เลขที่หนังสือ กค 0702พ./2765 ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการให้บริการโทรศัพท์

เลขที่หนังสือ กค 0702พ./2765 ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการให้บริการโทรศัพท์

เลขที่หนังสือ : กค 0702พ./2765
วันที่ : 8 เมษายน 2552
เรื่อง : ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการให้บริการโทรศัพท์
ข้อกฎหมาย : มาตรา 78/1 และมาตรา 79 แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อหารือ           ปัญหา
           บริษัท ท. (บริษัทฯ) เปิดให้บริการกับลูกค้า 2 รูปแบบ ดังนี้
          1. ระบบเติมเงิน (Prepaid) เป็นระบบที่เรียกเก็บเงินจากลูกค้าก่อนให้บริการลูกค้าจะต้องซื้อบัตรเติมเงินหรือเติมเงิน ผ่านช่องทางการจำหน่ายอื่นที่บริษัทฯ เป็นผู้กำหนด เช่น เติมเงินผ่านเครื่อง ATM เป็นต้น เมื่อลูกค้าเติมเงินแล้วจึงจะสามารถ ใช้บริการโทรศัพท์ได้บริษัทฯ จะนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มเมื่อขายบัตรเติมเงินให้แก่ลูกค้า
          2. ระบบรายเดือน (Postpaid) เป็นระบบที่เรียกเก็บเงินจากลูกค้าหลังจากที่ลูกค้าใช้บริการแล้ว โดยบริษัทฯ จะออก ใบแจ้งหนี้เรียกเก็บเงินจากลูกค้าตามที่อยู่ที่ลูกค้าแจ้งไว้ บริษัทฯ จะนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มเมื่อลูกค้าชำระเงินค่าบริการ
          บริษัทฯ ขอทราบว่า
          1. กรณีลูกค้าในระบบเติมเงิน ได้เติมเงินผ่านช่องทางการจำหน่ายแล้ว แต่ยังไม่ได้นำไปใช้ในการโทรออกและต้องการ ที่จะนำค่าเติมเงินดังกล่าวไปชำระค่าบริการโทรศัพท์แบบรายเดือน โดยบริษัทฯ จะนำเงินของลูกค้าที่อยู่ในระบบเติมเงิน (รวม ภาษีมูลค่าเพิ่ม) ซึ่งได้ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มดังกล่าวแล้ว ไปหักออกจากค่าใช้บริการโทรศัพท์ในระบบรายเดือน (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) ที่เรียกเก็บจากลูกค้าตามใบแจ้งหนี้ของบริษัทฯ ซึ่งบริษัทฯ สามารถตรวจสอบได้ว่าหมายเลขโทรศัพท์ของลูกค้าระบบเติมเงิน หมายเลขใด ได้มีการชำระค่าบริการโทรศัพท์ระบบรายเดือนให้ลูกค้าหมายเลขใด การนำค่าเติมเงินในระบบเติมเงินไปหักออก จากค่าบริการโทรศัพท์ในระบบรายเดือนดังกล่าว แล้วคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มที่เกิดขึ้นจากค่าบริการโทรศัพท์ระบบรายเดือนใน ส่วนที่เหลือถูกต้องหรือไม่
          2. กรณีลูกค้าในระบบเติมเงินต้องการเปลี่ยนเป็นระบบรายเดือน บริษัทฯ จะโอนจำนวนเงินที่เหลืออยู่ (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) ซึ่งได้ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มแล้วในระบบเติมเงิน มาเป็นค่าบริการโทรศัพท์ในระบบรายเดือนจ่ายล่วงหน้าให้กับลูกค้าในจำนวนเงิน ที่เท่ากันโดยไม่ต้องมีการชำระภาษีมูลค่าเพิ่มจากค่าบริการรายเดือนล่วงหน้า เนื่องจากบริษัทฯ ได้ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มในระบบ เติมเงินไปแล้ว บริษัทฯ เพียงแต่ทำการปรับปรุงระบบการตั้งหนี้ให้ปรากฏยอดค่าบริการจ่ายล่วงหน้าในใบแจ้งหนี้ของบริษัทฯ เท่านั้น ซึ่งบริษัทฯ สามารถตรวจสอบด้วยระบบคอมพิวเตอร์ได้ว่า ลูกค้าที่ต้องการเปลี่ยนระบบนี้มีเงินคงเหลืออยู่จริงและ บริษัทฯ ได้ถือว่ายอดเงินดังกล่าวที่โอนมาจากระบบเติมเงินนั้นเป็นการชำระเงินล่วงหน้าของลูกค้า แล้วคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่เกิดขึ้นจากค่าบริการโทรศัพท์ระบบรายเดือนในส่วนที่เหลือถูกต้องหรือไม่
แนววินิจฉัย           กรณีบริษัทฯ จะนำเงินซึ่งรวมภาษีมูลค่าเพิ่มของลูกค้าที่อยู่ในระบบเติมเงิน ซึ่งบริษัทฯ ได้ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มดังกล่าว แล้ว ไปหักออกจากค่าใช้บริการโทรศัพท์ในระบบรายเดือน (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) ที่เรียกเก็บจากลูกค้าตามใบแจ้งหนี้ของบริษัทฯ โดยบริษัทฯ สามารถตรวจสอบได้ว่าหมายเลขโทรศัพท์ของลูกค้าระบบเติมเงินหมายเลขใดได้มีการชำระค่าบริการโทรศัพท์ระบบ รายเดือนให้ลูกค้าหมายเลขใด หรือจะโอนจำนวนเงินที่เหลืออยู่ (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) ซึ่งบริษัทฯ ได้ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มแล้วใน ระบบเติมเงิน มาเป็นค่าบริการโทรศัพท์ระบบรายเดือนจ่ายล่วงหน้าให้ลูกค้าในจำนวนเงินที่เท่ากัน โดยบริษัทฯ สามารถตรวจสอบ ได้ว่าลูกค้าที่ต้องการเปลี่ยนระบบนี้มีเงินคงเหลืออยู่จริง กรณีดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นเงินค่าบริการรับล่วงหน้าก่อนที่ลูกค้าจะใช้ บริการ ซึ่งความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจะเกิดขึ้นเมื่อได้รับชำระค่าบริการตามมาตรา 78/1 แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทฯ ต้องนำมูลค่าทั้งหมดที่ได้รับจากการขายบัตรเติมเงินคำนวณเป็นมูลค่าของฐานภาษี ตามมาตรา 79 แห่งประมวลรัษฎากร เนื่องจากความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจากการให้บริการเกิดขึ้นในขณะที่ได้รับชำระเงิน และบริษัทฯ สามารถนำเงินของ ลูกค้าที่อยู่ในระบบเติมเงินหรือโอนจำนวนเงินที่เหลืออยู่ในระบบเติมเงินไปหักออกจากค่าใช้บริการโทรศัพท์ในระบบรายเดือนได้ และคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มจากส่วนของค่าบริการโทรศัพท์ในระบบรายเดือนที่เหลืออยู่
เลขตู้ : 72/36531

ขอบคุณบทความจาก ::www.rd.go.th
 354
Visitor
Get started for free today. ทดลองใช้งาน

Create a website for free Online Stores