• Home

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0702/2381 ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ทางการค้า

เลขที่หนังสือ กค 0702/2381 ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ทางการค้า

  • Home

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0702/2381 ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ทางการค้า

เลขที่หนังสือ กค 0702/2381 ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ทางการค้า

เลขที่หนังสือ : กค 0702/2381
วันที่ : 16 กุมภาพันธ์ 2558
เรื่อง : ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ทางการค้า
ข้อกฎหมาย : มาตรา 65 ตรี (12) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อหารือ           1. นาย ย. (ลูกหนี้) ลูกหนี้ทางการค้าของบริษัทฯ ได้ผิดนัดชำระหนี้ค่าเช่าซื้อรถยนต์เป็นเงิน 4,957,200 บาท บริษัทฯ จึงได้ยื่นฟ้องลูกหนี้ต่อศาลแพ่งเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2547 และศาลแพ่งได้มีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 11 เมษายน 2548 ให้ลูกหนี้ส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อทั้ง 6 คันคืนบริษัทฯ ในสภาพเรียบร้อยใช้การได้ดี หากส่งคืนไม่ได้ให้ลูกหนี้ใช้ราคาแทนเป็นเงิน 2,400,000 บาท พร้อมกับให้ลูกหนี้ชำระค่าเสียหายเป็นค่าปรับตามสัญญาเช่าซื้อแต่ละฉบับเป็นเงิน 3,462,382.26 บาท รวมเป็นเงิน 5,862,382.26 บาท
          2. ลูกหนี้ได้ยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นต่อศาลอุทธรณ์เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2548และศาลอุทธรณ์ได้มีคำพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2551 ความตอนหนึ่งว่า หากลูกหนี้ส่งคืนรถที่เช่าซื้อแก่บริษัทฯ ไม่ได้ให้ใช้ราคาแทนรวมเป็นเงิน 1,912,150.05 บาทและให้ลูกหนี้ชำระเงินค่าปรับในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีในเงินต้น 910,654.47 บาท นับแต่วันที่ 15 มิถุนายน 2537 จนถึงวันที่ 14 มิถุนายน 2542 และในเงินต้น 1,001,495.58 บาท นับแต่วันที่ 15 พฤษภาคม 2537 จนถึงวันที่ 14 พฤษภาคม 2542 เป็นค่าปรับ 717,449.18 บาท รวมทั้งสิ้น 2,629,599.23 บาท บริษัทฯ ได้ยื่นฎีกาเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2552 เพื่อให้ศาลฎีกามีคำพิพากษากลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์และพิพากษายืนตามศาลชั้นต้น ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา
          3. บริษัทฯ เห็นว่า หากต้องรอคำพิพากษาของศาลฎีกาจะเสียเวลา เสียกำลังบุคลากร และค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดี บริษัทฯ จึงจะยื่นถอนฎีกาเพื่อบังคับคดีตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ โดยให้ลูกหนี้ชำระหนี้เต็มจำนวนตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
          4. จากข้อเท็จจริงข้างต้น บริษัทฯ เห็นว่า
               4.1 หนี้ทางการค้าส่วนที่ศาลมิได้พิพากษาให้บริษัทฯ ได้รับชำระตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ สามารถถือเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (12) แห่งประมวลรัษฎากร ในรอบระยะเวลาบัญชีที่บริษัทฯ ได้ถอนฎีกาเพื่อยุติคดีในชั้นฎีกาโดยอีกฝ่ายไม่คัดค้าน ซึ่งคำพิพากษาชั้นอุทธรณ์จะมีผลผูกพันคู่ความและเป็นที่สุดนับแต่วันที่ศาลอนุญาตให้ถอนฎีกาและได้อ่านคำสั่ง
               4.2 ผลต่างระหว่างหนี้ตามคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ กับจำนวนเงินที่ได้รับชำระหนี้จากลูกหนี้ บริษัทฯ สามารถจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 186 (พ.ศ. 2534) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ ลงวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2534 ได้ ต่อเมื่อบริษัทฯ ได้ยื่นขอและศาลได้มีคำสั่งบังคับคดีตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แล้ว แต่ลูกหนี้ไม่มีทรัพย์สินใดๆ ที่จะชำระหนี้ได้ บริษัทฯ จึงขอทราบว่า ความเห็นของบริษัทฯถูกต้องหรือไม่
          แนววินิจฉัย
          1. กรณีตาม 1. และ 2. บริษัทฯ ได้ยื่นฎีกาเพื่อให้ศาลฎีกามีคำพิพากษากลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ และพิพากษายืนตามศาลชั้นต้น แต่หากต้องรอคำพิพากษาของศาลฎีกาจะเสียเวลา บริษัทฯ จึงจะยื่นถอนฎีกาเพื่อบังคับคดีตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ หากบริษัทฯ ยื่นถอนฎีกาบริษัทฯ จะมีรายจ่าย ดังนี้
               1.1 ศาลอุทธรณ์ได้พิพากษาให้ลูกหนี้คืนรถยนต์ที่เช่าซื้อแก่บริษัทฯ หากส่งคืนรถยนต์ที่เช่าซื้อไม่ได้ให้ลูกหนี้ใช้ราคาแทน ลูกหนี้ไม่สามารถส่งคืนรถยนต์ที่เช่าซื้อให้แก่บริษัทฯ แต่ราคาค่าใช้คืนรถยนต์ที่บริษัทฯ ได้รับมีจำนวนน้อยกว่าจำนวนรายได้ที่บริษัทฯ ได้รับรู้เป็นรายได้ไว้แล้ว
               1.2. หากลูกหนี้ส่งคืนรถยนต์ที่เช่าซื้อแก่บริษัทฯ ไม่ได้ ลูกหนี้จะใช้ราคาแทนและให้ลูกหนี้ชำระเงินค่าปรับในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ซึ่งค่าปรับจากการผิดสัญญาเช่าซื้อมีจำนวนน้อยกว่าจำนวนรายได้ที่บริษัทฯ ได้รับรู้เป็นรายได้ไว้แล้ว
          ดังนั้น ผลต่างตามข้อ 1.1 และข้อ 1.2 ดังกล่าวถือเป็นผลเสียหายอันเนื่องจากการประกอบกิจการบริษัทฯ สามารถนำมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีที่ศาลอนุญาตให้ถอนฎีกาและได้อ่านคำสั่ง ซึ่งคำพิพากษาจะมีผลผูกพันคู่ความตามมาตรา 145 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง และเป็นที่สุดนับแต่วันที่ศาลอนุญาตให้ถอนฎีกาและอ่านคำสั่งตามมาตรา 147 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 175 และมาตรา 176 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (12) แห่งประมวลรัษฎากร
แนววินิจฉัย           1. นาย ย. (ลูกหนี้) ลูกหนี้ทางการค้าของบริษัทฯ ได้ผิดนัดชำระหนี้ค่าเช่าซื้อรถยนต์เป็นเงิน 4,957,200 บาท บริษัทฯ จึงได้ยื่นฟ้องลูกหนี้ต่อศาลแพ่งเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2547 และศาลแพ่งได้มีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 11 เมษายน 2548 ให้ลูกหนี้ส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อทั้ง 6 คันคืนบริษัทฯ ในสภาพเรียบร้อยใช้การได้ดี หากส่งคืนไม่ได้ให้ลูกหนี้ใช้ราคาแทนเป็นเงิน 2,400,000 บาท พร้อมกับให้ลูกหนี้ชำระค่าเสียหายเป็นค่าปรับตามสัญญาเช่าซื้อแต่ละฉบับเป็นเงิน 3,462,382.26 บาท รวมเป็นเงิน 5,862,382.26 บาท
          2. ลูกหนี้ได้ยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นต่อศาลอุทธรณ์เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2548และศาลอุทธรณ์ได้มีคำพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2551 ความตอนหนึ่งว่า หากลูกหนี้ส่งคืนรถที่เช่าซื้อแก่บริษัทฯ ไม่ได้ให้ใช้ราคาแทนรวมเป็นเงิน 1,912,150.05 บาทและให้ลูกหนี้ชำระเงินค่าปรับในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีในเงินต้น 910,654.47 บาท นับแต่วันที่ 15 มิถุนายน 2537 จนถึงวันที่ 14 มิถุนายน 2542 และในเงินต้น 1,001,495.58 บาท นับแต่วันที่ 15 พฤษภาคม 2537 จนถึงวันที่ 14 พฤษภาคม 2542 เป็นค่าปรับ 717,449.18 บาท รวมทั้งสิ้น 2,629,599.23 บาท บริษัทฯ ได้ยื่นฎีกาเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2552 เพื่อให้ศาลฎีกามีคำพิพากษากลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์และพิพากษายืนตามศาลชั้นต้น ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา
          3. บริษัทฯ เห็นว่า หากต้องรอคำพิพากษาของศาลฎีกาจะเสียเวลา เสียกำลังบุคลากร และค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดี บริษัทฯ จึงจะยื่นถอนฎีกาเพื่อบังคับคดีตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ โดยให้ลูกหนี้ชำระหนี้เต็มจำนวนตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
          4. จากข้อเท็จจริงข้างต้น บริษัทฯ เห็นว่า
               4.1 หนี้ทางการค้าส่วนที่ศาลมิได้พิพากษาให้บริษัทฯ ได้รับชำระตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ สามารถถือเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (12) แห่งประมวลรัษฎากร ในรอบระยะเวลาบัญชีที่บริษัทฯ ได้ถอนฎีกาเพื่อยุติคดีในชั้นฎีกาโดยอีกฝ่ายไม่คัดค้าน ซึ่งคำพิพากษาชั้นอุทธรณ์จะมีผลผูกพันคู่ความและเป็นที่สุดนับแต่วันที่ศาลอนุญาตให้ถอนฎีกาและได้อ่านคำสั่ง
               4.2 ผลต่างระหว่างหนี้ตามคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ กับจำนวนเงินที่ได้รับชำระหนี้จากลูกหนี้ บริษัทฯ สามารถจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 186 (พ.ศ. 2534) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ ลงวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2534 ได้ ต่อเมื่อบริษัทฯ ได้ยื่นขอและศาลได้มีคำสั่งบังคับคดีตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แล้ว แต่ลูกหนี้ไม่มีทรัพย์สินใดๆ ที่จะชำระหนี้ได้ บริษัทฯ จึงขอทราบว่า ความเห็นของบริษัทฯถูกต้องหรือไม่
          แนววินิจฉัย
          1. กรณีตาม 1. และ 2. บริษัทฯ ได้ยื่นฎีกาเพื่อให้ศาลฎีกามีคำพิพากษากลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ และพิพากษายืนตามศาลชั้นต้น แต่หากต้องรอคำพิพากษาของศาลฎีกาจะเสียเวลา บริษัทฯ จึงจะยื่นถอนฎีกาเพื่อบังคับคดีตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ หากบริษัทฯ ยื่นถอนฎีกาบริษัทฯ จะมีรายจ่าย ดังนี้
               1.1 ศาลอุทธรณ์ได้พิพากษาให้ลูกหนี้คืนรถยนต์ที่เช่าซื้อแก่บริษัทฯ หากส่งคืนรถยนต์ที่เช่าซื้อไม่ได้ให้ลูกหนี้ใช้ราคาแทน ลูกหนี้ไม่สามารถส่งคืนรถยนต์ที่เช่าซื้อให้แก่บริษัทฯ แต่ราคาค่าใช้คืนรถยนต์ที่บริษัทฯ ได้รับมีจำนวนน้อยกว่าจำนวนรายได้ที่บริษัทฯ ได้รับรู้เป็นรายได้ไว้แล้ว
               1.2. หากลูกหนี้ส่งคืนรถยนต์ที่เช่าซื้อแก่บริษัทฯ ไม่ได้ ลูกหนี้จะใช้ราคาแทนและให้ลูกหนี้ชำระเงินค่าปรับในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ซึ่งค่าปรับจากการผิดสัญญาเช่าซื้อมีจำนวนน้อยกว่าจำนวนรายได้ที่บริษัทฯ ได้รับรู้เป็นรายได้ไว้แล้ว
          ดังนั้น ผลต่างตามข้อ 1.1 และข้อ 1.2 ดังกล่าวถือเป็นผลเสียหายอันเนื่องจากการประกอบกิจการบริษัทฯ สามารถนำมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีที่ศาลอนุญาตให้ถอนฎีกาและได้อ่านคำสั่ง ซึ่งคำพิพากษาจะมีผลผูกพันคู่ความตามมาตรา 145 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง และเป็นที่สุดนับแต่วันที่ศาลอนุญาตให้ถอนฎีกาและอ่านคำสั่งตามมาตรา 147 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 175 และมาตรา 176 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (12) แห่งประมวลรัษฎากร
เลขตู้ : 78/39505


ขอบคุณบทความจาก ::https://www.rd.go.th
 691
Visitor
Get started for free today. ทดลองใช้งาน

Create a website for free Online Stores