• Home

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0702/1829 ภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามมาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากร กรณีการจ่ายค่าตอบแทนตามสัญญาให้ความช่วยเหลือ ด้านเทคนิคและการให้สิทธิอนุญาต รายบริษัท สยามแอ็บบราซีฟอินดัสทรี จำกัด

เลขที่หนังสือ กค 0702/1829 ภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามมาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากร กรณีการจ่ายค่าตอบแทนตามสัญญาให้ความช่วยเหลือ ด้านเทคนิคและการให้สิทธิอนุญาต รายบริษัท สยามแอ็บบราซีฟอินดัสทรี จำกัด

  • Home

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0702/1829 ภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามมาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากร กรณีการจ่ายค่าตอบแทนตามสัญญาให้ความช่วยเหลือ ด้านเทคนิคและการให้สิทธิอนุญาต รายบริษัท สยามแอ็บบราซีฟอินดัสทรี จำกัด

เลขที่หนังสือ กค 0702/1829 ภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามมาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากร กรณีการจ่ายค่าตอบแทนตามสัญญาให้ความช่วยเหลือ ด้านเทคนิคและการให้สิทธิอนุญาต รายบริษัท สยามแอ็บบราซีฟอินดัสทรี จำกัด

เลขที่หนังสือ : กค 0702/1829
วันที่ : 1 มีนาคม 2555
เรื่อง : ภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามมาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากร กรณีการจ่ายค่าตอบแทนตามสัญญาให้ความช่วยเหลือ ด้านเทคนิคและการให้สิทธิอนุญาต รายบริษัท สยามแอ็บบราซีฟอินดัสทรี จำกัด
ข้อกฎหมาย : มาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อหารือ           บริษัทฯ ได้มีหนังสือลงวันที่ 27 มกราคม 2554 หารือเกี่ยวกับภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามมาตรา 70 แห่งประมวล รัษฎากร กรณีการจ่ายค่าตอบแทนตามสัญญาให้ความช่วยเหลือด้านเทคนิคและการให้สิทธิอนุญาตให้บริษัทต่างประเทศ โดยมีข้อเท็จจริงสรุปได้ดังนี้
          1. บริษัทญี่ปุ่นซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายของประเทศญี่ปุ่น ได้ทำสัญญาให้ความช่วยเหลือด้านเทคนิคและการอนุญาต ให้ใช้สิทธิ (Technical Assistance and License Agreement) กับบริษัทฯ ซึ่งเป็นนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของประเทศไทย
          2. สัญญาดังกล่าวมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
          2.1 บริษัทญี่ปุ่น ซึ่งประกอบธุรกิจการผลิตและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ เป็นเจ้าของความรู้พิเศษ ข้อมูล ประสบการณ์ สิทธิบัตร และการใช้สิทธิบัตรที่เกี่ยวข้องกับการผลิตและการใช้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าว ประสงค์ที่จะถ่ายทอด ความรู้ ข้อมูล ประสบการณ์ สิทธิบัตร และการใช้สิทธิบัตรเพื่อการผลิต การจัดจำหน่าย และการใช้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าว
          2.2 บริษัทญี่ปุ่น อนุญาตให้บริษัทฯ ใช้สิทธิบัตรและข้อมูลทางเทคนิคแบบเด็ดขาด (Exclusive license) ในการผลิต ขาย และใช้ผลิตภัณฑ์ในประเทศไทย และอนุญาตให้บริษัทฯ ใช้สิทธิแบบไม่เด็ดขาด (Non-exclusive license) เพื่อขายผลิตภัณฑ์ผ่านตัวแทนที่กำหนดโดยบริษัทญี่ปุ่นในประเทศอื่นที่ไม่ใช่ประเทศไทย
          2.3 ในกรณีที่บริษัทฯ ร้องขอ บริษัทญี่ปุ่นอาจจัดส่งวิศวกรเพื่อให้คำปรึกษาทางด้านเทคนิคแก่บริษัทฯ ครั้งละไม่เกิน 2 คน โดยระยะเวลาทั้งหมดจะต้องไม่เกิน 60 วัน สำหรับปีแรกของสัญญา และหากบริษัทฯ ร้องขอ บริษัทญี่ปุ่น จะจัดการอบรมให้ ณ โรงงานของบริษัทญี่ปุ่น
          2.4 บริษัทฯ ต้องจ่ายค่าสิทธิให้แก่บริษัทญี่ปุ่น ดังนี้
          (1) ค่าสิทธิดำเนินงาน (Running royalty) ในอัตราร้อยละ 7 ของราคาขายสุทธิของผลิตภัณฑ์ตรา ABC ที่บริษัทฯ จัดจำหน่ายได้
          2) ค่าสิทธิดำเนินงาน ในอัตราร้อยละ 3 ของราคาขายสุทธิของผลิตภัณฑ์นอกเหนือจากผลิตภัณฑ์ตรา ABC ที่บริษัทฯ จัดจำหน่ายได้
          2.5 ในระหว่างที่สัญญานี้มีผลใช้บังคับ บริษัทฯ ต้องใช้ข้อมูลใดๆ ที่เปิดเผยโดยบริษัทญี่ปุ่นตามสัญญานี้ เพื่อวัตถุประสงค์ในการผลิต การจัดจำหน่าย และการใช้ผลิตภัณฑ์เท่านั้น ในระหว่างที่สัญญานี้มีผลใช้บังคับและภายหลังจากสัญญานี้สิ้นผล บริษัทฯ ต้องไม่เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวให้แก่บุคคลที่สามโดยมิได้รับการอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรล่วงหน้าจากบริษัทญี่ปุ่น
          2.6 ในระหว่างที่สัญญานี้มีผลใช้บังคับ บริษัทญี่ปุ่นให้สิทธิบริษัทฯ ในการใช้เครื่องหมายการค้าของ บริษัทญี่ปุ่นแบบไม่เด็ดขาดและไม่อาจโอนสิทธิได้ โดยไม่คิดค่าสิทธิ เพื่อวัตถุประสงค์ในการขายและการส่งเสริมการขายผลิตภัณฑ์เท่านั้น
          3. บริษัทฯ ได้หารือว่า เมื่อบริษัทฯ จ่ายค่าตอบแทนตามสัญญาดังกล่าวให้กับบริษัทญี่ปุ่น บริษัทฯ จะมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามมาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากรหรือไม่
แนววินิจฉัย           เนื่องจากค่าตอบแทนที่เกิดจากการให้ความช่วยเหลือด้านเทคนิคและการอนุญาตให้ใช้สิทธิตามสัญญาดังกล่าว เข้าลักษณะเป็นค่าตอบแทนเพื่อการใช้หรือสิทธิในการใช้สิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า แบบหรือหุ่นจำลอง แผนผัง สูตร หรือกรรมวิธีลับใดๆ หรือเพื่อข้อสนเทศที่เกี่ยวกับประสบการณ์ทางอุตสาหกรรม พาณิชยกรรม หรือทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งถือเป็นค่าสิทธิตามข้อ 12 วรรคสาม ของอนุสัญญาระหว่างประเทศไทยกับประเทศญี่ปุ่นเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อน และการป้องกันการเลี่ยงการรัษฎากรในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้ (อนุสัญญาฯ) และโดยที่การจัดส่งวิศวกรเข้ามา ในประเทศไทยเพื่อให้คำปรึกษาทางเทคนิคตามที่บริษัทฯ ร้องขอ ยังไม่ถือว่าบริษัทญี่ปุ่นประกอบกิจการในประเทศไทย ตามมาตรา 76 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ดังนั้น บริษัทฯ ผู้จ่ายเงินได้ จึงมีหน้าที่ต้องหักภาษีจากเงินได้พึงประเมินที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 15 และนำส่งตามมาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากร และข้อ 12 แห่งอนุสัญญาฯ ประกอบกับพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2505
เลขตู้ : 75/38059


ขอบคุณบทความจาก ::www.rd.go.th
 633
Visitor
Get started for free today. ทดลองใช้งาน

Create a website for free Online Stores