• Home

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0702/10196ภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการจ่ายค่าบริการให้แก่บริษัทต่างประเทศ

เลขที่หนังสือ กค 0702/10196ภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการจ่ายค่าบริการให้แก่บริษัทต่างประเทศ

  • Home

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0702/10196ภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการจ่ายค่าบริการให้แก่บริษัทต่างประเทศ

เลขที่หนังสือ กค 0702/10196ภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการจ่ายค่าบริการให้แก่บริษัทต่างประเทศ

เลขที่หนังสือ : 0702/10196
วันที่ : 11 พฤศจิกายน 2558
เรื่อง : ภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการจ่ายค่าบริการให้แก่บริษัทต่างประเทศ
ข้อกฎหมาย : มาตรา 70 มาตรา 83/6 วรรคสอง และมาตรา83/6(2) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อหารือ           1.สำนักงาน ก.เป็นนิติบุคคล ได้ตกลงทำสัญญา (MOU) เป็นสมาชิกการใช้บริการฐานข้อมูลวิจัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศกับ บริษัท A ซึ่งเป็นบริษัทที่จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายของประเทศไอร์แลนด์ และไม่มีสาขาอยู่ในประเทศไทย โดยการแนะนำและประสานงานผ่าน บริษัท B ซึ่งจดทะเบียนจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย บริษัท A จะให้บริการในรูปแบบของการสมัครเป็นสมาชิกเพื่อเข้าไปสืบค้นข้อมูลวิจัยทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่เป็นประโยชน์ผ่านทางเว็บไซต์ ให้บริการสอบถามข้อมูลและขอคำแนะนำเพิ่มเติมจากผู้เชี่ยวชาญของบริษัท A ซึ่งมีประมาณ 900 คนทั่วโลกทางโทรศัพท์ได้โดยตรง โดยบริษัท A ไม่ได้ส่งพนักงานเข้ามาให้บริการแก่สำนักงาน ก.ในประเทศไทย ขอบเขตและสาระสำคัญการให้บริการของบริษัท บริษัท A มีดังนี้
               1.1 บริการสอบถามและสืบค้นข้อมูลด้านโทรคมนาคม
               1.2 บริการสืบค้นข้อมูลด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
               1.3 บริการรายงานข่าวสารและเรื่องที่น่าสนใจ
          2.บริษัท A เป็นผู้กำหนดการให้บริการ ราคา รูปแบบของสัญญา และรายละเอียดใบแจ้งหนี้ รวมถึงเงื่อนไขต่างๆ ทั้งหมด และสำนักงาน ก.จะชำระเงินค่าสมาชิกเป็นรายปีให้แก่บริษัท A โดยตรง
          3.บริษัท B เป็นตัวแทนการตลาดของบริษัท A โดยทำหน้าที่เป็นผู้แนะนำให้สำนักงาน ก.ใช้บริการของบริษัท A เมื่อสำนักงาน ก.สนใจใช้บริการของบริษัท A บริษัท คอมมิวนิเคชั่นฯ จะประสานงานให้สำนักงาน ก.ทำสัญญากับบริษัท A โดยตรง บริษัท B มิได้เป็นตัวแทนผู้ประสานงานให้แก่บริษัท A เพียงบริษัทเดียวสำหรับตลาดในประเทศไทย เนื่องจากบริษัท คอมมิวนิเคชั่นฯ ยังเป็นตัวแทนผู้ประสานงานให้แก่บริษัทอื่นๆ จากอเมริกาและยุโรปที่มีการให้บริการคล้ายคลึงกันกับบริษัท A อีกด้วย
          4.สำนักงาน ก.ขอหารือว่า เมื่อสำนักงาน กสทช.จ่ายเงินชำระค่าสมาชิกให้แก่บริษัท บริษัท A สำนักงาน ก.มีหน้าที่ต้องหักและนำส่งภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่ อย่างไร
แนววินิจฉัย           1.กรณีที่สำนักงาน ก.ได้ทำสัญญาเป็นสมาชิกการใช้บริการฐานข้อมูลวิจัยทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศผ่านเว็บไซต์และทางโทรศัพท์กับบริษัท A ซึ่งเป็นบริษัทที่จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายของประเทศไอร์แลนด์ และไม่มีสาขาอยู่ในประเทศไทย โดยการแนะนำและประสานงานผ่านบริษัท B ซึ่งเป็นบริษัทที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย หากบริษัท B ได้กระทำการเป็นตัวแทนให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต่างๆ ในต่างประเทศเป็นปกติแห่งธุรกิจของตน มิได้กระทำการเป็นตัวแทนให้แก่บริษัท A เพียงบริษัทเดียว และมีอิสระในการดำเนินการมิได้อยู่ภายใต้การควบคุมของบริษัท A โดยได้รับเพียงค่านายหน้าจากบริษัท A เท่านั้น และสำนักงาน ก.เป็นผู้ชำระเงินค่าบริการให้แก่บริษัท A โดยตรง ถือว่าการประกอบกิจการของบริษัท B เป็นการประกอบธุรกิจอย่างเป็นอิสระ มิใช่เป็นผู้ทำการแทนหรือผู้ทำการติดต่อในการประกอบกิจการของบริษัท A ในประเทศไทย เมื่อบริษัท A มิได้ส่งพนักงานเข้ามาให้บริการในประเทศไทย กรณีจึงถือว่าบริษัท A มิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย ตามมาตรา 76 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ทั้งนี้ ตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากรที่ 2/2526 เรื่อง ภาษีเงินได้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามมาตรา 76 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2526 และหากการให้บริการดังกล่าวของบริษัท A ไม่มีการให้ข้อมูลใดๆ ที่เป็นการให้เทคโนโลยีหรือข้อสนเทศเกี่ยวกับประสบการณ์ทางอุตสาหกรรม พาณิชยกรรม หรือวิทยาศาสตร์ แก่สำนักงาน ก.แล้ว ค่าตอบแทนจากการให้บริการดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) แห่งประมวลรัษฎากร ดังนั้น เมื่อสำนักงาน ก.จ่ายค่าบริการให้แก่บริษัท A จึงไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษีจากเงินได้พึงประเมินที่จ่าย ตามมาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากร แต่อย่างใด
          2.กรณีที่สำนักงาน ก.จ่ายค่าบริการให้แก่บริษัท A ตามข้อเท็จจริงดังกล่าว เข้าลักษณะเป็นการจ่ายค่าบริการให้แก่ผู้ประกอบการที่ได้ให้บริการในต่างประเทศและได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร ดังนั้น สำนักงาน ก.จึงมีหน้าที่ต้องนำส่งเงินภาษีมูลค่าเพิ่มที่บริษัท A มีหน้าที่ต้องเสียในอัตราร้อยละ 7.0 ของเงินที่จ่าย ตามมาตรา 83/6 (2) แห่งประมวลรัษฎากร โดยยื่นแบบนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ. 36) ภายในเจ็ดวันนับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงิน ตามมาตรา 83/6 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับข้อ 4 ของประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ขยายกำหนดเวลาการนำส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย การนำส่งภาษีเงินได้ การนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มและการยื่นรายการ ลงวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2544
เลขตู้ : 78/39922


ขอบคุณบทความจาก ::https://www.rd.go.th
 891
Visitor
Get started for free today. ทดลองใช้งาน

Create a website for free Online Stores