• Home

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0702/6537 ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 81 (1) (ฎ) แห่งประมวลรัษฎากร

เลขที่หนังสือ กค 0702/6537 ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 81 (1) (ฎ) แห่งประมวลรัษฎากร

  • Home

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0702/6537 ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 81 (1) (ฎ) แห่งประมวลรัษฎากร

เลขที่หนังสือ กค 0702/6537 ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 81 (1) (ฎ) แห่งประมวลรัษฎากร

เลขที่หนังสือ : กค 0702/6537
วันที่ : 10 กันยายน 2557
เรื่อง : ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 81 (1) (ฎ) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อกฎหมาย : มาตรา 81 (1) (ฎ) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อหารือ           นาย ม.ได้ขอหารือปัญหาภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการยกเว้นภาษี มูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 81 (1) (ฎ) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งสำนักงานสรรพากรพื้นที่ แจ้งว่า ในปี 2555 นาย ม.มีเงินได้ในส่วนของที่ปรึกษาเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี เงินได้ถึงเกณฑ์จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตั้งแต่วันที่ 2 พฤศจิกายน 2555 แต่ไม่ปรากฏข้อมูลการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและ ยื่นแบบแสดงรายการ โดยนาย ม.ได้ชี้แจงว่ารายได้ค่าที่ปรึกษาที่ได้รับจากสถาบันส่งเสริมการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (สำนักงาน ก.พ.ร.) และสภาบันที่ปรึกษา เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพในราชการ มีลักษณะงานเป็นการให้บริการทางวิชาการในสาขาสังคมศาสตร์ ซึ่งได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 81 (1) (ฎ) แห่งประมวลรัษฎากร
แนววินิจฉัย           1. กรณีที่นาย ม.รับจ้างเป็นที่ปรึกษาอาวุโสในโครงการวิจัยต่างๆ ให้แก่สถาบันส่งเสริม การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ซึ่งสำนักงาน ก.พ.ร. เป็นคู่สัญญากับส่วนราชการ จังหวัด และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้ว่าจ้าง โดยมีหน้าที่ให้คำแนะนำปรึกษาเป็นรายโครงการแก่หัวหน้าโครงการวิจัยและนักวิจัยในโครงการ และให้ข้อคิดเห็น ข้อสังเกตเกี่ยวกับการกำหนดทฤษฎี กรอบแนวคิดและเครื่องมือ การศึกษาวิจัย รวมทั้งให้คำแนะนำและข้อเสนอแนะในรายงานการศึกษาที่ต้องส่งมอบงานให้แก่ ส่วนราชการผู้ว่าจ้าง เข้าลักษณะเป็นการรับทำงานให้ ค่าจ้างที่ได้รับถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (2) แห่งประมวลรัษฎากร และงานรับจ้างเป็นที่ปรึกษาเข้าลักษณะเป็นการให้บริการโดยผู้ประกอบการ นาย ม.จึงมีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 77/2 (1) แห่งประมวลรัษฎากร อย่างไรก็ดี เนื่องจากการรับจ้างเป็นที่ปรึกษาดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นการให้บริการทางวิชาการในสาขาสังคมศาสตร์แก่สถาบันส่งเสริมการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ซึ่งมีฐานะเป็นหน่วยบริการรูปแบบพิเศษในสังกัดสำนักงาน ก.พ.ร. ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐที่เป็นส่วนราชการในสำนักนายกรัฐมนตรีมีฐานะเทียบเท่ากรม ดังนั้น การให้บริการทางวิชาการดังกล่าวของนาย ม.แก่สถาบันส่งเสริมการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี จึงได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 81 (1) (ฎ) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับประกาศอธิบดีกรมสรรพากร .เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 12) เรื่อง กำหนดสาขาและลักษณะการประกอบกิจการ การให้บริการวิจัยหรือการให้บริการทางวิชาการ ตามมาตรา 81 (1) (ฎ) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ.2534
          2. กรณีที่นาย ม.รับจ้างเป็นที่ปรึกษาสถาบันที่ปรึกษาเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพในราชการ (Thailand Innovative Administration Consultancy Institute) หรือ สปร. (TIA) โดยมีหน้าที่ให้ความเห็น คำแนะนำ ตลอดจนข้อเสนอแนะแก่ สปร.ในการดำเนินโครงการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและการลงทุนรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 2558 ของจังหวัด น. ซึ่ง สปร.เป็นคู่สัญญากับจังหวัด น.เข้าลักษณะเป็นการให้บริการรับทำงานให้เช่นเดียวกัน จึงมีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 77/2 (1) แห่งประมวลรัษฎากร และเนื่องจากการรับจ้างเป็นที่ปรึกษาดังกล่าวให้แก่ สปร.ซึ่งมีฐานะเป็นองค์กรอิสระทางวิชาการที่จัดตั้งขึ้นโดยมูลนิธิพัฒนาประสิทธิภาพในราชการ (มูลนิธิฯ) และอยู่ใต้การกำกับดูแลของมูลนิธิฯ สปร. จึงไม่เข้าลักษณะเป็นหน่วยงานของรัฐหรือองค์การของรัฐบาลตามมาตรา 2 แห่งประมวลรัษฎากร ทั้งนี้ ตามที่กำหนดใน ข้อ 2 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 12) ฯ ลงวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ.2534 การให้บริการของนาย ม.แก่ สปร.จึงไม่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 81 (1)(ฎ) แห่งประมวลรัษฎากร
เลขตู้ : 77/39256


ขอบคุณบทความจาก ::https://www.rd.go.th
 1289
Visitor
Get started for free today. ทดลองใช้งาน

Create a website for free Online Stores