• Home

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0702/8590 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีการหักลดหย่อนและการยกเว้นภาษีเงินได้ สำหรับดอกเบี้ยเงินกู้ยืมตามมาตรา 47 (1)(ซ) แห่งประมวลรัษฎากร

เลขที่หนังสือ กค 0702/8590 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีการหักลดหย่อนและการยกเว้นภาษีเงินได้ สำหรับดอกเบี้ยเงินกู้ยืมตามมาตรา 47 (1)(ซ) แห่งประมวลรัษฎากร

  • Home

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0702/8590 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีการหักลดหย่อนและการยกเว้นภาษีเงินได้ สำหรับดอกเบี้ยเงินกู้ยืมตามมาตรา 47 (1)(ซ) แห่งประมวลรัษฎากร

เลขที่หนังสือ กค 0702/8590 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีการหักลดหย่อนและการยกเว้นภาษีเงินได้ สำหรับดอกเบี้ยเงินกู้ยืมตามมาตรา 47 (1)(ซ) แห่งประมวลรัษฎากร

เลขที่หนังสือ : กค 0702/8590
วันที่ : 4 พฤศจิกายน 2553
เรื่อง : ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีการหักลดหย่อนและการยกเว้นภาษีเงินได้ สำหรับดอกเบี้ยเงินกู้ยืมตามมาตรา 47 (1)(ซ) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อกฎหมาย : มาตรา 47(1)(ซ) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อหารือ           นาย ศ. นาง น. ภรรยา และนาย ส. น้องชายร่วมกันกู้ยืมเงินจากธนาคารฯ เพื่อซื้ออาคารพร้อมที่ดิน และธนาคารฯ ได้ออกหนังสือรับรองดอกเบี้ยเงินกู้ยืมระบุชื่อนาย ศ. นาง น. และนาย ส. เป็นผู้กู้ยืม นาย ศ. และนาง น. ได้แยกยื่นแบบแสดง รายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด. 91) ประจำปีภาษี 2552 ต่อมาได้รับแจ้งจากเจ้าหน้าที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่ว่า นาย ศ. หักค่าลดหย่อนสำหรับดอกเบี้ยเงินกู้ยืมไม่ถูกต้อง โดยชี้แจงว่า การหักลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมธนาคารฯ ที่กู้ยืมร่วมในสัญญาจำนวน 3 คน นั้น จะต้องเฉลี่ยดอกเบี้ยระหว่างนาย ศ. และนาย ส. ก่อนจากนั้นนาย ศ. จะต้องเฉลี่ยตามส่วนกับนาง น. ทั้งนี้ รวมกันแล้วจะต้องไม่เกิน 100,000 บาท นาย ศ. โต้แย้งว่า การหักลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมธนาคารฯ ที่กู้ยืมร่วมจำนวน 3 คน นั้นต้องเฉลี่ย 3 คน คือ นาย ศ. นาง น. และนาย ส. จึงจะถูกต้อง
แนววินิจฉัย           กรณีนาย ศ. นาง น. และนาย ส. ร่วมกันกู้ยืมเงินจากธนาคารฯ เพื่อซื้ออาคารพร้อมที่ดิน และหนังสือรับรองดอกเบี้ยเงินกู้ยืม ได้ระบุชื่อผู้กู้ร่วมทั้ง 3 คน ผู้มีเงินได้แต่ละคนมีสิทธิหักลดหย่อนโดยเฉลี่ยค่าลดหย่อนตามส่วนจำนวนผู้มีเงินได้แต่รวมกันต้องไม่เกิน จำนวนที่จ่ายจริงและไม่เกิน 100,000 บาท ตามมาตรา 47 (1)(ซ) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับข้อ 2 (7) ของประกาศอธิบดี กรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 86) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ การหักลดหย่อนสำหรับดอกเบี้ยเงินกู้ยืม ตาม มาตรา 47 (1)(ซ) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 และได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ทุกคนโดยเฉลี่ยการได้รับ ยกเว้นตามส่วนจำนวนผู้มีเงินได้แต่รวมกันต้องไม่เกินจำนวนที่จ่ายจริงเฉพาะส่วนที่เกิน 10,000 บาท แต่ไม่เกิน 90,000 บาท ตาม ข้อ 2 (53) แห่งกฎกระทรวงฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ลงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2509 ประกอบกับข้อ 2 (7) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 166) เรื่อง กำหนด หลักเกณฑ์และวิธีการ เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นดอกเบี้ยเงินกู้ยืมสำหรับการกู้ยืมเงินเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารที่อยู่อาศัย โดยจำนองอาคารที่ซื้อหรือสร้างเป็นประกันการกู้ยืมนั้น ตามข้อ 2 (53) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ลงวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2551 อย่างไรก็ดีกรณีผู้มีเงินได้ หักลดหย่อน ตามมาตรา 47 (1)(ซ) แห่งประมวลรัษฎากร เงินได้ที่ได้รับยกเว้นเมื่อรวมกับค่าลดหย่อนต้องไม่เกิน 100,000 บาท ทั้งนี้ ตามข้อ 2 (53) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509)ฯ ลงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2509 ประกอบกับข้อ 5 ของ ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 166)ฯ ลงวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2551
เลขตู้ : 73/37579


ขอบคุณบทความจาก ::www.rd.go.th
 392
Visitor
Get started for free today. ทดลองใช้งาน

Create a website for free Online Stores