• Home

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0702/10603 ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีรายได้จากการประกอบกิจการให้บริการจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ

เลขที่หนังสือ กค 0702/10603 ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีรายได้จากการประกอบกิจการให้บริการจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ

  • Home

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0702/10603 ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีรายได้จากการประกอบกิจการให้บริการจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ

เลขที่หนังสือ กค 0702/10603 ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีรายได้จากการประกอบกิจการให้บริการจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ

เลขที่หนังสือ : กค 0702/10603
วันที่ : 27 พฤศจิกายน 2555
เรื่อง : ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีรายได้จากการประกอบกิจการให้บริการจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ
ข้อกฎหมาย : มาตรา 65 มาตรา 65 ทวิ มาตรา 65 ตรี คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.49 และคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.54
ข้อหารือ           1. บริษัทฯ เป็นนิติบุคคลจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ประกอบกิจการให้บริการจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ และบริหารจัดการคลังสินค้า และเป็นบริษัทในกลุ่ม U ซึ่งประกอบธุรกิจการจัดการขนส่งสินค้าทางอากาศและทางทะเลระหว่างประเทศที่มีเครือข่ายทั่วโลก บริษัทฯ ได้ทำสัญญากับบริษัท ย. ซึ่งเป็นบริษัทจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายฮ่องกง
          2. ภายใต้สัญญาฯ บริษัทฯ และบริษัท ย. มีหน้าที่สรุปได้ดังนี้
               2.1 กรณีบริษัทฯ จะเป็นผู้ให้บริการด้าน supply chain และรับผิดชอบการให้บริการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการขนส่งในประเทศไทยและการให้บริการ logistics (การเคลื่อนย้ายสินค้าและวัตถุดิบ) ในประเทศไทย โดยกรณีการส่งออก บริษัทฯ จะรับผิดชอบดำเนินการจัดการที่เหมาะสมและจำเป็นจนกระทั่งสินค้าส่งมอบให้แก่ผู้ขนส่ง (carrier) เพื่อส่งสินค้าออกนอกประเทศไทยตามความต้องการของผู้ส่งสินค้าในประเทศไทย และในส่วนของการนำเข้า บริษัทฯ จะรับผิดชอบดำเนินการจัดการที่เหมาะสมและจำเป็นเมื่อสินค้าเข้ามาถึงประเทศไทยเพื่อส่งมอบให้แก่ผู้รับสินค้าในประเทศไทย
               2.2 กรณีบริษัท ย. ทำหน้าที่
                    (1) รับผิดชอบด้านการจัดการขนส่งระหว่างประเทศ และบริการอื่นที่เกี่ยวข้องและจำเป็นนอกประเทศ โดยมีลักษณะเป็น Network Entity .รับบริการจัดการขนส่งสินค้าให้ผู้รับสินค้า (ปลายทาง) ในภูมิภาคเอเชีย เพื่อให้ลูกค้าได้รับสินค้าตรงเวลา ซึ่งหากลูกค้าของบริษัทฯ ต้องการส่งสินค้าไปยังผู้รับสินค้าซึ่งอยู่ในภูมิภาคเอเชีย บริษัทฯ จะติดต่อกับบริษัท ย. ซึ่งเป็น Network Entity ในภูมิภาคเอเชียเพื่อจัดหาผู้ขนส่งสินค้า โดยบริษัท ย. จะติดต่อประสานงานกับบริษัทยูพีเอสในประเทศของลูกค้าผู้รับสินค้าในประเทศปลายทาง เพื่อส่งสินค้าให้ลูกค้าได้อย่างราบรื่นและตรงเวลา และหากกรณีการขนส่งสินค้าข้ามภูมิภาค บริษัท ย. ซึ่งเป็น Network Entity ในภูมิภาคเอเชีย จะประสานงานกับ Network Entity ในภูมิภาคอื่น ๆ เช่น ยุโรป หรือ อเมริกา ให้จัดการขนส่งสินค้าไปยังลูกค้าในประเทศปลายทาง
                    (2) ต่อรองและจัดหาผู้ให้บริการขนส่งทางเรือและทางอากาศระหว่างประเทศ
          3.บริษัทฯ มีรายได้จากการประกอบกิจการดังนี้
               3.1 ตาม Schedule A ข้อ 4. ของสัญญาฯ เนื่องจากบริษัทฯ รับผิดชอบเฉพาะการให้บริการในประเทศไทยเท่านั้น บริษัทฯ จึงได้รับผลตอบแทนในอัตราร้อยละ 3 ของต้นทุนที่เกิดขึ้นจริงจากการให้บริการในประเทศไทย (ไม่รวมค่าระวางสำหรับการขนส่งระหว่างประเทศ เนื่องจากค่าระวางไม่ใช่ต้นทุนที่เกิดจากการให้บริการในประเทศไทย) แต่หากบริษัทฯ ให้บริการและได้กำไรสูงกว่าร้อยละ 3 ของต้นทุนที่เกิดขึ้นจริง บริษัทฯ จะต้องให้ส่วนต่างให้แก่บริษัท ย. และหากบริษัทฯ ให้บริการและได้กำไรต่ำกว่าร้อยละ 3 ของต้นทุนที่เกิดขึ้นจริง บริษัทฯ จะได้รับเงินชดเชยส่วนที่ขาดจากบริษัท ย.
               3.2 รายได้จากการรับขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ แบ่งได้ 2 ลักษณะ ดังนี้
                    3.2.1 รายได้จากการให้บริการเป็นตัวแทนรับขนส่งสินค้าโดยอากาศยานซึ่งได้รับจากบริษัทสายการบิน บริษัทฯ นำมูลค่าของค่าบริการโดยคำนวณจากค่าระวาง ค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บจากผู้รับบริการ หักด้วยค่าระวาง ค่าธรรมเนียมที่ถูกบริษัทสายการบินเรียกเก็บ ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้ออกใบกำกับภาษีให้กับบริษัทสายการบิน และนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มอัตราร้อยละ 7 ซึ่งบริษัทสายการบินได้หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 3 แต่บริษัทฯ มิได้นำรายได้ดังกล่าวมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล โดยให้เหตุผลว่า เป็นรายได้การจัดการขนส่งและบริการที่เกิดนอกประเทศไทย ซึ่งบริษัท ย. เป็นผู้รับผิดชอบ บริษัทฯ จึงถือว่ารายได้ในส่วนนี้เป็นรายได้ของบริษัท ยูพีเอสฯ ฮ่องกง ด้วย
                    3.2.2 รายได้จากการให้บริการรับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศขาออก โดยเรือเดินทะเล แยกได้ 2 กรณี ดังนี้
                    (1) กรณีผู้ส่งสินค้า (ลูกค้า) ในประเทศไทยเป็นผู้รับผิดชอบค่าขนส่ง บริษัทฯ จะเรียกเก็บเงินจากผู้ส่งสินค้า (ลูกค้า) สำหรับค่าระวาง ค่าธรรมเนียมและค่าบริการอื่นๆ (ถ้ามี) เป็นค่าบริการตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง โดยออกใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษีนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มจากยอดรวม บริษัทฯ นำรายได้จากค่าบริการที่เกิดในประเทศไทยมาถือเป็นรายได้ แต่มิได้นำรายได้จาก ค่าระวางเรือ หักด้วยต้นทุนค่าระวางเรือ มาคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล โดยให้เหตุผลว่า การจัดการขนส่งและบริการที่เกิดนอกประเทศไทย บริษัท ย. เป็นผู้รับผิดชอบ บริษัทฯ จึงถือว่ารายได้ในส่วนนี้เป็นรายได้ของบริษัท ย. ด้วย
                    (2) กรณีผู้รับสินค้าในต่างประเทศเป็นผู้รับผิดชอบค่าขนส่ง เช่น สินค้าส่งออกจากประเทศไทยไปยังประเทศสิงคโปร์ ประเทศปลายทาง กรณีดังกล่าว บริษัท U ประเทศสิงคโปร์ ซึ่งเป็นสมาชิกของ Network Entity จะเป็นผู้เรียกเก็บเงินค่าระวาง ค่าธรรมเนียมและค่าบริการอื่นๆ ตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทางจากผู้รับสินค้าในประเทศสิงคโปร์ ซึ่งบริษัทฯ จะบันทึกรายได้ค่าบริการเฉพาะที่เกิดขึ้นในประเทศไทย (ต้นทาง) และนำมาคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล และนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม
          4. จากการดำเนินการดังกล่าว จึงขอหารือ ดังนี้
               4.1 บริษัทฯ ต้องนำรายได้และรายจ่ายที่เกิดขึ้นตาม Schedule A ข้อ 4. ของสัญญาฯ มาคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร หรือไม่ อย่างไร
               4.2 กรณีรายได้จากการรับขนส่งระหว่างประเทศโดยอากาศยานจากสายการบิน บริษัทฯ ต้องนำรายได้ใดมาคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
               4.3 กรณีรายได้จากการให้บริการรับจัดการขนส่งระหว่างประเทศขาออกโดยเรือเดินทะเล โดยบริษัทฯ ได้เรียกเก็บค่าบริการจากลูกค้าในประเทศไทย (ประเทศต้นทาง) หรือให้สมาชิกของ Network Entity เรียกเก็บค่าบริการจากลูกค้าที่ประเทศปลายทาง บริษัทฯ ต้องนำรายได้ใดมาคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
               4.4 กรณีสมาชิกของ Network Entity ที่ประเทศปลายทางเป็นผู้เรียกเก็บค่าบริการรับจัดการขนส่งระหว่างประเทศขาออกโดยเรือเดินทะเล บริษัทฯ ต้องนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มจากค่าบริการดังกล่าวหรือไม่ อย่างไร
แนววินิจฉัย           1. เนื่องจากบริษัทฯ เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย บริษัทฯ จึงต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกำไรสุทธิ ซึ่งคำนวณได้จากรายได้จากกิจการ หรือเนื่องจากกิจการที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชี หักด้วยรายจ่ายตามเงื่อนไขที่ประมวลรัษฎากรกำหนด ทั้งนี้ ตามมาตรา 65 มาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร
          2. บริษัทฯ ต้องนำรายได้ที่ได้รับหรือพึงได้รับจากการให้บริการ โดยคำนวณจากค่าระวาง ค่าธรรมเนียม และประโยชน์อื่นใดที่ได้มีการเรียกเก็บจากผู้รับบริการไว้แทนสายการบิน หักด้วยค่าระวาง ค่าธรรมเนียมและประโยชน์อื่นใดที่ได้ถูกสายการบินเรียกเก็บ มาถือเป็นรายได้เพื่อคำนวณกำไรสุทธิในการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ทั้งนี้ ตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับข้อ 3 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.49/2537ฯ ลงวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2537
          3. บริษัทฯ ให้บริการรับจัดการขนส่งระหว่างประเทศโดยเรือเดินทะเล และเป็นบริษัทฯ ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย บริษัทฯ ต้องนำรายได้ที่ได้รับหรือพึงได้รับจากการให้บริการ โดยคำนวณจากค่าระวาง ค่าธรรมเนียมและประโยชน์อื่นใดที่ได้เรียกเก็บจากผู้รับบริการ หักด้วยค่าระวาง ค่าธรรมเนียมและประโยชน์อื่นใดที่ถูกบริษัทสายการเดินเรือเรียกเก็บมารวมคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ทั้งนี้ ตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับข้อ 3 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.54/2537ฯ ลงวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2537           สำหรับกรณีภาษีมูลค่าเพิ่ม บริษัทฯ ต้องนำค่าบริการ โดยคำนวณจากค่าระวาง ค่าธรรมเนียมและประโยชน์อื่นใดที่ได้เรียกเก็บจากผู้รับบริการ หักด้วยค่าระวาง ค่าธรรมเนียมและประโยชน์อื่นใดที่ถูกบริษัทสายการเดินเรือเรียกเก็บ มาคำนวณเป็นมูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 79 แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับข้อ 4 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.54/2537ฯ ลงวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2537
เลขตู้ : 75/38380


ขอบคุณบทความจาก ::https://www.rd.go.th
 1176
Visitor
Get started for free today. ทดลองใช้งาน

Create a website for free Online Stores