• Home

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0706/พ./10178 ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการส่งออกก๊าซธรรมชาติหรือก๊าซธรรมชาติเหลวจากพื้นที่พัฒนาร่วม ไทย-มาเลเซีย เข้ามาในราชอาณาจักร

เลขที่หนังสือ กค 0706/พ./10178 ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการส่งออกก๊าซธรรมชาติหรือก๊าซธรรมชาติเหลวจากพื้นที่พัฒนาร่วม ไทย-มาเลเซีย เข้ามาในราชอาณาจักร

  • Home

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0706/พ./10178 ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการส่งออกก๊าซธรรมชาติหรือก๊าซธรรมชาติเหลวจากพื้นที่พัฒนาร่วม ไทย-มาเลเซีย เข้ามาในราชอาณาจักร

เลขที่หนังสือ กค 0706/พ./10178 ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการส่งออกก๊าซธรรมชาติหรือก๊าซธรรมชาติเหลวจากพื้นที่พัฒนาร่วม ไทย-มาเลเซีย เข้ามาในราชอาณาจักร

เลขที่หนังสือ : กค 0706/พ./10178
วันที่ : 9 ตุลาคม 2550
เรื่อง : ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการส่งออกก๊าซธรรมชาติหรือก๊าซธรรมชาติเหลวจากพื้นที่พัฒนาร่วม ไทย-มาเลเซีย เข้ามาในราชอาณาจักร
ข้อกฎหมาย : มาตรา 81(1)(น) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อหารือ

          1. รัฐบาลไทยและรัฐบาลมาเลเซียได้ร่วมกันจัดตั้งองค์กรร่วมขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการแสวงประโยชน์จากทรัพยากรใต้พื้นดิน ในบริเวณที่กำหนดของไหล่ทวีปของทั้งสองประเทศในอ่าวไทยตามความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งมาเลเซีย ว่าด้วยธรรมนูญและเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการจัดตั้งองค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย (ความตกลงฯ)

          2. ก๊าซธรรมชาติหรือก๊าซธรรมชาติเหลว ที่ผลิตได้จากพื้นที่พัฒนาร่วมหากมีการนำเข้ามาในราชอาณาจักร จะเข้าลักษณะเป็นของส่งออก ตามข้อ 16 (ข)(4) ของความตกลงฯ และตามมาตรา 37 นว (2) แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2496 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 20) พ.ศ. 2548 ซึ่งกำหนดให้ของที่ผลิตในพื้นที่พัฒนาร่วมที่ส่งเข้ามาในราชอาณาจักรหรือไปยังประเทศมาเลเซียหรือประเทศที่สามให้ถือว่าเป็นของส่งออก ซึ่งจัดเป็นของตามประเภท 8 ภาค 3 แห่งพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2530 แก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดอัตราศุลกากร (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2548 และประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การยกเว้นอากรศุลกากรสำหรับของที่ส่งออกไปจากพื้นที่พัฒนาร่วมตามกฎหมายว่าด้วยองค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย ลงวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2548

          3. ในปัจจุบันผู้ประกอบการได้เริ่มส่งก๊าซธรรมชาติหรือก๊าซธรรมชาติเหลวออกจากพื้นที่พัฒนาร่วมและเนื่องจากเป็นการยกเว้นอากรตามภาค 3 แห่งพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2530 การยกเว้นอากรตาม ประกาศกระทรวงการคลังดังกล่าว จึงไม่ครอบคลุมถึงภาษีมูลค่าเพิ่ม ทำให้เกิดปัญหาในทางข้อกฎหมายว่า การส่งออกก๊าซธรรมชาติหรือก๊าซธรรมชาติเหลวออกจากพื้นที่พัฒนาร่วมจะอยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือไม่ และมีหน้าที่ในการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ประกอบการที่ส่งก๊าซธรรมชาติหรือก๊าซธรรมชาติเหลวออกจากพื้นที่พัฒนาร่วมเข้ามาในราชอาณาจักรหรือไม่ อย่างไร

แนววินิจฉัย

          หากการขายก๊าซธรรมชาติหรือก๊าซธรรมชาติเหลวนั้นผู้ขายส่งมอบก๊าซดังกล่าวให้กับผู้ซื้อ ณ ปากหลุม ซึ่งอยู่ในเขตพื้นที่พัฒนาร่วม การขายก๊าซดังกล่าว เข้าลักษณะเป็นการขายสินค้าที่กระทำในพื้นที่พัฒนาร่วม ซึ่งได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 81(1)(น) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับมาตรา 3(11) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 239) พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 347) พ.ศ. 2542 ดังนั้น การขายก๊าซดังกล่าว จึงไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มแต่อย่างใด

เลขตู้ : 70/35353

ขอบคุณบทความจาก ::www.rd.go.th
 447
Visitor
Get started for free today. ทดลองใช้งาน

Create a website for free Online Stores