เลขที่หนังสือ | : กค 0702/พ./5402 |
วันที่ | : 10 กรกฎาคม 2552 |
เรื่อง | : ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการนำโทรศัพท์เคลื่อนที่ไปใช้งานในต่างประเทศ |
ข้อกฎหมาย | : มาตรา 79 และมาตรา 82/4 แห่งประมวลรัษฎากร |
ข้อหารือ | บริษัท A หารือเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีที่ลูกค้าของบริษัท A นำโทรศัพท์เคลื่อนที่ไปใช้งานในต่างประเทศ โดยมีข้อเท็จจริงสรุปว่า ลูกค้าของบริษัท A ที่ประสงค์จะนำโทรศัพท์เคลื่อนที่ไปใช้ในต่างประเทศ ต้องมีการสมัครขอใช้ บริการข้ามแดนอัตโนมัติ (international roaming ) กับบริษัท A ก่อน และบริษัท A จะเก็บเงินค่าบริการจากลูกค้าตาม อัตราค่าบริการที่กำหนดไว้แตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ ดังตัวอย่างต่อไปนี้ 1. ลูกค้าใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่โทรกลับประเทศไทย ในขณะที่อยู่ในประเทศ C บริษัท A มีข้อตกลงหรือนิติสัมพันธ์ กับผู้ให้บริการในต่างประเทศ คือ บริษัท B ที่จะเป็นผู้เปิดและเชื่อมเครือข่ายโทรศัพท์ (Roaming) เพื่อให้ลูกค้าสามารถ ใช้บริการโทรศัพท์ของตนในประเทศ S (สัญญาให้บริการข้ามแดนอัตโนมัติระหว่างประเทศ [international GSM roaming agreement]) โดยบริษัท A จะถูกเรียกเก็บค่าบริการจากบริษัทในประเทศ S สำหรับการให้บริการดังกล่าว ในราคา 10 บาท จากนั้นบริษัท A จะเรียกเก็บค่าบริการจากลูกค้าผู้ใช้บริการในราคาเหมาจ่ายอัตราเดียว คือ 15 บาทต่อนาที ซึ่งจะ ทำให้บริษัท A ได้รับส่วนต่างเป็นค่าธรรมเนียม เป็นจำนวนเงิน 5 2. ลูกค้าส่งข้อความ SMS ไปยังเลขหมายต่างๆ ในขณะที่อยู่ในประเทศ S ผู้ให้บริการในต่างประเทศตาม 1. จะ เก็บค่าบริการจากบริษัท A ในราคา 9.01 บาท จากนั้นบริษัท A จะเรียกเก็บค่าบริการจากลูกค้าในราคาเหมาจ่ายอัตรา เดียว คือ 12 บาทต่อนาที ซึ่งจะทำให้บริษัท A ได้รับส่วนต่างเป็นค่าธรรมเนียม เป็นจำนวนเงิน 2.99 บาท 3. ลูกค้ารับสายเรียกเข้าขณะที่อยู่ในประเทศ S ผู้ให้บริการในต่างประเทศตาม 1. จะเก็บค่าบริการ จากบริษัท A ในราคา 9.01 จากนั้นบริษัท A จะเรียกเก็บค่าบริการจากลูกค้าในราคาเหมาจ่ายอัตราเดียว คือ 35 บาทต่อนาที ซึ่งจะทำให้ บริษัท A ได้รับส่วนต่างเป็นค่าธรรมเนียม เป็นจำนวนเงิน 4.99 บาท กรณีตาม 1. 2. และ 3. จึงเป็นกรณีที่ผู้ให้บริการใน ต่างประเทศทั้งสามบริษัท ให้บริการแก่บริษัท A และบริษัท A ให้บริการกับลูกค้าอีกทอดหนึ่งบริษัท A ขอหารือว่า เมื่อ บริษัท A เก็บค่าบริการจากลูกค้าตาม 1. 2. และ 3. บริษัท A จะเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม จากค่าบริการเหมาจ่ายอัตราเดียว หรือจากส่วนต่างที่เป็นค่าธรรมเนียมที่บริษัท A ได้รับหลังจากหักด้วยค่าบริการที่บริษัท A จ่ายไปให้บริษัทต่างประเทศ |
แนววินิจฉัย | เนื่องจากการเรียกเก็บค่าบริการระหว่างผู้ให้บริการในต่างประเทศกับบริษัท A เกิดจากสัญญาบริการระหว่าง ผู้ให้บริการในต่างประเทศนั้น กับบริษัท A โดยตรงซึ่งมิได้เกี่ยวข้องกับลูกค้าของบริษัท A แต่อย่างใด กรณีตามข้อเท็จจริง ข้างต้น จึงเป็นกรณีที่บริษัท A รับบริการจากผู้ให้บริการในต่างประเทศ แล้วจึงให้บริการต่อกับลูกค้าของบริษัท A อีกทอดหนึ่ง ดังนั้น บริษัท A จึงมีหน้าที่ต้องนำมูลค่าทั้งหมดที่ได้จากการให้บริการลูกค้า (ก่อนหักค่าบริการที่บริษัท A ต้องจ่ายให้กับ ผู้ให้บริการในต่างประเทศ) มารวมคำนวณเป็นฐานภาษี ตามมาตรา 79 แห่งประมวลรัษฎากร และต้องเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม จากมูลค่าทั้งหมดดังกล่าว ตามมาตรา 82/4 แห่งประมวลรัษฎากร |
เลขตู้ | : 72/36725 |