• Home

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0702/2944 ภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการเสียภาษีของโรงแรมสาธิต

เลขที่หนังสือ กค 0702/2944 ภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการเสียภาษีของโรงแรมสาธิต

  • Home

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0702/2944 ภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการเสียภาษีของโรงแรมสาธิต

เลขที่หนังสือ กค 0702/2944 ภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการเสียภาษีของโรงแรมสาธิต

เลขที่หนังสือ : กค 0702/2944
วันที่ : 11 เมษายน 2555
เรื่อง : ภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการเสียภาษีของโรงแรมสาธิต
ข้อกฎหมาย : มาตรา 81(1)(ช)(ท) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อหารือ           1. มหาวิทยาลัยฯ ได้จัดตั้งโครงการอาคารอเนกประสงค์ปฏิบัติการวิชาชีพธุรกิจ (โรงแรมฯ) ดำเนินงาน โรงแรมสาธิตเพื่อให้นักศึกษาของมหาวิทยาลัยฯ ใช้เป็นสถานที่ฝึกหัดปฏิบัติงานด้านโรงแรม ซึ่งเป็นไปตามวัตถุประสงค์ ตามที่กรมการฝึกหัดครู กระทรวงศึกษาธิการ แจ้งให้อธิการวิทยาลัยครูทุกแห่งทราบ โดยในขณะที่เริ่มจัดตั้งโรงแรมฯ ดังกล่าว มหาวิทยาลัยฯ ยังไม่ได้มีฐานะเป็นนิติบุคคลที่เป็นส่วนราชการ ประกอบกับโรงแรมฯ ได้มีการให้บริการแก่ บุคคลภายนอกด้วย มหาวิทยาลัยฯ จึงได้ไปดำเนินการขอเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรให้แก่โรงแรมฯ เพื่อเสียภาษีเงินได้ ในนาม "คณะบุคคลอาคารอเนกประสงค์ปฏิบัติการวิชาชีพธุรกิจ" (คณะบุคคลฯ) และจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการใน ระบบภาษีมูลค่าเพิ่มในนามของคณะบุคคลฯ เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2539
          2. มหาวิทยาลัยฯ ได้รับการรับรองเมื่อปี 2547 ให้มีฐานะเป็นนิติบุคคลและเป็นส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วย วิธีการงบประมาณในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 ซึ่งตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าว ได้กำหนดว่า มหาวิทยาลัยฯ อาจแบ่งส่วนราชการเป็น คณะ สำนัก ศูนย์ หรือหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่ากองได้ มหาวิทยาลัยฯ จึงได้จัดตั้งสำนักกิจการพิเศษ ตามประกาศมหาวิทยาลัย เรื่อง การจัดตั้งหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยฯ พ.ศ. 2549 ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 ให้มีฐานะเทียบเท่ากับ "คณะ" และอยู่ในสังกัดของมหาวิทยาลัยฯ และให้โรงแรมฯ อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสำนัก กิจการพิเศษ ซึ่งโรงแรมฯ จะเบิกจ่ายเงินตามระเบียบ ข้อบังคับของสำนักกิจการพิเศษ คือ หากมีรายรับสูงกว่ารายจ่าย ก็จะนำไปใช้จ่ายเป็นค่าซ่อมแซม จัดหาครุภัณฑ์ใหม่เพื่อทดแทนส่วนที่เสื่อมสภาพไป โดยไม่ต้องอาศัยงบประมาณแผ่นดิน ทำให้การดำเนินงานของโรงแรมสาธิตเป็นไปอย่างต่อเนื่องและเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ดังนั้น โรงแรมฯ จึงมีสถานะ เป็นส่วนราชการตามโครงสร้างการบริหารของมหาวิทยาลัยฯ
          3. จากข้อเท็จจริงข้างต้น มหาวิทยาลัยฯ ขอหารือดังนี้
           3.1 กรณีที่มหาวิทยาลัยฯ มีฐานะเป็นนิติบุคคลและเป็นส่วนราชการตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 ได้ดำเนินการเปิดโรงแรมสาธิตเพื่อใช้เป็นสถานที่ฝึกหัดปฏิบัติงานด้านโรงแรมให้แก่นักศึกษา โดยได้มีการเปิด ให้บริการแก่บุคคลภายนอกด้วยนั้น มหาวิทยาลัยฯ มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลหรือไม่
          3.2 กรณีที่โรงแรมฯ อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักกิจการพิเศษ ซึ่งมีฐานะเทียบเท่ากับ "คณะ" และอยู่ใน สังกัดของมหาวิทยาลัยฯ โรงแรมฯ จึงมีสถานะเป็นส่วนราชการตามโครงสร้างการบริหารของมหาวิทยาลัยฯ ภายใต้ พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 ประกอบกับโรงแรมฯ มีลักษณะที่เป็นไปตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการ วินิจฉัยภาษีอากรที่ 24/2536 เรื่อง การเสียภาษีเงินได้ของสำนักงานหรือหน่วยงาน หรือกองทุนที่มิใช่นิติบุคคล หรือ คณะกรรมการซึ่งจัดตั้งขึ้นโดยกระทรวง ทบวง กรม ดังนั้น โรงแรมฯ จึงไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาใช่หรือไม่
          3.3 กรณีที่โรงแรมฯ ไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แต่ยังเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม โรงแรมฯ จะต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในนามของคณะบุคคลฯ ตามที่ได้จดทะเบียนไว้เดิม หรือต้องดำเนินการจดทะเบียนเลิก คณะบุคคลฯ แล้วขอเลขประจำตัวผู้เสียภาษีใหม่ และการโอนทรัพย์สินทั้งหมดไปยังหน่วยภาษีใหม่นั้น ไม่ถือเป็นการขาย ที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มใช่หรือไม่
แนววินิจฉัย           1. กรณีมหาวิทยาลัยฯ มีฐานะเป็นนิติบุคคลตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 นั้น ไม่เข้าลักษณะเป็น "บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล" ตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร จึงไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้ นิติบุคคลตามมาตรา 66 แห่งประมวลรัษฎากร
          2. กรณีมหาวิทยาลัยฯ ได้จัดตั้งโรงแรมฯ เพื่อให้นักศึกษาของมหาวิทยาลัยฯ ใช้เป็นสถานที่ฝึกหัดปฏิบัติงาน ด้านโรงแรม โดยได้มีการให้บริการแก่บุคคลภายนอกด้วย ซึ่งในขณะที่เริ่มจัดตั้งโรงแรมฯ ดังกล่าว มหาวิทยาลัยฯ ยังไม่ได้ มีฐานะเป็นนิติบุคคลที่เป็นส่วนราชการ มหาวิทยาลัยฯ จึงได้ดำเนินการให้โรงแรมฯ เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในนาม ของคณะบุคคลฯ ต่อมา มหาวิทยาลัยฯ ได้รับการรับรองให้มีฐานะเป็นนิติบุคคลตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547โดยมหาวิทยาลัยฯ อาจแบ่งส่วนราชการเป็นคณะ สำนัก ศูนย์ หรือหน่วยงานที่เรียกชื่อ อย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่ากองได้ตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าว มหาวิทยาลัยฯ จึงได้จัดตั้งสำนักกิจการ พิเศษตามประกาศมหาวิทยาลัย ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 และให้โรงแรมฯ อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ สำนักกิจการพิเศษ ซึ่งอยู่ในสังกัดของมหาวิทยาลัยฯ ดังนั้น เมื่อโรงแรมฯ เป็นส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัยฯ ซึ่งมีฐานะ เป็นนิติบุคคลตามพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าว จึงไม่เข้าลักษณะเป็น "บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล" ตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร โรงแรมฯ ไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร
          3. กรณีโรงแรมฯ ซึ่งดำเนินการในนามของมหาวิทยาลัยฯ มีฐานะเป็นนิติบุคคลตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 ได้ประกอบกิจการโรงแรมสาธิตเพื่อให้นักศึกษาของมหาวิทยาลัยฯ ใช้เป็นสถานที่ฝึกหัดปฏิบัติงานด้านโรงแรม และได้มีการให้บริการแก่บุคคลภายนอกด้วย โดยมีวิธีการเบิกจ่ายเงินตามระเบียบ ข้อบังคับของสำนักกิจการพิเศษ ซึ่งไม่ต้อง อาศัยงบประมาณแผ่นดินนั้น รายรับจากการประกอบกิจการดังกล่าว ไม่เข้าลักษณะเป็นค่าตอบแทนที่ได้รับจากการให้ บริการการศึกษาที่จะได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 81(1)(ช) แห่งประมวลรัษฎากร และการประกอบกิจการดังกล่าว ไม่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 81(1)(ท) แห่งประมวลรัษฎากร แต่เข้าลักษณะเป็นการให้บริการในทางธุรกิจหรือ วิชาชีพตามมาตรา 77/1(5) และ (10) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งอยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 77/2(1) แห่ง ประมวลรัษฎากร ดังนั้น เมื่อฐานะของโรงแรมฯ เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม โรงแรมฯ จึงต้องดำเนินการยกเลิกการใช้เลขประจำตัว ผู้เสียภาษีอากรในนามของคณะบุคคลฯ แล้วจึงใช้เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของมหาวิทยาลัยฯ
          4. กรณีที่โรงแรมฯ ในนามของคณะบุคคลฯ (เดิม) ได้โอนกิจการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มทั้งหมดให้แก่ โรงแรมฯ ที่ดำเนินการในฐานะเป็นนิติบุคคลในนามของมหาวิทยาลัยฯ และเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม การโอนกิจการดังกล่าว เข้าลักษณะเป็นการโอนกิจการทั้งหมดให้แก่โรงแรมฯ ของมหาวิทยาลัยฯ ผู้รับโอน ซึ่งไม่ถือเป็นการ "ขาย" ตามมาตรา 77/1(8)(ฉ) แห่งประมวลรัษฎากร จึงไม่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจากการโอนกิจการดังกล่าว แต่อย่างใด
เลขตู้ : 75/38112


ขอบคุณบทความจาก ::www.rd.go.th
 673
Visitor
Get started for free today. ทดลองใช้งาน

Create a website for free Online Stores