• Home

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0702/1830 ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีการจ่ายค่าจ้างการออกแบบการก่อสร้างให้แก่นิติบุคคลต่างประเทศ

เลขที่หนังสือ กค 0702/1830 ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีการจ่ายค่าจ้างการออกแบบการก่อสร้างให้แก่นิติบุคคลต่างประเทศ

  • Home

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0702/1830 ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีการจ่ายค่าจ้างการออกแบบการก่อสร้างให้แก่นิติบุคคลต่างประเทศ

เลขที่หนังสือ กค 0702/1830 ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีการจ่ายค่าจ้างการออกแบบการก่อสร้างให้แก่นิติบุคคลต่างประเทศ

เลขที่หนังสือ : กค 0702/1830
วันที่ : 27 กุมภาพันธ์ 2556
เรื่อง : ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีการจ่ายค่าจ้างการออกแบบการก่อสร้างให้แก่นิติบุคคลต่างประเทศ
ข้อกฎหมาย : มาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2505
ข้อหารือ           สภา ก. (สภาฯ) ได้หารือเกี่ยวกับภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีการจ่ายค่าจ้างการออกแบบการก่อสร้างให้แก่นิติบุคคลต่างประเทศ โดยมีข้อเท็จจริงสรุปได้ว่า ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ร่วมกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ องค์การเภสัชกรรมและสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ได้จัดตั้งศูนย์ผลิตผลิตภัณฑ์จากพลาสมา สำหรับการรักษาผู้ป่วยทั่วประเทศ เพื่อลดการนำเข้าผลิตภัณฑ์จากต่างประเทศและเป็นการพัฒนาศักยภาพเทคโนโลยีระดับสูงที่ได้มาตรฐานสากลในการผลิตยาของประเทศไทย
          ในการจัดตั้งศูนย์ผลิตผลิตภัณฑ์จากพลาสมาดังกล่าว สภาฯ ได้ทำสัญญาจ้างบริษัท (บริษัท G) ซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายของประเทศสาธารณรัฐเกาหลีและไม่มีสถานประกอบการถาวรในประเทศไทยเป็นผู้ดำเนินการออกแบบ และมีการกำหนดชำระค่าจ้างออกแบบตามงวดงานที่แล้วเสร็จ โดยบริษัท Greenฯ จะทำการออกแบบในประเทศสาธารณรัฐเกาหลีทั้งหมด
          สภาฯ ขอทราบว่า กรณีที่สภาฯ จ่ายค่าจ้างการออกแบบการก่อสร้าง ให้กับบริษัท G สภาฯ ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528 หรือไม่
แนววินิจฉัย           หากการออกแบบการก่อสร้างศูนย์ผลิตผลิตภัณฑ์จากพลาสมาตามข้อเท็จจริงดังกล่าว เป็นการออกแบบก่อสร้างอาคาร โดยทั่วไป ซึ่งมิได้มีการถ่ายทอดข้อมูลที่มีสิทธิหวงกันแต่อย่างใด การรับจ้างออกแบบนั้น เข้าลักษณะเป็นการรับจ้างทำของซึ่ง เป็นกำไรจากธุรกิจ ดังนั้น เมื่อบริษัท G ให้บริการในต่างประเทศ โดยไม่ผ่านสถานประกอบการถาวรในประเทศไทย บริษัท G ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลในประเทศไทยจากค่าจ้างที่ได้รับตามสัญญาดังกล่าว ตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง แห่งความตกลงระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสาธารณรัฐเกาหลี เพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนและการป้องกันการเลี่ยงรัษฎากร ในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้ และมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2505 สภาฯ จึงไม่มีหน้าที่หักภาษีจากเงินได้พึงประเมินที่จ่ายตามมาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากร แต่อย่างใด
เลขตู้ : 76/38474


ขอบคุณบทความจาก ::https://www.rd.go.th
 631
Visitor
Get started for free today. ทดลองใช้งาน

Create a website for free Online Stores