• Home

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0706/4671 ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ภาษีมูลค่าเพิ่ม และอากรแสตมป์ กรณีการขายและส่งมอบสินค้าทางท่อ

เลขที่หนังสือ กค 0706/4671 ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ภาษีมูลค่าเพิ่ม และอากรแสตมป์ กรณีการขายและส่งมอบสินค้าทางท่อ

  • Home

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0706/4671 ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ภาษีมูลค่าเพิ่ม และอากรแสตมป์ กรณีการขายและส่งมอบสินค้าทางท่อ

เลขที่หนังสือ กค 0706/4671 ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ภาษีมูลค่าเพิ่ม และอากรแสตมป์ กรณีการขายและส่งมอบสินค้าทางท่อ

เลขที่หนังสือ : กค 0706/4064
วันที่ : 18 เมษายน 2550
เรื่อง : ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีการหักค่าลดหย่อนเงินบริจาค
ข้อกฎหมาย : มาตรา 105 ทวิ มาตรา 47(7)(ข) และมาตรา 65 ตรี (3) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อหารือ :         วัด ก. ได้รับประกาศตั้งเป็นวัดขึ้นใน พระพุทธศาสนา ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับลงวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2542 จึงขอทราบว่า
        1. วัด ก. เป็นองค์การหรือสถานสาธารณกุศลตามประมวลรัษฎากร หรือไม่ และวัด ก. สามารถรับโอนครุภัณฑ์ ยานพาหนะ จากหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ ได้ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุหรือไม่
        2. บุคคลธรรมดา บริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ร่วมทำบุญสมทบทุนสามารถนำใบอนุโมทนาบัตรที่วัด ก. ออกให้เป็นหลักฐานในการหักลดหย่อนในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือเงินได้นิติบุคคล ได้หรือไม่
        3. วัด ก. ขอรูปแบบตัวอย่างใบอนุโมทนาบัตรที่ถูกต้องตามประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาประกาศกำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา 47 (7) (ข)แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา 3 (4) (ข) แห่งพระราชกฤษีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 239) พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 254) พ.ศ. 2535 ลงวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2535
แนววินิจฉัย :         1. กรณีตาม 1. วัด ก. ถือเป็นองค์การหรือสถานสาธารณกุศลซึ่งกรมสรรพากรได้มีหนังสือ แจ้งให้วัด ก. ทราบไปแล้ว ส่วนกรณีการโอนทรัพย์สินดังกล่าว หากระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุกำหนดให้หน่วยงานดังกล่าวมีสิทธิโอน วัด ก. ก็สามารถรับโอนได้
        2. กรณีตาม 2. การบริจาคเงินหรือทรัพย์สิน ให้แก่วัด ก. ถือเป็นการบริจาคให้แก่วัดวาอาราม ตามข้อ 2 ของประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 2) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และ สถานศึกษาตามมาตรา 47(7)(ข)แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา 3 (4) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 239) พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 254) พ.ศ. 2535 ลงวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2535 ดังนั้น ผู้บริจาคมีสิทธินำเงินบริจาคไปหักเป็นค่าลดหย่อนในการคำนวณเงินได้ ดังนี้
            (1) บุคคลธรรมดาบริจาคเงินให้แก่วัด ก. ผู้บริจาคมีสิทธินำเงินบริจาคไปหักเป็นค่าลดหย่อนในการคำนวณเงินได้สุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามมาตรา 47(7)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร
            (2) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลบริจาคเงินหรือทรัพย์สินให้แก่วัด ก. มีสิทธินำเงินหรือทรัพย์สินที่บริจาคในส่วนที่ไม่เกินร้อยละ 2 ของกำไรสุทธิ มาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามมาตรา 65 ตรี (3) แห่งประมวลรัษฎากร
        3. กรณีตาม 3 ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่มฯ ลงวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2535 มิได้มีการกำหนดตัวอย่างรูปแบบของใบอนุโมทนาบัตรไว้แต่อย่างไรก็ตามควรต้องมีข้อความอย่างน้อยดังต่อไปนี้
            (1) เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ออกใบรับ
            (2) ชื่อหรือยี่ห้อของผู้ออกใบรับ
            (3) เลขลำดับของเล่มและของใบรับ
            (4) วัน เดือน ปีที่ออกใบรับ
            (5) จำนวนเงินที่รับ
        ทั้งนี้ ตามมาตรา 105 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร
เลขตู้ : 70/34852

ขอบคุณบทความจาก ::www.rd.go.th
 388
Visitor
Get started for free today. ทดลองใช้งาน

Create a website for free Online Stores