• Home

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0702/4656 ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม และภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีรายได้จากการโอนสัมปทานปิโตรเลียม ซึ่งไม่อาจกำหนดจำนวนทั้งสิ้นได้แน่นอน

เลขที่หนังสือ กค 0702/4656 ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม และภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีรายได้จากการโอนสัมปทานปิโตรเลียม ซึ่งไม่อาจกำหนดจำนวนทั้งสิ้นได้แน่นอน

  • Home

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0702/4656 ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม และภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีรายได้จากการโอนสัมปทานปิโตรเลียม ซึ่งไม่อาจกำหนดจำนวนทั้งสิ้นได้แน่นอน

เลขที่หนังสือ กค 0702/4656 ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม และภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีรายได้จากการโอนสัมปทานปิโตรเลียม ซึ่งไม่อาจกำหนดจำนวนทั้งสิ้นได้แน่นอน

เลขที่หนังสือ : กค 0702/4656
วันที่ : 5 สิงหาคม 2551
เรื่อง : ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม และภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีรายได้จากการโอนสัมปทานปิโตรเลียม ซึ่งไม่อาจกำหนดจำนวนทั้งสิ้นได้แน่นอน
ข้อกฎหมาย : พรบ.ปิโตรเลียม และมาตรา 77/2 แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อหารือ           บริษัทฯ มีรายได้จากการโอนสัมปทานปิโตรเลียมซึ่งไม่อาจกำหนดจำนวนทั้งสิ้นได้ แน่นอน สรุปข้อเท็จจริงได้ ดังนี้
          1. บริษัทฯ ตั้งขึ้นตามกฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกา และเข้ามาประกอบกิจการ ในประเทศไทย โดยได้รับสัมปทานปิโตรเลียมตามพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ. 2514
          2. ในปี 2546 บริษัทฯ ได้โอนสัมปทานแปลงสำรวจพื้นที่ B9A ตามมาตรา 50 แห่ง พระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 (บริษัทผู้รับโอน) โดยมีข้อกำหนดว่า บริษัทผู้รับโอนจะต้องจ่ายค่าตอบแทนจากการโอนสัมปทานตามอัตราร้อยละของการผลิต ปิโตรเลียมจากแปลงดังกล่าวในอนาคต (Overriding Royalty)
          3. ในปัจจุบัน สัมปทานทั้งหมดที่บริษัทฯ ถืออยู่ ยังไม่มีการผลิต บริษัทฯ จึงยังไม่มี รายได้ที่ต้องเสียภาษีเงินได้ปิโตรเลียม และรอบระยะเวลาบัญชีแรกตามมาตรา 26(1) แห่ง พระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 จึงยังไม่เริ่มขึ้น
          4. บริษัทฯ ได้หารือว่า บริษัทฯ จะมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้ปิโตรเลียม และภาษี มูลค่าเพิ่ม จากค่าตอบแทนการโอนสัมปทานดังกล่าว อย่างไร
แนววินิจฉัย           1. ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม
          เนื่องจากการโอนสัมปทานปิโตรเลียมดังกล่าว บริษัทผู้รับโอนตกลงที่จะจ่ายค่าตอบแทน การโอนตามอัตราร้อยละของการผลิตปิโตรเลียมที่เกิดขึ้นจากแปลงดังกล่าวในอนาคต (Overriding Royalty) ซึ่งไม่อาจกำหนดจำนวนทั้งสิ้นได้แน่นอน ดังนั้น บริษัทฯ จึงมีหน้าที่ ต้องเสียภาษีเงินได้ปิโตรเลียมในอัตราร้อยละ 50 ของเงินได้หลังจากหักมูลค่าต้นทุนตาม มาตรา 33 แห่งพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 โดยบริษัทผู้รับโอน มี หน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ปิโตรเลียม ณ ที่จ่าย ทุกคราวที่จ่ายเงินได้นั้น และต้องยื่นแบบ แสดงรายการหักภาษี ณ ที่จ่าย และนำส่งภาษีดังกล่าวภายใน 7 วัน นับแต่วันจ่ายเงินได้ ทั้งนี้ ตามมาตรา 21 มาตรา 45 และมาตรา 51 แห่งพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ. 2514
          อนึ่ง โดยที่ค่าตอบแทนจากการโอนสัมปทานดังกล่าว ไม่อาจกำหนดจำนวนทั้งสิ้น ได้แน่นอน บริษัทฯ จึงไม่มีหน้าที่ต้องนำค่าตอบแทนนั้น มารวมคำนวณเป็นรายได้ และไม่มี หน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ปิโตรเลียมจากกำไรสุทธิแต่อย่างใด ทั้งนี้ ตาม มาตรา 22 และมาตรา 34 แห่งพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ. 2514
          2. ภาษีมูลค่าเพิ่ม
          เนื่องจากการโอนสัมปทานดังกล่าว เข้าลักษณะเป็นการขายสินค้าที่ไม่มีรูปร่าง ซึ่งอยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 77/2 แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทฯ จึงมี หน้าที่ต้องนำค่าตอบแทนการโอนที่ได้รับ มารวมคำนวณเป็นมูลค่าในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 79 แห่งประมวลรัษฎากร โดยบริษัทฯ มีความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เกิดขึ้น เมื่อได้รับชำระค่าตอบแทนนั้น ตามมาตรา 78/3 แห่งประมวลรัษฎากร และตาม ข้อ 2 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 189 (พ.ศ. 2534) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วย ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มบางกรณี ลงวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2534
เลขตู้ : 71/36070

ขอบคุณบทความจาก ::www.rd.go.th
 561
Visitor
Get started for free today. ทดลองใช้งาน

Create a website for free Online Stores