• Home

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0702/2545 ภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีรายได้จากการจัดประชุมวิชาการ

เลขที่หนังสือ กค 0702/2545 ภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีรายได้จากการจัดประชุมวิชาการ

  • Home

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0702/2545 ภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีรายได้จากการจัดประชุมวิชาการ

เลขที่หนังสือ กค 0702/2545 ภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีรายได้จากการจัดประชุมวิชาการ

เลขที่หนังสือ : กค 0702/2545
วันที่ : 5 เมษายน 2553
เรื่อง : ภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีรายได้จากการจัดประชุมวิชาการ
ข้อกฎหมาย : มาตรา 81(1)(ฎ) มาตรา 65 ทวิ (13) มาตรา 65 ทวิ มาตรา 77/1(10) มาตรา 77/2 และมาตรา 80 แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อหารือ           สมาคมฯ ได้รับเกียรติจากสมาคมแพทย์โรคตับแห่งเอเชียแปซิฟิก (APASL) ให้เป็นเจ้าภาพจัดงานประชุมวิชาการ The 21st Asian Pacific Association for the Study of the Liver (APASL 2011) ระหว่างวันที่ 17 - 20 กุมภาพันธ์ 2554 เป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ในกลุ่มแพทย์เฉพาะทางด้านโรคตับในกลุ่มประเทศเอเชียแปซิฟิก เพื่อเผยแพร่ความรู้วิชาการเป็น วัตถุประสงค์หลัก ซึ่งตามข้อตกลงกำหนดให้มีการจัดประชุมวิชาการโดยหมุนเวียนประเทศเจ้าภาพในกลุ่มประเทศสมาชิก ซึ่งมีทั้งสิ้น 29 ประเทศ สมาคมฯ จะมีรายได้จากการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม ดังนี้
          1. ค่าลงทะเบียนผู้เข้าร่วมงานจากสมาชิกของสมาคมฯ และจากบุคคลภายนอก
          2. เงินสนับสนุนจากสำนักงานส่งเสริมการประชุมและนิทรรศการ (สสปน.) และเงินบริจาคโดยไม่มีสิ่งตอบแทน
          3. รายได้จากการขายพื้นที่ออกนิทรรศการ และจากการสนับสนุนจากบริษัททางการแพทย์
          4. รายได้อื่นๆ ได้แก่ ค่าบัตรงานเลี้ยง
          สมาคมฯ จึงขอทราบว่า
          1. รายได้ตาม 1. - 4. จะต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียเงินได้นิติบุคคลหรือไม่
          2. การประชุมวิชาการโรคตับนานาชาติดังกล่าว ถือเป็นการให้บริการทางวิชาการ ที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 81(1)(ฎ) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 12) เรื่อง กำหนดสาขาและลักษณะการประกอบกิจการ การให้บริการวิจัยหรือการให้บริการทางวิชาการ ตามมาตรา 81(1)(ฎ) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2534 ใช่หรือไม่
แนววินิจฉัย           1. ภาษีเงินได้นิติบุคคล
               1.1 กรณีสมาคมฯ ที่ประกอบกิจการมีรายได้เข้าลักษณะตามคำนิยาม "บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล" ตาม มาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร สมาคมฯ มีหน้าที่ต้องนำรายได้ดังกล่าวมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตราร้อยละ 2 ของรายได้ก่อนหักรายจ่ายใดๆ ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตรารัษฎากร (ฉบับที่ 250) พ.ศ. 2535 แต่ไม่รวมถึง เงินค่าลงทะเบียน หรือค่าบำรุงที่ได้รับจากสมาชิก หรือเงิน หรือทรัพย์สินที่ได้รับจากการรับบริจาคหรือจากการให้โดยเสน่หาแล้วแต่กรณี มารวมคำนวณเป็นรายได้ ทั้งนี้ ตามมาตรา 65 ทวิ (13) แห่งประมวลรัษฎากร
               1.2 กรณีสมาคมฯ มีรายได้จากการขายพื้นที่ออกนิทรรศการ และรายได้อื่นๆ ได้แก่ ค่าบัตรงานเลี้ยง สมาคมฯ ต้องนำรายได้ดังกล่าวมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
               1.3 กรณีสมาคมฯ ได้รับเงินสนับสนุนจาก สสปน. หากสมาคมฯ ต้องกระทำกิจการสิ่งใดให้แก่ สสปน. เพื่อตอบแทนเงินสนับสนุนดังกล่าว สมาคมฯ ต้องนำเงินสนับสนุนที่ได้รับจาก สสปน. มารวมคำนวณเป็นรายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 65 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร แต่หากเงินสนับสนุนดังกล่าวมีลักษณะเป็นเงินรับบริจาคหรือจากการให้โดยเสน่หา สมาคมฯ ไม่ต้องนำเงินได้ดังกล่าวมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามมาตรา 65 ทวิ (13) แห่งประมวลรัษฎากร แต่อย่างใด
          2. ภาษีมูลค่าเพิ่ม
               2.1 สมาคมฯ จัดประชุมวิชาการ หากมิใช่เป็นการให้บริการวิจัยหรือให้บริการทางวิชาการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 81(1)(ฎ) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 12)ฯ ลงวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 171) เรื่อง กำหนดสาขาและลักษณะการประกอบกิจการ การให้บริการวิจัยหรือการให้บริการทางวิชาการ ตามมาตรา 81(1)(ฎ) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 รายได้จากการประชุมดังกล่าว เข้าลักษณะเป็นการให้บริการ ซึ่งอยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7.0 ทั้งนี้ ตามมาตรา 77/1(10) มาตรา 77/2 และมาตรา 80 แห่งประมวลรัษฎากร
               2.2 เงินสนับสนุนจาก สสปน. หากสมาคมฯ มิได้มีการขายสินค้าหรือให้บริการใดกับ สสปน. เพื่อตอบแทนเงินสนับสนุนที่ได้รับ เงินที่ได้รับดังกล่าวไม่เข้าลักษณะเป็นค่าตอบแทนอันเกิดจากการขายสินค้าหรือให้บริการ จึงไม่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 77/2 แห่งประมวลรัษฎากร
เลขตู้ : 73/37242


ขอบคุณบทความจาก ::www.rd.go.th
 1360
Visitor
Get started for free today. ทดลองใช้งาน

Create a website for free Online Stores