• Home

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0702/269 เงินได้บุคคลธรรมดา และภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการลงทุนในหุ้นกู้อนุพันธ์

เลขที่หนังสือ กค 0702/269 เงินได้บุคคลธรรมดา และภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการลงทุนในหุ้นกู้อนุพันธ์

  • Home

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0702/269 เงินได้บุคคลธรรมดา และภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการลงทุนในหุ้นกู้อนุพันธ์

เลขที่หนังสือ กค 0702/269 เงินได้บุคคลธรรมดา และภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการลงทุนในหุ้นกู้อนุพันธ์

เลขที่หนังสือ : กค 0702/269
วันที่ : 15 มกราคม 2552
เรื่อง : ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการลงทุนในหุ้นกู้อนุพันธ์
ข้อกฎหมาย : มาตรา 40(4)(ก) และมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อหารือ            บริษัทหลักทรัพย์มีความประสงค์ในการเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ (ELN 0005) ให้แก่ผู้ลงทุนทั่วไป จึงขอหารือประเด็นภาษีที่ผู้ลงทุนจะต้องเสียจากการลงทุนในหุ้นกู้อนุพันธ์ โดยมีรายละเอียด ดังนี้
           มูลค่าหน้าตั๋ว 1,000,000 บาท
           หุ้นอ้างอิง PTT
           ราคาของหุ้นกู้อนุพันธ์ 91% ของมูลค่าหน้าตั๋ว
           อัตราการรับประกัน (Guarantee rate) 90% ของมูลค่าหน้าตั๋ว
           ผลตอบแทนพิเศษ (Payment rate) 5% ของมูลค่าหน้าตั๋ว
           ราคาใช้สิทธิ (Strike price) 200 บาท
           ผู้ลงทุนชำระเงินเพื่อซื้อหุ้นกู้อนุพันธ์ = 1,000,000 * 91% = 910,000 บาท
           มูลค่าการไถ่ถอนหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ผู้ลงทุนจะได้รับ ขึ้นอยู่กับราคาของหุ้นอ้างอิง ณ วันหมดอายุของหุ้นกู้อนุพันธ์ ทั้งนี้ เงื่อนไขของหุ้นกู้อนุพันธ์ กำหนดผลตอบแทนที่ผู้ลงทุนจะได้รับ (Payoff) ไว้ 2 กรณี ดังนี้
           กรณีที่ 1 ณ วันหมดอายุ ถ้าราคาหุ้นอ้างอิงมากกว่าหรือเท่ากับราคาใช้สิทธิ (PTT?200)
           ผู้ลงทุนจะได้รับเงินไถ่ถอน = มูลค่าหน้าตั๋ว * (อัตราการรับประกัน + ผลตอบแทนพิเศษ)
           = 1,000,000 * (90% + 5%)
           = 950,000 บาท
           ดังนั้น ผู้ถือหุ้นกู้อนุพันธ์ได้กำไร 950,000 - 910,000 = 40,000 บาท
           กรณีที่ 2 ณ วันหมดอายุ ถ้าราคาหุ้นอ้างอิงน้อยกว่าราคาใช้สิทธิ (PTT<200)
           ผู้ลงทุนจะได้รับเงินไถ่ถอน = มูลค่าหน้าตั๋ว * (อัตราการรับประกัน)
           = 1,000,000 * (90%)
           = 900,000 บาท
           ดังนั้น ผู้ถือหุ้นกู้อนุพันธ์ขาดทุน 910,000 - 900,000 = 10,000 บาท
           บริษัทฯ จึงขอทราบว่า
           1. หุ้นกู้อนุพันธ์ประเภทนี้ไม่ได้จ่ายเงินคืนเต็มมูลค่าหน้าตั๋ว แต่ผู้ลงทุนในหุ้นกู้อนุพันธ์จะได้รับเงินคืนเมื่อครบกำหนดอายุในจำนวนเงินที่เป็นไปตามเงื่อนไขข้างต้น ซึ่งสำหรับในกรณีที่ 2 ผู้ลงทุนอาจได้รับผลขาดทุน โดยจำนวนเงินที่ผู้ลงทุนได้รับคืนจะต่ำกว่ามูลค่าเงินลงทุนที่ได้ซื้อหุ้นกู้อนุพันธ์ ในตอนแรก ดังนั้น หุ้นกู้อนุพันธ์ประเภทนี้จัดเป็นตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่ไม่มีดอกเบี้ย (Zero Coupon) หรือไม่
           2. ถ้าไม่เป็น Zero Coupon แล้ว ภาษีที่ผู้ลงทุนในหุ้นกู้อนุพันธ์ต้องจ่ายจะเป็นประเภท กำไรจากการขายหรือเงินได้จากดอกเบี้ย
           3. ถ้าเป็นกำไรจากการขายแล้ว ผู้ออกหุ้นกู้อนุพันธ์ต้องเรียกเก็บภาษีจากผู้ซื้อหุ้นกู้อนุพันธ์ ณ วันที่ซื้อหุ้นกู้อนุพันธ์ หรือ ณ วันที่ผู้ถือหุ้นกู้อนุพันธ์ได้รับเงินไถ่ถอนเมื่อหุ้นกู้อนุพันธ์หมดอายุ
           4. ถ้าผู้ลงทุนได้รับผลขาดทุนจากการลงทุนในหุ้นกู้อนุพันธ์ ผู้ลงทุนยังต้องมีภาระในการเสียภาษีหรือไม่
แนววินิจฉัย            การลงทุนในหุ้นกู้อนุพันธ์ (ELN0005) มีภาระภาษี ดังนี้
           1. ผู้ลงทุนในหุ้นกู้อนุพันธ์จะได้รับเงินคืนเป็นผลกำไรเมื่อครบกำหนดอายุ เนื่องจากราคาหุ้นอ้างอิงมากกว่าหรือเท่ากับราคาใช้สิทธิ เงินผลกำไรดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นผลประโยชน์ หรือค่าตอบแทนอื่น ๆ ที่ได้จากสิทธิเรียกร้องในหนี้ทุกชนิดไม่ว่าจะมีหลักประกันหรือไม่ก็ตาม ตามมาตรา 40(4)(ก) แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ออกหุ้นกู้อนุพันธ์มีหน้าที่จะต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย จากผู้ลงทุนหรือผู้ถือหุ้นกู้อนุพันธ์ในวันที่ทำการไถ่ถอนหุ้นกู้อนุพันธ์เมื่อครบกำหนดอายุ
           2. ผู้ลงทุนในหุ้นกู้อนุพันธ์ได้รับผลขาดทุนเมื่อครบกำหนดอายุ เนื่องจากราคาหุ้นอ้างอิงน้อยกว่าราคาใช้สิทธิ ผู้ลงทุนที่เป็นบุคคลธรรมดาไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้แต่อย่างใด ส่วนผู้ลงทุน ที่เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลให้คำนวณรายได้และรายจ่ายเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร
เลขตู้ : 72/36334

ขอบคุณบทความจาก ::www.rd.go.th
 347
Visitor
Get started for free today. ทดลองใช้งาน

Create a website for free Online Stores