• Home

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0706/2766 ภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย กรณีสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติสละสิทธิไม่รับเงินประจำตำแหน่ง และเงินเพิ่ม

เลขที่หนังสือ กค 0706/2766 ภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย กรณีสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติสละสิทธิไม่รับเงินประจำตำแหน่ง และเงินเพิ่ม

  • Home

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0706/2766 ภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย กรณีสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติสละสิทธิไม่รับเงินประจำตำแหน่ง และเงินเพิ่ม

เลขที่หนังสือ กค 0706/2766 ภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย กรณีสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติสละสิทธิไม่รับเงินประจำตำแหน่ง และเงินเพิ่ม

เลขที่หนังสือ : กค 0706/2766
วันที่ : 9 มีนาคม 2550
เรื่อง : ภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย กรณีสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติสละสิทธิไม่รับเงินประจำตำแหน่ง และเงินเพิ่ม
ข้อกฎหมาย : มาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อหารือ :         สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ได้รับการแต่งตั้งตามมาตรา 5 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 โดยมีสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาปฏิบัติหน้าที่สำนักงานเลขาธิการ-สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ทำหน้าที่ในการเบิกจ่ายเงินประจำตำแหน่ง และเงินเพิ่มให้แก่สมาชิกสภานิติ-บัญญัติแห่งชาติ และมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย จากเงินได้ดังกล่าว เนื่องจาก สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติบางคนได้ทำหนังสือแสดงเจตนาสละสิทธิ ไม่รับเงินประจำตำแหน่ง และเงินเพิ่ม ในการดำรงตำแหน่ง ซึ่งสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาจะงดเบิกเงินประจำตำแหน่ง และเงินเพิ่ม โดยวางฎีกาเบิกเงินงบประมาณหักรายที่แสดงเจตนาสละสิทธิ จึงขอทราบว่า กรณีสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติผู้แสดงเจตนาไม่รับเงินประจำตำแหน่ง และเงินเพิ่ม จะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามมาตรา 40(2) แห่งประมวลรัษฎากร หรือไม่ อย่างไร
แนววินิจฉัย :         สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติบางรายแสดงเจตนาสละสิทธิไม่รับเงินประจำตำแหน่งและเงินเพิ่ม ในการดำรงตำแหน่งดังกล่าว สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาซึ่งปฏิบัติหน้าที่สำนักงานเลขาธิการสภานิติ-บัญญัติแห่งชาติ จะงดจ่ายเงินสำหรับสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติรายที่แสดงเจตนาสละสิทธิ โดยจะไม่วางฎีกาเบิกเงินงบประมาณสำหรับสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติรายที่แสดงเจตนาสละสิทธิ ดังนั้น หากส่วนราชการผู้เบิกเงินไม่ได้วางฎีกาเบิกเงินงบประมาณดังกล่าว ถือว่าผู้ที่สละสิทธินั้นไม่ได้รับเงินได้จริงเนื่องจากเงินได้ที่จะนำมาคำนวณภาษีจะต้องเป็นเงินได้ที่ได้รับมาแล้ว ไม่ใช่เป็นแต่เพียงสิทธิเรียกร้องที่จะได้รับในภายภาคหน้า กรณีจึงไม่เข้าลักษณะเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร ที่จะต้องนำไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแต่ประการใด
เลขตู้ :70/34817

ขอบคุณบทความจาก ::www.rd.go.th
 307
Visitor
Get started for free today. ทดลองใช้งาน

Create a website for free Online Stores