• Home

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0706(กม.04)/2529 ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการขายสินค้าและการให้บริการกับผู้ประกอบการที่อยู่ในเขตปลอดอากร

เลขที่หนังสือ กค 0706(กม.04)/2529 ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการขายสินค้าและการให้บริการกับผู้ประกอบการที่อยู่ในเขตปลอดอากร

  • Home

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0706(กม.04)/2529 ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการขายสินค้าและการให้บริการกับผู้ประกอบการที่อยู่ในเขตปลอดอากร

เลขที่หนังสือ กค 0706(กม.04)/2529 ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการขายสินค้าและการให้บริการกับผู้ประกอบการที่อยู่ในเขตปลอดอากร

เลขที่หนังสือ : กค 0706(กม.04)/2529
วันที่ : 10 สิงหาคม 2550
เรื่อง : ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการขายสินค้าและการให้บริการกับผู้ประกอบการที่อยู่ในเขตปลอดอากร
ข้อกฎหมาย : มาตรา 77/1(10) มาตรา 79 มาตรา 80 และมาตรา 80/1(2) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อหารือ         บริษัทฯ ได้หารือเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการขายสินค้าและการให้บริการให้แก่ผู้ประกอบการที่อยู่ในเขตปลอดอากร โดยสรุปข้อเท็จจริงได้ว่า บริษัทฯ เป็นผู้ประกอบการนิคมอุตสาหกรรม และได้จัดตั้ง "เขตปลอดอากร" ในนิคมอุตสาหกรรม ซึ่งได้รับอนุญาตให้เป็นผู้จัดตั้งเขตปลอดอากร ตามพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 18) พ.ศ.2543 เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2546 โดยบริษัทฯ นำที่ดินมาพัฒนาแบ่งขายเป็นแปลงพร้อมจัดให้มีระบบสาธารณูปโภค เช่น ไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์ และบริการอื่น ๆ บริษัทฯ หารือว่า
        1. ผู้ประกอบการในเขตปลอดอากรที่ซื้อสินค้าและบริการ จะได้รับสิทธิชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม ในอัตราร้อยละ 0 หรือไม่ สำหรับค่าน้ำประปา ค่าโทรศัพท์ ค่าบริการสาธารณูปโภค และค่าบริการอื่น ๆ
        2. หากอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับสินค้าและบริการดังกล่าวเป็นอัตราร้อยละ 0 ผู้ขายสินค้าและบริการจะต้องดำเนินการอย่างไรในการเรียกเก็บเงินจากผู้ซื้อที่ประกอบกิจการอยู่ในเขตปลอดอากร โดยจะต้องเรียกเก็บค่าสินค้าและค่าบริการ พร้อมภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7.0 นำส่งกรมสรรพากรไปก่อนหรือไม่ต้องเรียกเก็บเลย เพราะอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นอัตราร้อยละ 0
        3. หากอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม คือ อัตราร้อยละ 0 และผู้ประกอบการที่อยู่ในเขตปลอดอากรได้ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มไปแล้วในอัตราร้อยละ 7.0 จะสามารถขอคืนภาษีจากกรมสรรพากรได้หรือไม่
แนววินิจฉัย         1. การให้บริการโทรศัพท์ บริการสาธารณูปโภค หรือบริการอื่น ๆ แก่ผู้ประกอบการที่อยู่ในเขตปลอดอากร เข้าลักษณะเป็นการให้บริการ ตามมาตรา 77/1(10) แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทฯ มีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7.0 ตามมาตรา 80(2) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งการให้บริการดังกล่าวไม่ได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ตามมาตรา 80/1(2) แห่งประมวลรัษฎากร เนื่องจากไม่เป็นการให้บริการที่กระทำต่อตัวสินค้าและมีการส่งออกสินค้านั้นหรือการให้บริการมิได้ก่อให้เกิดสินค้ามีรูปร่างเพื่อผู้รับบริการในเขตปลอดอากรนำไปใช้ผลิตสินค้าเพื่อส่งออกแต่อย่างใด ทั้งนี้ ตามข้อ 2(4) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 105)ฯ ลงวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ.2543
            2. การขายน้ำประปาให้แก่ผู้ประกอบการที่อยู่ในเขตปลอดอากร ตามข้อเท็จจริง เข้าลักษณะเป็นการขายสินค้า ตามมาตรา 77/1(8) และ (9) แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทฯ มีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7.0 ตามมาตรา 80(2) แห่งประมวลรัษฎากร โดยบริษัทฯ ไม่ได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ตามมาตรา 80/1(1) แห่งประมวลรัษฎากร เนื่องจากการขายน้ำประปาเข้าไปในเขตปลอดอากรดังกล่าว ไม่เข้าลักษณะเป็นการส่งออก ตามมาตรา 77/1(14)(ก) แห่งประมวลรัษฎากร
            3. กรณีบริษัทฯ เรียกเก็บค่าน้ำประปา ค่าโทรศัพท์ ค่าบริการสาธารณูปโภค และค่าบริการอื่น ๆ จากผู้ประกอบการที่อยู่ในเขตปลอดอากร เนื่องจากบริษัทฯ มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7.0 ตามข้อ 1 และข้อ 2 ดังกล่าว จึงไม่มีประเด็นต้องพิจารณาว่า หากบริษัทฯ ได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 สำหรับการขายสินค้าหรือให้บริการดังกล่าว บริษัทฯ จะต้องปฏิบัติอย่างไรในการเรียกเก็บหรือขอคืนภาษี มูลค่าเพิ่ม
เลขตู้ : 70/35229

ขอบคุณบทความจาก ::www.rd.go.th
 381
Visitor
Get started for free today. ทดลองใช้งาน

Create a website for free Online Stores