• Home

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0702/1121 ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีจ่ายเงินค่าโทรศัพท์และค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับรถยนต์ให้พนักงาน

เลขที่หนังสือ กค 0702/1121 ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีจ่ายเงินค่าโทรศัพท์และค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับรถยนต์ให้พนักงาน

  • Home

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0702/1121 ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีจ่ายเงินค่าโทรศัพท์และค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับรถยนต์ให้พนักงาน

เลขที่หนังสือ กค 0702/1121 ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีจ่ายเงินค่าโทรศัพท์และค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับรถยนต์ให้พนักงาน

เลขที่หนังสือ : 0702/1121
วันที่ : 6 มีนาคม 2557
เรื่อง : ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีจ่ายเงินค่าโทรศัพท์และค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับรถยนต์ให้พนักงาน
ข้อกฎหมาย : มาตรา 42(1) มาตรา 40 มาตรา 50 และมาตรา 52 แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อหารือ           บริษัทฯ มีระเบียบการจ่ายเงินช่วยเหลือค่าโทรศัพท์ และค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับรถยนต์ให้กับพนักงานบางหน่วยงานของบริษัทฯ ที่มีความจำเป็นต้องออกไปปฏิบัติงานตามหน้าที่และได้นำโทรศัพท์และรถยนต์ส่วนตัวมาใช้ในการทำงาน โดยบริษัทฯ ได้มีการจ่ายเงินตามหลักเกณฑ์ ดังนี้
          1.ค่าโทรศัพท์ให้เบิกได้ตามจริงแต่ไม่เกิน 1,000 บาท ให้พนักงานนำใบเสร็จรับเงินค่าโทรศัพท์ฉบับจริงมาแสดงทุกครั้งที่ทำการขอเบิกจ่ายเงิน
          2.ค่าเบี้ยประกันภัยรถยนต์ และค่าพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 (พ.ร.บ.) ให้พนักงานเบิกได้ตามจริง โดยนำใบเสร็จรับเงินฉบับจริงมาแสดงทุกครั้งที่ทำการขอเบิกจ่ายเงิน
          3.ค่าน้ำมันรถยนต์มีรายงานการเดินทางและใบเสร็จรับเงินฉบับจริงมาแสดง
          4.ค่าบำรุงรักษาและค่าเสื่อมราคารถยนต์เหมาจ่ายเป็นรายเดือน
          บริษัทฯ ขอทราบว่า เมื่อบริษัทฯ จ่ายเงินช่วยเหลือดังกล่าว ให้กับพนักงาน บริษัทฯ มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย หรือไม่ อย่างไร
แนววินิจฉัย           1.กรณีตาม 1. เมื่อบริษัทฯ จ่ายค่าโทรศัพท์ให้แก่พนักงาน เนื่องจากพนักงานได้นำโทรศัพท์ส่วนตัวมาใช้ในกิจการของบริษัทฯ ตามระเบียบการเบิกจ่ายเงินของบริษัทฯ นั้นหากบริษัทฯ มีหลักฐานพิสูจน์ได้โดยชัดแจ้งว่า ค่าโทรศัพท์นั้นเกี่ยวข้องโดยตรงกับกิจการแล้วกรณีดังกล่าว ไม่ถือเป็นประโยชน์เพิ่มของพนักงาน ฉะนั้น เมื่อบริษัทฯ จ่ายค่าโทรศัพท์คืนให้พนักงานบริษัทฯ ไม่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย แต่อย่างใด
          2.กรณีตาม 2. และ 3. เมื่อบริษัทฯ จ่ายเงินค่าน้ำมันรถยนต์ให้กับพนักงานพนักงานจะได้รับยกเว้นไม่ต้องนำค่าน้ำมันรถยนต์ดังกล่าวไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 42(1) แห่งประมวลรัษฎากร พนักงานต้องมีหลักฐานการใช้รถยนต์และพิสูจน์จนเป็นที่เชื่อถือแก่การตรวจสอบไต่สวนของเจ้าพนักงานประเมินว่าได้จ่ายไปโดยสุจริตตามความจำเป็น เฉพาะในการที่ต้องปฏิบัติการตามหน้าที่ของตน และได้จ่ายไปทั้งหมดเพื่อการปฏิบัติงานตามหน้าที่นั้นด้วยประกอบกับบริษัทฯ ต้องมีระเบียบอนุญาตให้มีการเบิกจ่ายค่าน้ำมันรถยนต์โดยมีหนังสืออนุญาต พร้อมทั้งการบันทึกอนุญาตให้เดินทางไปติดต่องานจากที่ไหนถึงไหน ระยะทางเท่าใด ชื่อเจ้าของรถยนต์ หมายเลขทะเบียนรถยนต์ใบเสร็จรับเงินค่าน้ำมันรถยนต์ที่มีการระบุชื่อเจ้าของรถยนต์ หมายเลขทะเบียนรถยนต์ให้ชัดเจน ส่วนกรณีเงินค่าเบี้ยประกันภัยรถยนต์ ค่า พ.ร.บ. และค่าน้ำมันรถยนต์ที่บริษัทฯ ได้จ่ายให้พนักงานส่วนที่นอกเหนือจากกรณีดังกล่าว เข้าลักษณะเป็นประโยชน์อย่างอื่นที่ได้เนื่องจากการจ้างแรงงานตามมาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากร พนักงานต้องนำเงินจำนวนดังกล่าวไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาด้วย และบริษัทฯ มีหน้าที่ต้องนำไปรวมคำนวณหักภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ณ ที่จ่าย และนำส่งตามมาตรา 50 และมาตรา 52 แห่งประมวลรัษฎากร
          3.กรณีตาม 4. ค่าบำรุงรักษาและค่าเสื่อมราคารถยนต์เหมาจ่ายเป็นรายเดือนเข้าลักษณะเป็นค่าพาหนะที่บริษัทฯ จ่ายให้แก่พนักงานโดยคิดคำนวณมาจากค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติงาน และค่าใช้จ่ายที่กำหนดแน่นอน เป็นค่าพาหนะที่นายจ้างเหมาจ่ายให้แก่ลูกจ้าง ย่อมไม่อยู่ในความหมายของมาตรา 42(1) แห่งประมวลรัษฎากร และเป็นเงินได้ที่ต้องนำไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ของพนักงาน บริษัทฯ จึงมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ณ ที่จ่ายไว้และนำส่งตามมาตรา 50 และมาตรา 52 แห่งประมวลรัษฎากร
เลขตู้ : 77/38891


ขอบคุณบทความจาก ::https://www.rd.go.th
 477
Visitor
Get started for free today. ทดลองใช้งาน

Create a website for free Online Stores