนโลยี และนวัตกรรม
ข้อกฎหมาย : มาตรา 65 ตรี (3)(2) แห่งประมวลรัษฎากร และพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 420) พ.ศ.2547
ข้อหารือ

          บริษัท พ. (บริษัทฯ) (เดิมชื่อบริษัท อ.) ประกอบกิจการผลิตและจำหน่ายเพชร อัญมณี และเครื่องประดับที่ทำจากอัญมณี โดยได้รับ การส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สำนักงานฯ) ในกิจการผลิตเครื่องประดับหรือชิ้นส่วนประเภท 3.2 ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิที่ได้จากการประกอบกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนเป็นเวลา 8 ปี นับแต่วันแรกที่เริ่มมีรายได้จากการประกอบกิจการ ทั้งนี้ ภายใต้เงื่อนไข บริษัทฯ จะต้องมีการลงทุนหรือมีค่าใช้จ่ายในการวิจัยและพัฒนาหรือออกแบบ ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม ด้านเทคโนโลยีชั้นสูง (Advance Technology Training) และค่าใช้จ่ายในการสนับสนุนสถาบันการศึกษาหรือการวิจัยที่สำนักงานฯ ให้ความเห็นชอบรวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละ 1 ของยอดขายรวมกันใน 3 ปีแรก หรือมีค่าใช้จ่ายรวมกันไม่น้อยกว่า 150 ล้านบาท แล้วแต่มูลค่าใดจะต่ำกว่า จึงจะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 31 วรรคสอง และวรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 หากไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขดังกล่าวจะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 31 วรรคหนึ่ง และวรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุนพ.ศ. 2520 (สิทธิประโยชน์ตามนโยบายส่งเสริมการลงทุนเพื่อพัฒนาทักษะ เทคโนโลยีและนวัตกรรม Skill, Technology & Innovation (STI)) มีมูลค่าไม่เกิน 32,097,000 บาท จะปรับเปลี่ยนตามจำนวนเงินลงทุนโดยไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียนที่แท้จริงของวันเปิดดำเนินการตามโครงการที่ได้รับส่งเสริม ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 26 เมษายน 2549 สำนักงานฯ ได้ให้ความเห็นชอบในการสนับสนุนสถาบันการศึกษาให้แก่วิทยาลัยสารพัดช่างฯ บริษัทฯ ได้ดำเนินการตามโครงการ STI การดำเนินงานภายใต้โครงการดังกล่าวมีค่าใช้จ่าย ดังนี้


          1. ค่าก่อสร้าง ซ่อมแซม ปรับปรุงและบำรุงอาคาร สถานที่โดยรอบ ตลอดจนระบบสาธารณูปโภคของวิทยาลัยสารพัดช่างฯ เพื่อให้อยู่ในสภาพที่สามารถจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรที่กำหนดไว้ในโครงการได้


          2. จัดซื้อเครื่องจักรกล อุปกรณ์และเครื่องมือ รวมถึงวัสดุสิ้นเปลืองและอัญมณีที่จำเป็นและส่งมอบให้แก่วิทยาลัยสารพัดช่างฯ เพื่อให้นักศึกษาใช้ในการฝึกหัดเจียระไนตามหลักสูตรการเรียนการสอนตามโครงการ STI


          3. รายจ่ายค่าสาธารณูปโภคเป็นรายเดือน เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ที่เกิดขึ้น ณ วิทยาลัยสารพัดช่างฯอันเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนและฝึกอบรมภายใต้โครงการ STI


          4. รายจ่ายค่าเบี้ยประกันภัยรายปีสำหรับอาคาร ทรัพย์สิน เครื่องจักรกลและเครื่องมือที่ใช้ ในโครงการ ทั้งนี้เพื่อเป็นการประกันความเสียหายที่อาจเกิดจากการจัดเก็บอุปกรณ์เครื่องจักร เครื่องมือและอัญมณีหรือเครื่องประดับต่างๆ ที่มีค่า เพื่อใช้เป็นอุปกรณ์ในการเรียนการสอน ณ วิทยาลัยสารพัดช่างฯ


          5. รายจ่ายค่าตอบแทนและเงินสนับสนุนพิเศษให้แก่ครูและบุคลากรทางการศึกษารวมทั้งค่าใช้จ่ายในการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา และผู้บริหารที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำหลักสูตรการเรียนการสอน


          6. รายจ่ายค่าตอบแทนครูพี่เลี้ยงและลูกจ้างชั่วคราว ในการดำเนินการเรียนการสอนตามโครงการ


          7. รายจ่ายค่าเบี้ยเลี้ยงตอบแทนในการเข้ารับการฝึกงานและพัฒนาผู้เรียนในโครงการเมื่อจบการฝึกอบรมแล้ว


          8. รายจ่ายค่าวัสดุอุปกรณ์เครื่องใช้ในสำนักงานและวัสดุสิ้นเปลืองอื่นๆ ที่เกิดขึ้น เช่น โต๊ะและเก้าอี้ที่ใช้ในการฝึกอบรม เครื่องปรับอากาศและเครื่องดับเพลิงในห้องเรียน ณ วิทยาลัยสารพัดช่างฯ


          9. ค่าใช้จ่ายเดินทางเข้ามาทำงานของครูฝึกสอนชาวต่างชาติ เช่น ค่าตั๋วเครื่องบิน ค่าขนย้ายสัมภาระ ค่าวีซ่า และค่าใช้จ่ายในการขออนุญาตทำงาน


          10. ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ออกให้ทุกทอดสำหรับครูผู้ฝึกสอนชาวต่างชาติ


          บริษัทฯ จึงขอทราบว่า


          1. ค่าใช้จ่ายซึ่งบริษัทฯ ได้จ่ายไปสำหรับการจัดการเรียนการสอนด้านการออกแบบการวิจัยและการพัฒนา การอบรมเทคโนโลยีชั้นสูง ตามข้อ 1. - 10. สามารถนำมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลของกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนได้หรือไม่ ในกรณีที่ไม่อาจถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ ขาดทุนสุทธิ ค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่บริษัทฯ ได้จ่ายไปภายใต้โครงการ STI ที่ได้รับอนุมัติจากสำนักงานฯ สามารถนำมาถือเป็นรายจ่ายเพื่อสนับสนุนการศึกษาตามพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 420) พ.ศ. 2547 ได้หรือไม่


          2. ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับโครงการ STI เป็นรายจ่ายที่บริษัทฯ ได้จ่ายไปสำหรับการจัดการเรียนการสอนด้านการออกแบบการวิจัยและการพัฒนา การอบรมเทคโนโลยีชั้นสูง เช่น ค่าก่อสร้าง ซ่อมแซม ปรับปรุงและบำรุงรักษา สถานที่โดยรอบตลอดจนระบบสาธารณูปโภคของวิทยาลัยสารพัดช่างฯ ค่าจัดซื้อเครื่องจักรกล อุปกรณ์และเครื่องมือ รวมทั้งวัสดุสิ้นเปลืองและอัญมณีที่จำเป็น ค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้าของวิทยาลัยสารพัดช่างฯ เป็นต้น รายจ่ายดังกล่าวผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการจะออกใบกำกับภาษี/ ใบแจ้งหนี้ในนามวิทยาลัยสารพัดช่างฯ ตามตัวอย่างใบกำกับภาษีที่บริษัทฯ ส่งมาประกอบการพิจารณารายจ่ายดังกล่าว บริษัทฯ มีสิทธินำมาถือเป็นรายจ่ายตามมาตรา 65 ตรี (3) แห่งประมวลรัษฎากร หรือถือเป็นรายจ่ายตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 420) พ.ศ. 2547 ได้หรือไม่
          


          3. ภาษีซื้อที่เกิดจากรายจ่ายตาม 1. ซึ่งได้มีการซื้ออุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ ค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า ฯลฯ บริษัทฯ มีสิทธินำมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้หรือไม่


          4. การสนับสนุนค่าใช้จ่ายเพื่อการจัดซื้อเครื่องจักร เครื่องมือ เครื่องใช้และอุปกรณ์เพื่อมอบให้วิทยาลัยสารพัดช่างฯ จากรายจ่ายตาม 1. บริษัทฯ ต้องนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่

แนววินิจฉัย

          1. กรณีตาม 1. หากรายจ่ายที่บริษัทฯ ได้จ่ายเพื่อสนับสนุนการศึกษาให้แก่วิทยาลัย สารพัดช่างฯ ตามรายการรายจ่าย 1. - 10. เป็นรายจ่ายภายใต้เงื่อนไขของการได้รับการส่งเสริมการลงทุน รายจ่ายดังกล่าวย่อมเป็นรายจ่ายของกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน และเนื่องจากรายจ่ายดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นการบริจาคเงินหรือทรัพย์สินให้แก่หรือเพื่อกิจการของสถานศึกษาของทางราชการ จึงเข้าลักษณะเป็นรายจ่ายเพื่อการศึกษา ตามมาตรา 65 ตรี (3) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับข้อ 2 (1) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 44) เรื่อง กำหนดรายจ่ายเพื่อสาธารณประโยชน์รายจ่ายเพื่อการศึกษาและรายจ่ายเพื่อการกีฬา ตามมาตรา 65 ตรี (3) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2535 บริษัทฯ จึงมีสิทธินำรายจ่ายดังกล่าว มาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ไม่เกินร้อยละ 2 ของกำไรสุทธิ


          2. กรณีตาม 2. หากบริษัทฯ ได้บริจาคเงินหรือทรัพย์สินให้วิทยาลัยสารพัดช่างฯ บริษัทฯ จะมีสิทธิได้รับยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เป็นจำนวนเงินหรือมูลค่าของทรัพย์สินเป็นจำนวนสองเท่าของรายจ่ายที่จ่ายไปเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนการศึกษา แต่ต้องไม่เกินร้อยละสิบของกำไรสุทธิก่อนหักรายจ่ายเพื่อการกุศลสาธารณะหรือเพื่อการสาธารณประโยชน์ และเพื่อการศึกษาหรือเพื่อการกีฬา ตามมาตรา 65 ตรี (3) แห่งประมวลรัษฎากร ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ ตามมาตรา 3(2) แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 420) พ.ศ. 2547 ประกอบกับประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ สำหรับเงินได้ที่จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อการสนับสนุนการศึกษา ลงวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2548 ซึ่งต้องเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับโครงการที่กระทรวงศึกษาธิการให้ความเป็นชอบและเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับรายการดังต่อไปนี้


               (1) จัดหาหรือจัดสร้างอาคาร อาคารพร้อมที่ดิน หรือที่ดินให้แก่สถานศึกษา เพื่อใช้ประโยชน์ทางการศึกษา


               (2) จัดหาวัสดุอุปกรณ์เพื่อการศึกษา แบบเรียน ตำรา หนังสือทางวิชาการ สื่อและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาตลอดจนวัสดุอุปกรณ์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา


               (3) จัดหาครู อาจารย์ หรือผู้ทรงคุณวุฒิทางการศึกษา หรือเป็นทุนการศึกษาการประดิษฐ์ การพัฒนา การค้นคว้า หรือการวิจัย สำหรับนักเรียน นิสิต หรือนักศึกษาของสถานศึกษาทั้งนี้ สถานศึกษาที่ได้รับบริจาคต้องออกใบเสร็จรับเงินของสถานศึกษาเท่านั้น โดยระบุรายการบริจาคตามวัตถุประสงค์ของผู้บริจาคให้ชัดเจน เช่น บริจาคเพื่อสร้างอาคาร อาคารพร้อมที่ดิน หรือวัสดุอุปกรณ์ แบบเรียน ตำรา ให้เป็นส่วนกลางของสถานศึกษานั้น เป็นต้น ดังนั้น รายการรายจ่ายใดที่เข้าลักษณะตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว บริษัทฯ มีสิทธิได้รับยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เป็นจำนวนสองเท่าของรายจ่ายที่จ่ายไปเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนการศึกษา แต่ต้องไม่เกินร้อยละสิบของกำไรสุทธิ ตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 420) พ.ศ. 2547


          3. กรณีตาม 3. ตามหลักฐานใบกำกับภาษี เป็นภาษีซื้อที่เกิดจากรายจ่ายในการซื้ออุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า ฯลฯ เพื่อใช้ในกิจการของวิทยาลัยสารพัดช่างฯ ซึ่งใบกำกับภาษีซื้อจากการซื้อสินค้าดังกล่าวระบุชื่อวิทยาลัยสารพัดช่างฯ เป็นผู้ซื้อสินค้า จึงไม่ใช่ภาษีซื้อของบริษัทฯ ที่จะนำมาหักออกจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มได้ และไม่ใช่ภาษีซื้อของบริษัทฯ ที่จะถือเป็นรายจ่ายได้แต่อย่างใด


          4. กรณีตาม 4. ตามหลักฐานใบกำกับภาษี วิทยาลัยสารพัดช่างฯ เป็นผู้ซื้อสินค้าจากผู้ขายโดยบริษัทฯ เป็นผู้สนับสนุนค่าใช้จ่ายดังกล่าว กรณีดังกล่าวไม่ถือว่าบริษัทฯ เป็นผู้ขายสินค้าจึงไม่ต้องนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม

เลขตู้ : 79/40038


ขอบคุณบทความจาก ::https://www.rd.go.th
 517
Visitor
Get started for free today. ทดลองใช้งาน

Create a website for free Online Stores