• Home

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0702/177 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีเงินได้พึงประเมินที่ได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

เลขที่หนังสือ กค 0702/177 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีเงินได้พึงประเมินที่ได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

  • Home

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0702/177 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีเงินได้พึงประเมินที่ได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

เลขที่หนังสือ กค 0702/177 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีเงินได้พึงประเมินที่ได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

เลขที่หนังสือ : กค 0702/177
วันที่ : 13 มกราคม 2558
เรื่อง : ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีเงินได้พึงประเมินที่ได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ข้อกฎหมาย : ข้อ 2(36) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509)ฯ
ข้อหารือ           1.เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2552 นายอ. ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด.91) ปีภาษี 2551 พร้อมทั้งใบแนบ ภ.ง.ด.91 ปีภาษี 2551 กรณีคำนวณเงินได้ที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานเฉพาะที่เลือกเสียภาษีโดยไม่นำไปรวมคำนวณภาษีกับเงินได้อื่นๆ ซึ่งเมื่อนำเงินได้ที่คำนวณตามใบแนบ ภ.ง.ด. 91 มารวมคำนวณกับแบบ ภ.ง.ด.91 แล้ว ปรากฏว่า มีภาษีที่ต้องชำระเพิ่มเติมเป็นจำนวน 15,773 บาท นายอ. จึงได้ชำระภาษีจำนวนดังกล่าว
          2.เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2554 นายอ. ได้ยื่นแบบ ภ.ง.ด.91 ปีภาษี 2551 เพิ่มเติม แสดงความประสงค์จะขอคืนเงินภาษีที่ชำระไว้เกินเป็นจำนวน 896,081.51 บาท โดยไม่ได้แสดงรายการอื่นใดอีก ซึ่งนายอ. ได้ชี้แจงไว้ในแบบดังกล่าวว่า เงินได้ที่รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้รับการยกเว้นการเก็บภาษี ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 52) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการ สำหรับกรณีลูกจ้างออกจากงานเพราะเกษียณอายุ ทุพพลภาพ หรือตาย ลงวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 158) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการ สำหรับกรณีลูกจ้างออกจากงานเพราะเกษียณอายุ ทุพพลภาพ หรือตาย ลงวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2549
แนววินิจฉัย           กรณีนายอ. เป็นพนักงานของธนาคารฯ ได้ออกจากงานตามคำสั่งธนาคารฯ เรื่อง อนุญาตให้พนักงานลาออกตามโครงการเกษียณอายุก่อนกำหนด ลงวันที่ 15 กันยายน 2551 ซึ่งให้พ้นจากตำแหน่งหน้าที่ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2551 ในขณะนั้น ธนาคารฯ มีข้อบังคับเกี่ยวกับการเกษียณอายุของพนักงานกำหนดไว้ว่า "พนักงานคนใดมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ ให้ออกจากงานเมื่อสิ้นปีงบประมาณตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณของปีที่พนักงานผู้นั้นมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์" เมื่อนายอ. มีอายุ 57 ปี การที่นายอ.ออกจากงานตามคำสั่งของธนาคารฯ ดังกล่าว จึงไม่ใช่เป็นการออกจากงานเพราะครบกำหนดหรือสิ้นกำหนดเวลาการทำงานตามสัญญาจ้างแรงงานที่เป็นลายลักษณ์อักษร ไม่เข้าลักษณะเป็นการออกจากงานเพราะเกษียณอายุ ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการ ตามข้อ 1(1) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 52)ฯ ลงวันที่ 16 กุมภาพันธ์พ.ศ. 2538 ส่วนกรณีที่ธนาคารฯ ได้แก้ไขข้อบังคับเกี่ยวกับการเกษียณอายุของพนักงานในปี 2553 เป็นว่า การเกษียณอายุก่อนอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ ตามข้อตกลงที่ธนาคารกำหนดเป็นคราวๆ ไป ถือเป็นการครบกำหนดหรือสนกำหนดเวลาทำงานตามสัญญาจ้างแรงงานที่เป็นลายลักษณ์อักษรนั้น ได้เกิดขึ้นภายหลังจากที่นายอ. ออกจากงานไปแล้ว ไม่ใช่ข้อบังคับที่ได้จัดทำขึ้นก่อนที่นาย อ. จะเกษียณอายุก่อนกำหนดแต่อย่างใด ดังนั้น แม้นายอ. จะเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีก็ตาม เงินหรือผลประโยชน์ใดๆ ที่นายอ. ได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ย่อมไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามข้อ 2(36) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509)ฯ ลงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2509 ประกอบกับข้อ 1(1) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 52)ฯ ลงวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538 ทั้งนี้ ให้ถือปฏิบัติตามหนังสือซ้อมความเข้าใจของกรมสรรพากรตามบันทึกด่วนที่สุดที่ กค 0724/ว10090 เรื่อง ซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับการขอคืนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เพราะเหตุออกจากงานของพนักงาน กรณีออกจากงานก่อนเกษียณอายุ ลงวันที่ 24 ธันวาคม 2553
เลขตู้ : 78/39456


ขอบคุณบทความจาก ::https://www.rd.go.th
 485
Visitor
Get started for free today. ทดลองใช้งาน

Create a website for free Online Stores