• Home

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0702/8342 ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการออกหมายเรียกตรวจสอบภาษีอากรกรณีกรรมการบริษัทถึงแก่ความตาย

เลขที่หนังสือ กค 0702/8342 ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการออกหมายเรียกตรวจสอบภาษีอากรกรณีกรรมการบริษัทถึงแก่ความตาย

  • Home

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0702/8342 ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการออกหมายเรียกตรวจสอบภาษีอากรกรณีกรรมการบริษัทถึงแก่ความตาย

เลขที่หนังสือ กค 0702/8342 ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการออกหมายเรียกตรวจสอบภาษีอากรกรณีกรรมการบริษัทถึงแก่ความตาย

เลขที่หนังสือ : กค 0702/8342
วันที่ : 10 พฤศจิกายน 2557
เรื่อง : ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการออกหมายเรียกตรวจสอบภาษีอากรกรณีกรรมการบริษัทถึงแก่ความตาย
ข้อกฎหมาย : หมายเรียก
ข้อหารือ           1. บริษัทฯ จดทะเบียนนิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2550 ประกอบกิจการให้เช่า และจัดหาเครื่องมืออุปกรณ์ชิ้นส่วนทุกชนิดที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม มีรอบระยะเวลาบัญชีตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึงวันที่ 31 ธันวาคมของทุกปี มีนาย ว. เพียงคนเดียวเป็นกรรมการบริษัท และเป็นผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของบริษัทผูกพันบริษัทฯ นาย ว. ถึงแก่ความตาย เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2553 (วันที่ถูกจำหน่ายชื่อจากทะเบียน) ปัจจุบันบริษัทฯ ยังมิได้แต่งตั้งกรรมการบริษัทเป็นผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อ และประทับตราสำคัญของบริษัทผูกพันบริษัทฯ
          2. บริษัทฯ เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2550 และถูกเพิกถอนการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2551 และถูกขีดชื่อออกจากทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2555 เนื่องจากบริษัทฯ ไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.30)
          3. จากการคัดค้นข้อมูลบนระบบอินทราเน็ต เกี่ยวกับภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย พบว่าบริษัทฯ มีรายได้ปี 2552 จำนวน 7,388,236.90 บาท ปี 2553 จำนวน 1,454,253.20 บาท ปี 2554 จำนวน 40,003.21 บาท และปี 2555 จำนวน 116,000 บาท โดยบริษัทฯ ถูกบุคคลอื่นหักภาษี ณ ที่จ่าย ไว้สำหรับเงินได้ดังกล่าว และไม่พบว่าบริษัทฯ ได้นำรายได้ดังกล่าวไปยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล (ภ.ง.ด.50) และแบบ ภ.พ.30
          4. เจ้าพนักงานประเมิน สำนักงานสรรพากรพื้นที่จึงได้ออกตรวจปฏิบัติการเฉพาะประเด็นภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับเดือนภาษีมกราคม 2551 ถึงเดือนภาษีมิถุนายน 2553 และได้ทำการประเมินภาษี เบี้ยปรับ และเงินเพิ่ม ตามหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.73.1) ลงวันที่ 31 ตุลาคม 2551 และวันที่ 3 สิงหาคม 2553 รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 7,663,791.35 บาท และขออนุมัติออกหมายเรียกเพื่อตรวจสอบภาษีอากร สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2551 ถึงปี 2555 แต่เมื่อพิจารณาจากข้อมูลของบริษัทฯ พบว่า กรรมการบริษัทผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของบริษัทผูกพันบริษัทฯ ถึงแก่ความตาย และปัจจุบันบริษัทฯ ยังมิได้แต่งตั้งกรรมการบริษัทเป็นผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อ และประทับตราสำคัญของบริษัทผูกพันบริษัทฯ จึงชะลอการออกหมายเรียกเพื่อตรวจสอบภาษีอากรไว้ก่อน และจะหารือกรณีดังกล่าวกับกรมสรรพากรต่อไป จึงมีปัญหาว่าจะเรียกเก็บภาษีจากบริษัทฯ อย่างใด
แนววินิจฉัย           กรณีนาย ว. ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อ และประทับตราสำคัญของบริษัทผูกพันบริษัทฯ ถึงแก่ความตาย บริษัทฯ ยังไม่เลิกกัน ตามมาตรา 1236 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และตามข้อบังคับของบริษัทฯ ปรากฏว่า มีนาย ว. เป็นผู้แทนจัดการแทนบริษัทฯแต่เพียงผู้เดียว ทำให้ไม่มีกรรมการที่มีอำนาจจัดการแทนบริษัทฯ ได้ ซึ่งที่ประชุมใหญ่ของบริษัทฯ ต้องดำเนินการแต่งตั้งกรรมการขึ้นใหม่แทนตำแหน่งกรรมการที่ว่างลง จะทำกิจการอย่างอื่นไม่ได้ ตามมาตรา 1151 และมาตรา 1159 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งกรณีตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏตามข้อมูลการหักภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย พบว่า บริษัทฯ มีรายได้ และบริษัทฯ ไม่ได้นำรายได้ดังกล่าวไปยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 กรมสรรพากรจึงต้องดำเนินการออกหมายเรียกมายังบริษัทฯ เพื่อตรวจสอบการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2551 ถึงปี 2555 แต่ที่ประชุมใหญ่ของบริษัทฯ ไม่ดำเนินการแต่งตั้งกรรมการที่มีอำนาจจัดการแทนบริษัทฯ ทำให้กรมสรรพากรไม่สามารถออกหมายเรียกได้ เนื่องจากการออกหมายเรียกมายังนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ตามแบบฟอร์มหมายเรียกตามประมวลรัษฎากร (ภ.ส.5) ต้องระบุชื่อกรรมการผู้จัดการแล้วตามด้วยชื่อของนิติบุคคล เพื่อให้นิติบุคคลได้รับทราบและปฏิบัติตามหมายเรียกได้ ตามข้อ 8 ข้อ 11 และข้อ 12 ของระเบียบกรมสรรพากร ว่าด้วยการตรวจสอบภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร พ.ศ. 2550 ประกอบกับบันทึกที่ กค 0726/ว.6746 เรื่อง แบบฟอร์มหมายเรียกฯ (ภ.ส.5) (ภ.ส.5/1) และตารางการระบุชื่อ : ที่อยู่ของผู้รับหมายเรียกฯลฯ ลงวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2549 ดังนั้น เมื่อที่ประชุมใหญ่ของบริษัทฯ ไม่ดำเนินการแต่งตั้งกรรมการที่มีอำนาจจัดการแทนบริษัทฯ แทนตำแหน่งกรรมการที่ว่างลง และมีเหตุอันควรเชื่อว่าการปล่อยตำแหน่งว่างไว้น่าจะเกิดความเสียหาย กรมสรรพากรในฐานะเจ้าหนี้ของบริษัทฯ ซึ่งได้รับความเสียหายย่อมถือได้ว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอต่อศาลให้แต่งตั้งผู้แทนชั่วคราวได้ ตามมาตรา 73 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
เลขตู้ : 77/39381

ขอบคุณบทความจาก ::https://www.rd.go.th
 807
Visitor
Get started for free today. ทดลองใช้งาน

Create a website for free Online Stores