• Home

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0706(กม.04)/1604 ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการรับรู้รายจ่ายค่านายหน้าซึ่งเกิดจากรายได้เบี้ยประกันภัยรับล่วงหน้า

เลขที่หนังสือ กค 0706(กม.04)/1604 ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการรับรู้รายจ่ายค่านายหน้าซึ่งเกิดจากรายได้เบี้ยประกันภัยรับล่วงหน้า

  • Home

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0706(กม.04)/1604 ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการรับรู้รายจ่ายค่านายหน้าซึ่งเกิดจากรายได้เบี้ยประกันภัยรับล่วงหน้า

เลขที่หนังสือ กค 0706(กม.04)/1604 ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการรับรู้รายจ่ายค่านายหน้าซึ่งเกิดจากรายได้เบี้ยประกันภัยรับล่วงหน้า

เลขที่หนังสือ : 0706(กม.04)/1604
วันที่ : 1 มิถุนายน 2550
เรื่อง : ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการรับรู้รายจ่ายค่านายหน้าซึ่งเกิดจากรายได้เบี้ยประกันภัยรับล่วงหน้า
ข้อกฎหมาย : มาตรา 65 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อหารือ :        บริษัทฯ ซึ่งประกอบกิจการประกันวินาศภัย ปรากฏว่า บริษัทฯ ได้ออกกรมธรรม์ประกันภัย อายุความคุ้มครองเกินกว่า 1 ปี และเรียกเก็บค่าเบี้ยประกันภัยรับล่วงหน้าชำระครั้งเดียว แต่มีผลคุ้มครองไปตลอดอายุกรมธรรม์ บริษัทฯ ได้บันทึกรับรู้รายได้ในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลโดยวิธีเฉลี่ยค่าเบี้ยประกันภัยตามอายุความคุ้มครองเป็นรายปี ซึ่งระบุไว้ในตารางการคำนวณเบี้ยประกันภัยในกรมธรรม์ประกันภัย ส่วนการบันทึกรับรู้รายจ่ายค่านายหน้า ค่าจ้าง และค่าบำเหน็จที่เกี่ยวกับกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าว บริษัทฯ ได้บันทึกรับรู้รายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลทั้งจำนวนในปีที่ได้รับชำระค่าเบี้ยประกันภัย บริษัทฯ จึงหารือว่าการบันทึกรับรู้รายจ่ายดังกล่าวถูกต้องหรือไม่
แนววินิจฉัย :        กรณีบริษัทฯ ซึ่งประกอบกิจการประกันวินาศภัยได้ออกกรมธรรม์ประกันภัย อายุความคุ้มครองเกินกว่า 1 ปี โดยเรียกเก็บค่าเบี้ยประกันภัยรับล่วงหน้าชำระครั้งเดียวแต่มีผลคุ้มครองไปตลอดอายุกรมธรรม์ เมื่อบริษัทฯ บันทึกรับรู้รายได้ในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล โดยวิธีเฉลี่ยค่าเบี้ยประกันภัยตามอายุความคุ้มครองเป็นรายปี การบันทึกรับรู้รายจ่ายที่เกี่ยวข้องของบริษัทฯ ให้ปฏิบัติตามมาตรา 65 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งกำหนดว่า การคำนวณรายได้และรายจ่ายให้ใช้เกณฑ์สิทธิ์ แต่ในทางปฏิบัติได้มีการนำวิธีการทางบัญชีที่รับรองโดยทั่วไปมาใช้ด้วย ซึ่งวิธีการทางบัญชีที่รับรองโดยทั่วไปในกรณีนี้จะบันทึกรับรู้รายจ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งจำนวนในปีที่ได้รับชำระค่าเบี้ยประกันภัย หรือเฉลี่ยรายจ่ายตามส่วนของรายได้เป็นรายปีตามหลักการจับคู่รายจ่ายกับรายได้ ก็ได้
เลขตู้ : 70/34977

ขอบคุณบทความจาก ::www.rd.go.th
 335
Visitor
Get started for free today. ทดลองใช้งาน

Create a website for free Online Stores