• Home

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0702(กม.04)/135 ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการรับรู้รายได้ค่าเช่าแบบลิสซิ่งและการตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สูญหรือหนี้สงสัยจะสูญ

เลขที่หนังสือ กค 0702(กม.04)/135 ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการรับรู้รายได้ค่าเช่าแบบลิสซิ่งและการตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สูญหรือหนี้สงสัยจะสูญ

  • Home

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0702(กม.04)/135 ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการรับรู้รายได้ค่าเช่าแบบลิสซิ่งและการตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สูญหรือหนี้สงสัยจะสูญ

เลขที่หนังสือ กค 0702(กม.04)/135 ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการรับรู้รายได้ค่าเช่าแบบลิสซิ่งและการตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สูญหรือหนี้สงสัยจะสูญ

เลขที่หนังสือ : กค 0702(กม.04)/135
วันที่ : 4 มีนาคม 2551
เรื่อง : ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการรับรู้รายได้ค่าเช่าแบบลิสซิ่งและการตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สูญหรือหนี้สงสัยจะสูญ
ข้อกฎหมาย : มาตรา 65 วรรคสอง มาตรา 65 ทวิ (3) และมาตรา 65 ตรี (1)(ค) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อหารือ           ธนาคาร ก. มีนโยบายจะซื้อหนี้ตามสัญญาให้เช่าแบบลิสซิ่งรถยนต์จากบริษัท ข. โดยการรับโอนสิทธิและ หน้าที่ตามสัญญาให้เช่าแบบลีสซิ่งจากผู้ขาย หากมูลค่าของค่าเช่าทั้งหมดตามสัญญาให้เช่าแบบลีสซิ่งที่ผู้เช่า จะต้องชำระต่อไปอีกจนครบสัญญารวมเป็นจำนวนเงิน 70 ล้านบาท (มูลค่าสิทธิ) ธนาคารฯ จะซื้อหนี้ดังกล่าว ในราคา 68 ล้านบาท (ราคาซื้อ)
          ธนาคารฯ จึงหารือว่า ความเข้าใจของธนาคารฯ ดังต่อไปนี้ ถูกต้องหรือไม่
          1. ประมวลรัษฎากรกำหนดให้สัญญาเช่าแบบลีสซิ่งรับรู้รายได้ในลักษณะของค่าเช่าและมีสิทธิหักค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินที่ให้เช่าได้ ดังนั้น ธนาคารฯ จึงไม่ต้องนำส่วนต่างระหว่างมูลค่าตามสิทธิกับราคาซื้อมาถือเป็นรายได้ของธนาคารฯ เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในรอบระยะเวลาบัญชีที่ธนาคารฯ ซื้อหนี้ดังกล่าว โดยธนาคารฯ จะรับรู้รายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลเมื่อธนาคารฯ ได้รับชำระจากผู้เช่าเป็นงวด ๆ ไป
          2. ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ประกอบธุรกิจให้เช่าซื้อ และให้เช่าแบบลีสซิ่ง ลงวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2547 กำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สูญ หรือหนี้สงสัยจะสูญสำหรับหนี้ตามสัญญาให้เช่าแบบลีสซิ่ง ดังนั้น ธนาคารฯ จึงมีสิทธินำเงินสำรองที่ธนาคารฯ ตั้งไว้สำหรับหนี้ตามสัญญาให้เช่าแบบลีสซิ่งมาหักเป็นรายจ่ายได้ตามมาตรา 65 ตรี (1)(ค) แห่งประมวลรัษฎากร
          3. ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดให้ธนาคารหยุดรับรู้รายได่ และโอนกลับรายได้เมื่อลูกหนี้ผิดนัดชำระติดต่อกันเป็นเวลามากกว่า 3 งวด ดังนั้น ธนาคารฯ จึงสามารถใช้เกณฑ์เงินสดในการรับรู้รายได้ค่าเช่าตามสัญญาให้เช่าแบบลีสซิ่งได้
แนววินิจฉัย           1. กรณีธนาคารฯ ซื้อหนี้ตามสัญญาเช่าแบบลีสซิ่งรถยนต์จากบริษัท น. ตามข้อเท็จจริง ธนาคารฯ ผู้ซื้อ จะต้องนำส่วนต่างระหว่างราคาที่พึงซื้อทรัพย์สินนั้นได้ตามปกติตามมาตรา 65 ทวิ (3) แห่งประมวลรัษฎากร และ ราคาซื้อขายตามสัญญามารวมคำนวณเป็นรายได้ในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีตามส่วนแห่งระยะเวลาการให้เช่า ทรัพย์สินเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร
          2. กรณีธนาคารฯ ประกอบธุรกิจให้เช่าแบบลีสซิ่ง ถือเป็นการให้สินเชื่อประเภทหนึ่ง ดังนั้น ธนาคารฯ จึงสามารถนำเงินสำรองที่กันไว้เป็นค่าเผื่อหนี้สูญหรือหนี้สงสัยจะสูญสำหรับหนี้ตามสัญญาให้เช่าแบบลีสซิ่งตาม หลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด มาถือเป็นรายจ่ายได้ตามมาตรา 65 ตรี (1)(ค) แห่ง ประมวลรัษฎากร
          3. การคำนวณรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งประกอบกิจการธนาคารให้ใช้ เกณฑ์สิทธิตามมาตรา 65 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับข้อ 3.1 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.1/2528ฯ ลงวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2528 ทั้งนี้ กรณีลูกหนี้ของธนาคารฯ ตามสัญญาให้เช่าแบบลีสซิ่ง ผิดนัดชำระค่าเช่าติดต่อกันเวลา 3 เดือนแล้ว ธนาคารฯ จะหยุดรับรู้รายได้และคำนวณค่าเช่าเป็นรายได้ในรอบ ระยะเวลาบัญชีที่ได้รับชำระไม่ได้ เนื่องจากเงินได้ตามสัญญาให้เช่าแบบลีสซิ่งมิใช่ดอกเบี้ยจากการให้สินเชื่อ เนื่องจากการให้กู้ยืมเงินตามข้อ 3.1 ของคำสั่งกรมสรรพากรฉบับดังกล่าว
เลขตู้ : 71/35686

ขอบคุณบทความจาก ::www.rd.go.th
 673
Visitor
Get started for free today. ทดลองใช้งาน

Create a website for free Online Stores