• Home

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0702/6195 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการเปลี่ยนแปลงผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญ

เลขที่หนังสือ กค 0702/6195 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการเปลี่ยนแปลงผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญ

  • Home

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0702/6195 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการเปลี่ยนแปลงผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญ

เลขที่หนังสือ กค 0702/6195 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการเปลี่ยนแปลงผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญ

เลขที่หนังสือ : กค 0702/6195
วันที่ : 23 กรกฎาคม 2555
เรื่อง : ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการเปลี่ยนแปลงผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญ
ข้อกฎหมาย :ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ข้อหารือ         ห้างฯ ขอหารือเรื่องการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการเปลี่ยนแปลงผู้เป็นหุ้นส่วนใน ห้างหุ้นส่วนสามัญโดยมีข้อเท็จจริง สรุปได้ดังนี้
        1. เดิมห้างฯ จัดตั้งขึ้นโดยมีหุ้นส่วน 2 คน คือ นาย อ. และนาย ว. ประกอบกิจการขายปลีกทองรูปพรรณ ซึ่งเป็นพาณิชยกิจที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ ตามพระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ.2499 และอยู่ ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม ห้างฯ ได้มีการตกลงระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน ให้มีการเปลี่ยนแปลงผู้เป็นหุ้นส่วน โดยให้ นาย ว. ออกจากการ เป็นหุ้นส่วน และให้นางสาว ภ. เข้ามาเป็นหุ้นส่วนแทน
        2. ห้างฯ ขอจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงผู้เป็นหุ้นส่วน และนายทะเบียน พาณิชย์ได้จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงให้ แต่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม เจ้าหน้าที่สรรพากร งานบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากร สท.กรุงเทพมหา นคร ไม่ยอมให้มีการเปลี่ยนแปลงเนื่องจากระบบไม่ให้มีการบันทึกเปลี่ยนแปลงผู้เป็นหุ้นส่วน หากมีความประสงค์จะเปลี่ยนแปลงกรณีดัง กล่าวจะต้องแจ้งเลิกห้างฯ เดิม และขอจัดตั้งห้างฯ ใหม่ ตามระเบียบที่ประชุมของกรมสรรพากร เมื่อวันที่ 13มกราคม 2552 ซึ่งห้างฯ ชี้แจง ว่า ในการเลิกห้างหุ้นส่วน จะเกิดผลเสีย กล่าวคือ ห้างฯ ประกอบกิจการขายทองรูปพรรณการเลิกกิจการถือเป็นการขายสินค้าในสต็อก ต้องนำไปเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีมูลค่าเพิ่มซึ่งเป็นเงินจำนวนมาก
        3. ห้างฯ ขอทราบแนวทางปฏิบัติ กรณีที่ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนตกลง ยินยอมให้มีการเปลี่ยนแปลงผู้เป็นหุ้นส่วน และนายทะเบียนพาณิชย์ได้แก้ไขตามสัญญาจัดตั้งห้างฯ
แนววินิจฉัย         1. กรณีตามข้อเท็จจริงนาย อ. และนาย ว. ได้ตกลงกันเปลี่ยนแปลงผู้เป็นหุ้น ส่วนใหม่โดยให้นายวินัยฯ ออกจากการ เป็นหุ้นส่วนของห้างฯ และให้นางสาว ภ. เข้ามาเป็นหุ้นส่วนใหม่ อีกทั้งได้มีการจดทะเบียนเปลี่ยน แปลงดังกล่าวต่อ กระทรวงพาณิชย์แล้ว ในการพิจารณาว่าการเปลี่ยนแปลงหุ้นส่วนใหม่จะถือเป็นการเลิกกิจการหรือไม่ ต้องพิจารณาตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และจะมีได้ในกรณีดังต่อไปนี้เท่านั้น
             1.1 การเลิกกันโดยผลของสัญญา
                  1.1 .1 สัญญากำหนดกรณีอันใดเป็นเหตุที่จะเลิกกัน เมื่อมีกรณีนั้น ตามมาตรา 1055 (1) แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
                  1.1 .2 สัญญาทำไว้เฉพาะกำหนดกาลใด เมื่อสิ้นกำหนดกาลนั้น ตามมาตรา 1055 (2) แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
                  1.1 .3 สัญญาทำไว้เฉพาะเพื่อทำกิจการอย่างหนึ่งอย่างใดแต่อย่างเดียวเมื่อเสร็จการนั้น ตามมาตรา 1055 (3) แห่งประมวลกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์
             1.2 การเลิกกันโดยบทบัญญัติของ กฎหมาย
                  1.2 .1 ผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งบอกเลิกในกรณีของห้างหุ้นส่วนไม่มีกำหนดเวลาตามมาตรา 1055 (4) และมาตรา 1056 แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
                  1.2 .2 ผู้เป็นหุ้นส่วนตาย ล้มละลาย หรือตกเป็นผู้ไร้ความสามารถ ตามมาตรา 1055 (5) แห่งประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์
             1.3 การเลิกกันโดยคำสั่งศาล
                  1.3 .1 กรณีมีการล่วงละเมิดบทบังคับใดๆ อันเป็นสาระสำคัญ ตามมาตรา1057 (1) แห่งประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์
                  1.3 .2 กรณีห้างหุ้นส่วนมีแต่ขาดทุนอย่างเดียวและไม่มีหวังจะกลับฟื้นตัวได้อีกตามมาตรา 1057 (2) แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์
                  1.3 .3 กรณีมีเหตุอื่นที่ทำให้ห้างหุ้นส่วนเหลือวิสัยที่จะดำรงอยู่ต่อไปตามมาตรา 1057 (3) แห่งประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์
                  1.3 .4 กรณีผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดประกอบกิจการแข่งขันกับกิจการของ ห้างหุ้นส่วนเป็นเหตุให้ผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหลายนอกนั้นใช้สิทธิ เรียกให้เลิกห้างหุ้นส่วน ตามมาตรา 1067 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
        นอกจากนี้ผู้เป็นหุ้นส่วนจะตกลงกันเลิกห้างหุ้นส่วนในภายหลังเมื่อใด ก็ทำได้หรือแม้แต่จะตกลงกันแต่แรกว่าจะเลิกห้างหุ้นส่วนกันในกรณีใดและเมื่อใด แต่ต่อมาภายหลังจะตกลงกันเป็นอย่างอื่นก็สามารถทำ ได้ เนื่องจากการจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญเป็นเรื่องของนิติกรรมและสัญญา และกรณีที่ห้างหุ้นส่วนสามัญมีความประสงค์จะเพิ่มหรือลด หุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งโดยไม่มีเจตนาเลิกห้างหุ้นส่วน และไม่อยู่ในบังคับตามกฎหมายให้ห้างหุ้นส่วนต้องเลิกกันถือว่าห้างหุ้นส่วนไม่ได้ เลิกกัน
        กรณี นาย อ. ตกลงร่วมกับนาย ว. โดยตกลงให้นางสาว ภ. มาเป็นหุ้น ส่วนคนใหม่ของห้างฯ แทนนายวินัยฯ และขอให้ฝ่ายทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและงานเลขบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากร สท.กรุงเทพมหานคร แก้ไขการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวให้โดยมิได้ประสงค์จะเลิกห้างฯ ดังนั้น เมื่อห้างฯ ได้มีการเปลี่ยนแปลงหุ้นส่วนใหม่ โดยความเห็นชอบ ของหุ้นส่วนคนอื่นๆ และได้มีการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงผู้เป็นหุ้นส่วนต่อกระทรวงพาณิชย์แล้ว ถือว่าห้างหุ้นส่วนยังคงอยู่ต่อไปมิได้เลิก กัน ตามมาตรา 1055 หรือมาตรา 1056 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เมื่อห้างหุ้นส่วนสามัญไม่ได้เลิกกัน และห้างฯประสงค์จะ ประกอบกิจการต่อไป ห้างฯ มีสิทธิแจ้งขอเปลี่ยนแปลงผู้เป็นหุ้นส่วน และใช้เลขประจำตัวผู้เสียภาษีเดิมได้ต่อไป ทั้งนี้ จะได้แจ้งหน่วย งานที่เกี่ยวข้องดำเนินการแก้ไขระเบียบ แนวทางปฏิบัติ และปรับปรุงโปรแกรมการบันทึกข้อมูลต่อไป
เลขตู้ : 75/38254


ขอบคุณบทความจาก ::https://www.rd.go.th
 397
Visitor
Get started for free today. ทดลองใช้งาน

Create a website for free Online Stores