• Home

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0702/10398 ภาระภาษี กรณีการโอนกิจการทั้งหมดตามมาตรา 74(1)(ค) แห่งประมวลรัษฎากร

เลขที่หนังสือ กค 0702/10398 ภาระภาษี กรณีการโอนกิจการทั้งหมดตามมาตรา 74(1)(ค) แห่งประมวลรัษฎากร

  • Home

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0702/10398 ภาระภาษี กรณีการโอนกิจการทั้งหมดตามมาตรา 74(1)(ค) แห่งประมวลรัษฎากร

เลขที่หนังสือ กค 0702/10398 ภาระภาษี กรณีการโอนกิจการทั้งหมดตามมาตรา 74(1)(ค) แห่งประมวลรัษฎากร

เลขที่หนังสือ : กค 0702/10398
วันที่ : 21 ธันวาคม 2552
เรื่อง : ภาระภาษี กรณีการโอนกิจการทั้งหมดตามมาตรา 74(1)(ค) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อกฎหมาย : มาตรา 74(1)(ค) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อหารือ           บริษัทฯ หารือเกี่ยวกับภาระภาษี กรณีการโอนกิจการทั้งหมดตามมาตรา 74(1)(ค) แห่งประมวลรัษฎากร มีข้อเท็จจริง สรุปได้ดังนี้
          1. บริษัทฯ ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ถือหุ้นร้อยละ 52.68 ในบริษัท ร. (BTS) ซึ่งประกอบกิจการขนส่ง และมิได้ จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยหุ้นที่ถืออยู่ดังกล่าว บริษัทฯ ได้ลงทุนซื้อหลายครั้งเป็นจำนวนหุ้นทั้งสิ้น 8,365,800,000,000 หุ้น และมีราคาเฉลี่ยประมาณ 1.10 บาทต่อหุ้น (กิจการทั้งหมด)
          2. บริษัทฯ มีความประสงค์จะโอนกิจการทั้งหมดให้แก่บริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ผู้รับโอน) โดยมีขั้นตอนดังนี้
               2.1 บริษัทฯ และผู้รับโอน จะเข้าทำสัญญาการโอนกิจการทั้งหมด โดยบริษัทฯ จะโอนกิจการซึ่งได้แก่หุ้นทั้งหมด ให้แก่ผู้รับโอน แลกกับหุ้นออกใหม่ของผู้รับโอนที่ราคาประมาณ 2 ถึง 3 บาท ซึ่งเป็นราคาที่ที่ปรึกษาทางการเงินอิสระให้ความเห็น ตามระเบียบของคณะกรรมการหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
               2.2 ในวันเดียวกันภายหลังจากที่ได้ดำเนินการตาม 2.1 แล้ว บริษัทฯ จะจดมติพิเศษเพื่อเลิกกิจการกับกระทรวงพาณิชย์
               2.3 หลังจากนั้น บริษัทฯ จะส่งมอบหุ้นออกใหม่ของผู้รับโอน ให้แก่ผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ ในขั้นตอนการคืนทุนตาม มาตรา 1269 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โดยจะเริ่มดำเนินการโอนกรรมสิทธิ์ในหุ้นดังกล่าว ให้กับผู้ถือหุ้นของบริษัท ในวันเดียวกัน อย่างไรก็ดี การโอนกรรมสิทธิ์ในหุ้นดังกล่าว อาจมีขั้นตอนทางทะเบียนซึ่งใช้เวลาประมาณ 3 ถึง 4 วัน นับแต่วันที่ บริษัทเริ่มดำเนินการ จึงจะแล้วเสร็จ
               2.4 บริษัทฯ และผู้รับโอน จะทำการยื่นแบบ ค.อ.1 ถึง ค.อ.4 ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดตามประกาศอธิบดี กรมสรรพากร เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการควบเข้ากันหรือโอนกิจการทั้งหมดให้แก่กันของบริษัทมหาชนจำกัด หรือบริษัทจำกัด เพื่อยกเว้นรัษฎากร ลงวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2542
          บริษัทฯ ได้หารือว่า เนื่องจากการโอนกิจการดังกล่าว เป็นการโอนกิจการทั้งหมดให้แก่กัน โดยบริษัทฯ เลิกประกอบกิจการ และทำการชำระบัญชีเพื่อจดทะเบียนเลิกบริษัทในรอบระยะเวลาบัญชีที่โอนกิจการ ดังนั้น บริษัทฯ และผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ ย่อมได้รับสิทธิประโยชน์ในทางภาษีอากร ตามมาตรา 74(1)(ค) แห่งประมวลรัษฎากร พระราชกฤษฎีกาและกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้อง ถูกต้องหรือไม่
แนววินิจฉัย           เนื่องจากบริษัทฯ ได้โอนกิจการทั้งหมดให้ผู้รับโอน โดยบริษัทฯ เลิกประกอบกิจการและทำการชำระบัญชีเพื่อจดทะเบียน เลิกบริษัทในรอบระยะเวลาบัญชีที่โอนกิจการ ดังนั้น บริษัทฯ และผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ ได้รับสิทธิประโยชน์ในทางภาษีอากร ดังนี้
          1. ในส่วนของบริษัทฯ
               1.1 ภาษีเงินได้นิติบุคคล
               บริษัทฯ มีหน้าที่ต้องตีราคาทรัพย์สินตามราคาตลาดในวันที่จดทะเบียนเลิก แต่ไม่ให้ถือราคาดังกล่าว เป็นรายได้หรือ รายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิของบริษัทฯ และให้ผู้รับโอนถือเอาทรัพย์สินนั้นตามราคาที่ปรากฏในบัญชีเพื่อประโยชน์ในการคำนวณ กำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิจนกว่าจะได้มีการจำหน่ายทรัพย์สินนั้นไป แม้ว่าผู้รับโอนจะออกหุ้นใหม่ในราคา 2 ถึง 3 บาท โดยประมาณ ให้แก่บริษัทฯ ก็ตาม ตามมาตรา 74(1)(ค) แห่งประมวลรัษฎากร
               1.2 อากรแสตมป์
               บริษัทฯ ได้รับยกเว้นอากรแสตมป์จากการกระทำตราสารการโอนหุ้นอันเนื่องมาจากการโอนกิจการทั้งหมดให้แก่ ผู้รับโอน และในการโอนหุ้นของผู้รับโอนให้แก่ผู้ถือหุ้นในขั้นตอนการชำระบัญชีของบริษัทฯ ตามมาตรา 6(31) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2500
          2. ในส่วนของผู้ถือหุ้น
               เนื่องจากมูลค่าหุ้นของผู้รับโอนที่ผู้ถือหุ้นได้รับในขั้นตอนการชำระบัญชีของบริษัทฯ เกินกว่าเงินลงทุนในบริษัทฯ ดังนั้น ผลประโยชน์ที่ผู้ถือหุ้นได้รับจากการคืนทุนในส่วนที่ตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าเงินทุนดังกล่าว เป็นเงินได้ตามมาตรา 40(4)(ฉ) แห่งประมวลรัษฎากร อย่างไรก็ดี ผู้ถือหุ้นที่เป็นบุคคลธรรมดาได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามข้อ 2(50) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ลงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2509 และ ผู้ถือหุ้นที่เป็นนิติบุคคลได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามมาตรา 5 สัตตรส แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2500
          อนึ่ง การยกเว้นภาษีเงินได้ดังกล่าว ใช้เฉพาะกับผลประโยชน์จากการคืนทุนในส่วนที่ตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าเงินทุน ซึ่ง เกี่ยวข้องกับการโอนกิจการทั้งหมดเท่านั้น
เลขตู้ : 72/37056

ขอบคุณบทความจาก ::www.rd.go.th
 1741
Visitor
Get started for free today. ทดลองใช้งาน

Create a website for free Online Stores