เลขที่หนังสือ | : กค 0706(กม.06)/687 |
วันที่ | : 8 พฤษภาคม 2551 |
เรื่อง | : กรณีการเช่าอสังหาริมทรัพย์ระหว่างกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ |
ข้อกฎหมาย | : มาตรา 65 และมาตรา 65 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร |
ข้อหารือ | 1. กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ส. มีฐานะเป็นกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ประเภท กอง 1 ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ในการจัดตั้งและจดทะเบียนเป็น กองทุนรวมเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2549 ไม่มีการกำหนดอายุโครงการ บริหารงานโดยบริษัทหลักทรัพย์ จัดการกองทุน น. เพื่อเป็นการระดมเงินลงทุนจากประชาชนและนักลงทุนทั่วไป มีวัตถุประสงค์หลักในการนำเงินที่ได้จากการระดมเงินลงทุนไปซื้อ เช่า และ/หรือเช่าช่วงอสังหาริมทรัพย์ และ จัดหาผลประโยชน์จาก อสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว โดยการให้เช่า ให้เช่าช่วง และ/หรือจำหน่ายอสังหาริมทรัพย์ต่างๆ ที่กองทุนรวมฯ ได้ลงทุนหรือมีไว้ โดยมีธนาคาร ซ. สาขากรุงเทพฯ เป็นผู้ดูแลผลประโยชน์กองทุนรวมฯ และบริษัท หลักทรัพย์ จัดการกองทุน น. เป็นผู้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวมฯ สำหรับระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 22 พฤศจิกายน 2549 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2549 2. กองทุนรวมฯ ได้ทำสัญญาเช่าที่ดิน ทางวิ่งของเครื่องบิน ลานจอดเครื่องบิน อาคารผู้โดยสารปัจจุบัน อาคารผู้โดยสารใหม่สนามบิน จากบริษัท การบิน ก. จำกัด เป็นระยะเวลา 30 ปี เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2549 และกองทุนรวมฯ ได้นำทรัพย์สินที่เช่ามาดังกล่าว ให้บริษัทฯ เช่าช่วง (ผู้ให้เช่าเดิม) เป็นระยะเวลา 30 ปี เมื่อ วันที่ 24 พฤศจิกายน 2549 ปรากฏตามเอกสารรายงานประจำปี 2549 ของกองทุนรวมฯ ตั้งแต่วันที่ 22 พฤศจิกายน 2549 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2549 ประเด็นหารือ ดังนี้ 2.1 กรณีกองทุนรวมฯ ได้ทำสัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์ได้แก่ ที่ดิน ทางวิ่งของเครื่องบิน ลานจอดเครื่องบิน อาคารผู้โดยสารปัจจุบัน อาคารผู้โดยสารใหม่สนามบิน จากบริษัทฯ ซึ่งเป็นผู้ถือหน่วยลงทุน ในกองทุนรวมฯ จะทำได้หรือไม่ |
แนววินิจฉัย | กรณีบริษัทฯ ได้ทำสัญญาให้กองทุนรวมฯ เช่าอสังหาริมทรัพย์ ได้แก่ ที่ดิน ทางวิ่งของเครื่องบิน ลานจอดเครื่องบิน อาคารผู้โดยสารปัจจุบัน อาคารผู้โดยสารใหม่สนามบิน เป็นเวลา 30 ปี เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2549 และกองทุนรวมฯ ได้ทำสัญญาให้บริษัทฯ (ผู้ให้เช่าเดิม) เช่าช่วงเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2549 โดยได้สิทธิการเช่าเป็นเวลา 30 ปี (กองทุนรวมฯ ซึ่งเป็นผู้เช่าได้นำทรัพย์สินที่เช่าดังกล่าว ให้บริษัทฯ เช่าช่วง ซึ่งเป็นผู้ให้เช่าเดิม และเป็นผู้ถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมฯ) แสดงให้เห็นว่า คู่สัญญามิได้มุ่งถึงการ ส่งมอบการครอบครองต่อทรัพย์ที่ให้เช่าโดยแท้จริง และสัญญาดังกล่าว จึงเป็นนิติกรรมที่คู่กรณีทำขึ้นโดยมิได้ มุ่งประสงค์จะผูกนิติสัมพันธ์กันตามสัญญาเช่าโดยแท้จริง บริษัทฯ จึงไม่มีสิทธินำค่าเช่ามาคำนวณเป็นรายได้และ รายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ |
เลขตู้ | : 71/35857 |