• Home

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0702/9754 ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีธุรกิจเฉพาะ กรณีการโอนกิจการบางส่วนให้แก่กัน

เลขที่หนังสือ กค 0702/9754 ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีธุรกิจเฉพาะ กรณีการโอนกิจการบางส่วนให้แก่กัน

  • Home

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0702/9754 ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีธุรกิจเฉพาะ กรณีการโอนกิจการบางส่วนให้แก่กัน

เลขที่หนังสือ กค 0702/9754 ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีธุรกิจเฉพาะ กรณีการโอนกิจการบางส่วนให้แก่กัน

เลขที่หนังสือ : กค 0702/9754
วันที่ : 14 พฤศจิกายน 255
เรื่อง : ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีธุรกิจเฉพาะ กรณีการโอนกิจการบางส่วนให้แก่กัน
ข้อกฎหมาย : พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 516) พ.ศ. 2554 และประกาศอธิบดีกรมสรรพากร ลงวันที่ 27 กันยายน พ.ศ.2554
ข้อหารือ           บริษัทฯ ได้หารือเกี่ยวกับภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีธุรกิจเฉพาะ กรณีการโอนกิจการบางส่วนให้แก่กัน กรณีบริษัทฯ จะโอนขายทรัพย์สิน ซึ่งได้แก่ อสังหาริมทรัพย์ สังหาริมทรัพย์ และทรัพย์สิน หนี้สินอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติให้แก่บริษัท ท. เพื่อดำเนินธุรกิจท่อส่งก๊าซธรรมชาติโดยมีบริษัทฯ เป็นลูกค้านั้น จะถือว่าเป็นการโอนกิจการบางส่วนที่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 516) พ.ศ.2554 หรือไม่ หากบริษัทฯ สามารถทำตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 516) พ.ศ.2554 และประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการโอนกิจการบางส่วนให้แก่กันของบริษัทมหาชนจำกัด หรือบริษัทจำกัด เพื่อยกเว้นรัษฎากร ลงวันที่ 27 กันยายน 2554 ได้ครบถ้วน คือ
               (1) บริษัทฯ จะโอนขายทรัพย์สินให้แก่บริษัท ท. ซึ่งเป็นบริษัทที่จัดตั้งขึ้นใหม่ โดยมีบริษัทฯ เป็นผู้ถือหุ้นมากกว่าร้อยละ 50 ของจำนวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมด และบริษัทฯ จะยังคงถือหุ้นในบริษัท ท. ต่อไปอีกไม่ต่ำกว่า 6 เดือน นับแต่วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีที่มีการโอนกิจการบางส่วนให้แก่กัน
               (2) บริษัท ท. จะมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ ณ วันที่มีการรับโอนไม่น้อยกว่าราคาทรัพย์สินสุทธิที่โอนไปจากบริษัทฯ
               (3) บริษัทฯ และบริษัท ท. จะร่วมกันทำหนังสือแจ้งการโอนกิจการและส่งแผนปรับปรุงโครงสร้างองค์กรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพพร้อมกับแสดงรายการทรัพย์สินที่โอน ยื่นต่ออธิบดีกรมสรรพากรก่อนที่จะมีการโอนระหว่างกัน
               (4) บริษัทฯ จะโอนทรัพย์สินให้แก่บริษัท ท. ให้แล้วเสร็จภายในวันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีที่ได้ตกลงโอนกิจการบางส่วนระหว่างกัน
               (5) การโอนที่จะเกิดขึ้น เป็นการโอนทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ ซึ่งมิใช่เป็นการขายอันเป็นปกติธุระ และบริษัท ท. จะนำทรัพย์สินดังกล่าวไปดำเนินกิจการท่อส่งก๊าซธรรมชาติเช่นกัน
               (6) บริษัท ท. จะดำเนินการจดทะเบียนเพื่อเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และจะนำทรัพย์สินที่รับโอนไปใช้ในกิจการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มโดยตรง
               (7) บริษัทฯ จะไม่โอนทรัพย์สินให้แก่บริษัท ท. โดยไม่มีค่าตอบแทน หรือมีค่าตอบแทนที่ต่ำกว่าราคาตลาดโดยไม่มีเหตุอันสมควร ณ วันที่โอน
               (8) บริษัทฯ และบริษัท ท. จะไม่เป็นลูกหนี้ภาษีอากรค้างของกรมสรรพากรหรือได้มีการทำค้ำประกันหนี้ภาษีอากรไว้แล้ว ณ วันที่โอน
               (9) ผู้สอบบัญชีของบริษัทฯ และบริษัท ท. จะเป็นผู้มีคุณสมบัติตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร และเป็นผู้รับรองผลการประกอบกิจการและการเป็นบริษัทในเครือเดียวกันตามข้อ (1) ข้างต้น
แนววินิจฉัย           หากบริษัทฯ สามารถดำเนินการได้ตามที่แจ้งมา ย่อมถือได้ว่าเป็นการโอนกิจการบางส่วนให้แก่กันของบริษัทมหาชนจำกัด หรือบริษัทจำกัดที่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 516) พ.ศ. 2554 และประกาศอธิบดีกรมสรรพากรฯ ลงวันที่ 27 กันยายน พ.ศ.2554
เลขตู้ : 76/38808


ขอบคุณบทความจาก ::https://www.rd.go.th
 363
Visitor
Get started for free today. ทดลองใช้งาน

Create a website for free Online Stores