• Home

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0706/พ.12 ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการให้บริการนำเข้าและส่งออกสินค้าผ่านประเทศไทยให้แก่ผู้ประกอบ กิจการในประเทศกัมพูชา

เลขที่หนังสือ กค 0706/พ.12 ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการให้บริการนำเข้าและส่งออกสินค้าผ่านประเทศไทยให้แก่ผู้ประกอบ กิจการในประเทศกัมพูชา

  • Home

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0706/พ.12 ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการให้บริการนำเข้าและส่งออกสินค้าผ่านประเทศไทยให้แก่ผู้ประกอบ กิจการในประเทศกัมพูชา

เลขที่หนังสือ กค 0706/พ.12 ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการให้บริการนำเข้าและส่งออกสินค้าผ่านประเทศไทยให้แก่ผู้ประกอบ กิจการในประเทศกัมพูชา

เลขที่หนังสือ : กค 0706/พ.12
วันที่ : 4 มกราคม 2550
เรื่อง : ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการให้บริการนำเข้าและส่งออกสินค้าผ่านประเทศไทยให้แก่ผู้ประกอบ กิจการในประเทศกัมพูชา
ข้อกฎหมาย : มาตรา 65 มาตรา 77/1(10) มาตรา 77/1(14) และมาตรา 82/5 แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อหารือ :           บริษัท ก. ประกอบกิจการโดยเป็นตัวกลางส่งผ่านสินค้าจากท่าเรือในประเทศไทยผ่านชายแดนไปยังต่างประเทศ โดยบริษัทฯ ได้ดำเนินธุรกิจกับ บริษัท A ซึ่งเป็นนิติบุคคลประกอบกิจการในประเทศกัมพูชา A ได้มอบอำนาจให้บริษัทฯ เป็นตัวกลางนำเข้าและส่งออกสินค้าให้กับ A โดยสรุปขั้นตอนการดำเนินงานได้ดังนี้
          1. การส่งออกสินค้านั้นจะทำการขนส่งสินค้าจากประเทศกัมพูชาผ่านชายแดนประเทศไทย ณ ด่านศุลกากรคลองใหญ่ จังหวัดตราด และส่งสินค้าจากท่าเรือแหลมฉบังไปยังบริษัท B ที่ประเทศญี่ปุ่น ส่วนกรณีนำเข้าจะนำเข้าสินค้าจากประเทศญี่ปุ่น มาทางท่าเรือแหลมฉบัง แล้วนำสินค้าผ่านชายแดนประเทศไทย ณ ด่านศุลกากร คลองใหญ่ จังหวัดตราด เข้าไปยังประเทศกัมพูชา
          2. บริษัทฯ ได้คิดค่าบริการในการจัดการดังกล่าวเป็นเงิน 40,000 บาท ต่อ 1 ตู้ 40 ฟุต คอนเทนเนอร์ ซึ่งรวมค่าใช้จ่าย ค่าขนส่ง ชิปปิ้ง ค่าเอกสารในการดำเนินงานต่าง ๆ แต่ไม่รวมค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการเช่าตู้คอนเทนเนอร์ ค่าเสียหายที่เกิดจากการใช้ตู้คอนเทนเนอร์ ค่าภาษีอากรขาเข้า แต่หากมีค่าใช้จ่ายดังกล่าวเกิดขึ้น บริษัทผู้ให้เช่าตู้จะเรียกเก็บเงินจากบริษัทฯ และออกใบเสร็จรับเงินในนามของบริษัทฯ และบริษัทฯ จะเรียกเก็บค่าใช้จ่ายดังกล่าวเป็นยอดเงินเดียวกัน โดยออกหลักฐานเป็นใบกำกับภาษีให้ A และจะมีตัวแทนชาวกัมพูชาที่พำนักอยู่ในประเทศไทยเป็นผู้จ่ายเงินให้กับบริษัทฯ
          3. บริษัทฯ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการซื้อขายและรับจ่ายเงินค่าสินค้าที่นำเข้าและส่งออกดังกล่าวแต่อย่างใด ทาง A ประเทศกัมพูชา จะเป็นผู้ทำการติดต่อซื้อขาย รับจ่ายเงินค่าสินค้า และจัดทำเอกสารต้นฉบับการซื้อขายส่งให้กับบริษัท B ในประเทศญี่ปุ่นโดยตรง และ A จะจัดส่งสำเนาเอกสารโดยทางโทรสารให้กับบริษัทฯ เพื่อดำเนินพิธีการศุลกากรในประเทศไทย
          4. ขั้นตอนการดำเนินงานมีดังนี้
          
          4.1 กรณีส่งออกสินค้า บริษัทฯ ได้รับสำเนาเอกสารทางโทรสารจาก A ให้นำเข้าสินค้าจากประเทศกัมพูชาผ่านชายแดนประเทศไทยด้านจังหวัดตราด และส่งสินค้าออกจากท่าเรือแหลมฉบังไปยังบริษัท B ในประเทศญี่ปุ่น แต่เนื่องจากด่านศุลกากรคลองใหญ่ไม่มีคลังสินค้าทัณฑ์บน บริษัทฯ จึงต้องเสียภาษีอากรขาเข้าและภาษีมูลค่าเพิ่มก่อน และสามารถขอคืนภาษีอากรได้หลังจากส่งสินค้าออกไปยังประเทศผู้รับปลายทาง
          
          บริษัทฯ มีรายได้จากการให้บริการขนส่งสินค้าออกดังกล่าวเป็นเงิน 40,000 บาท โดยได้รับเป็นเงินสดในประเทศไทย และบริษัทฯ ได้ออกหลักฐานใบกำกับภาษี ไม่มีภาษีมูลค่าเพิ่ม บริษัทฯ ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม ในช่องยอดขายที่เสียภาษีในอัตราร้อยละ 0 เป็นจำนวนเงิน 40,000 บาท และบริษัทฯ มิได้นำยอดเงินในใบขนส่งสินค้าขาออกมาแสดงเป็นรายได้ในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 เนื่องจากบริษัทฯ มิได้มีส่วนเกี่ยวข้องในการซื้อขายและรับจ่ายเงินค่าสินค้าแต่อย่างใด ส่วนภาษีมูลค่าเพิ่มที่เสียจากการนำเข้าสินค้า บริษัทฯ ได้นำมาลงรายงานภาษีซื้อเพื่อขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม
          
          4.2 กรณีนำเข้าสินค้า บริษัทฯ ได้รับสำเนาเอกสารทางโทรสารจาก A ให้นำเข้าสินค้าจากประเทศญี่ปุ่น โดยเข้ามาทางท่าเรือแหลมฉบัง และส่งสินค้าออกโดยผ่านแดนประเทศไทยไปยังประเทศกัมพูชา การทำพิธีการศุลกากรที่ท่าเรือแหลมฉบังนี้ ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีอากรขาเข้า เนื่องจากนำสินค้าเข้าคลังสินค้าทัณฑ์บน เพื่อเปิดตรวจและปิดซีลโดยเจ้าหน้าที่ศุลกากร ในการเปิดตรวจสินค้าฯ นี้ เจ้าหน้าที่ได้ให้ชิปปิ้งของบริษัทฯ แก้ไขราคาใน Invoice ใหม่ โดยให้เพิ่มราคาสินค้าสูงขึ้น ซึ่งทำให้ราคาสินค้า ไม่ตรงกับ Invoice ที่ได้รับจาก A หลังจากตรวจเรียบร้อยแล้ว บริษัทฯ ได้นำตู้สินค้าออกจากคลังสินค้าทัณฑ์บนในวันเดียวกัน เพื่อขนส่งสินค้าออกโดยผ่านด่านศุลกากรคลองใหญ่ จังหวัดตราด ผ่านชายแดนประเทศไทย ไปยังโรงงานของ A ประเทศกัมพูชา
          
          จากการนำเข้าสินค้าเศษยางดังกล่าวนั้น บริษัทฯ ได้นำรายได้จากการให้บริการขนส่งสินค้าผ่านแดนฯ เป็นเงิน 40,000 บาท ซึ่งออกหลักฐานใบกำกับภาษีมายื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 แต่ไม่มีภาษีซื้อเนื่องจากนำสินค้าเข้าคลังสินค้าทัณฑ์บนที่ด่านศุลกากรแหลมฉบังจึงขอทราบว่า
          1. รายได้จากการให้บริการขนส่งสินค้าผ่านแดนทั้งกรณีนำเข้าและส่งออกสินค้าให้กับ A บริษัทฯ คิดค่าบริการตู้ละ 40,000 บาท โดยบริษัทฯ ได้รับเงินในประเทศไทย ถือว่าบริษัทฯ มีรายได้ที่ต้องยื่นเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 หรือในอัตราร้อยละ 7.0
          2. กรณีการส่งออกสินค้าตาม 4.1 นั้น บริษัทฯ มิได้มีรายได้จากการซื้อขายสินค้า แต่บริษัทฯ เป็นผู้ให้บริการขนส่งสินค้าเข้าและออกให้กับ A บริษัทฯ จะต้องนำยอดเงินในใบขนสินค้าขาออกมาแสดงเป็นรายได้ในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 หรือไม่ และการที่บริษัทฯ ได้เสียภาษีมูลค่าเพิ่มจากสินค้าฯ ที่บริษัทฯ เป็นผู้ให้บริการนำเข้าเพื่อส่งออก บริษัทฯ จะนำภาษีมูลค่าเพิ่มที่ชำระมาลงเป็นภาษีซื้อเพื่อขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มได้หรือไม่
แนววินิจฉัย :
          1. กรณีตาม 1. รายได้จากการให้บริการเป็นตัวกลางขนส่งสินค้าผ่านแดนทั้งนำเข้าและส่งออกดำเนินการพิธีการศุลกากรในนามของบริษัทฯ จัดการด้านชิปปิ้ง จัดการด้านเอกสารต่าง ๆ การให้บริการดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นการให้บริการในราชอาณาจักรตามมาตรา 77/1(10) และมาตรา 77/2 แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทฯ จึงมีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7.0 ตามมาตรา 80 แห่งประมวลรัษฎากร
          ส่วนการที่บริษัทฯ ออกเงินทดรองจ่ายแทน A ข้างต้น เช่น ค่าเช่าตู้คอนเทนเนอร์ค่าอากรขาเข้า และจะเรียกเก็บเงินดังกล่าวคืนในภายหลัง บริษัทฯ ไม่มีสิทธินำภาษีมูลค่าเพิ่มตามใบกำกับภาษีที่เกิดรายจ่ายต่าง ๆ ที่ทดรองจ่ายมาถือเป็นภาษีซื้อในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร เนื่องจากไม่ใช่ภาษีซื้อที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับกิจการ ต้องห้ามตามมาตรา 82/5(3) แห่งประมวลรัษฎากร และการที่บริษัทฯ เรียกเงินทดรองจ่ายคืนจาก A มิใช่กรณีการขายสินค้าหรือการให้บริการโดยผู้ประกอบการตามมาตรา 77/2 แห่งประมวลรัษฎากร ดังนั้น บริษัทฯ จึงไม่มีสิทธิออกใบกำกับภาษีตามมาตรา 86 แห่งประมวลรัษฎากร
          2. กรณีตาม 2. บริษัทฯ ประกอบกิจการเป็นตัวกลางในการส่งออกและนำเข้าให้กับ A โดยกรรมสิทธิ์ของสินค้าดังกล่าวเป็นของ A จะส่งออกสินค้าให้กับลูกค้าของ A โดยยื่นใบขนสินค้าออกในนามของบริษัทฯ ซึ่งบริษัทฯ ไม่มีรายได้จากการส่งสินค้าออกไปขายดังกล่าว แต่มีรายได้จากค่าบริการส่งออกและนำเข้าสินค้าเท่านั้น บริษัทฯ จะมีภาระภาษีดังนี้
          
          2.1
          กรณีการส่งออกสินค้า บริษัทฯ จะต้องนำเข้าสินค้าจาก A ในประเทศกัมพูชา โดยเป็นผู้ดำเนินพิธีการศุลกากร และยื่นใบขนสินค้าขาเข้าในนามบริษัทฯ จึงถือเป็นผู้นำเข้าตามมาตรา 77/1(11) แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7.0 และถือเป็นภาษีซื้อนำมาหักออกจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มของบริษัทฯ ได้ตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร และนำสินค้าดังกล่าวส่งออกไปประเทศญี่ปุ่น โดยบริษัทฯ เป็นผู้ดำเนินพิธีการศุลกากรและยื่นใบขนสินค้าขาออกในนามของบริษัทฯ จึงถือเป็นผู้ส่งออกตามมาตรา 77/1(14) แห่งประมวลรัษฎากร จึงได้รับสิทธิในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ตามมาตรา 80/1(1) แห่งประมวลรัษฎากร
          
          2.2
          กรณีที่บริษัทฯ เป็นตัวกลางส่งผ่านสินค้าเพื่อนำเข้าและส่งออกสินค้าโดยผ่านประเทศไทยให้กับ A ไปยังต่างประเทศนั้น บริษัทฯ มิได้มีส่วนเกี่ยวข้องในการติดต่อซื้อขายและรับจ่ายเงินค่าสินค้าที่นำเข้าและส่งออกแต่อย่างใด บริษัทฯ ไม่มีรายได้จากการนำเข้าและส่งออกออกไปต่างประเทศดังกล่าว แต่มีเพียงรายได้จากค่าบริการในการเป็นตัวกลางส่งผ่านสินค้าเพื่อนำเข้าและส่งออกสินค้าโดยผ่านประเทศไทยให้กับ A เท่านั้น ดังนั้น การนำเข้าและส่งออกสินค้าให้กับ A จึงมิใช่รายได้จากการประกอบกิจการหรือเนื่องจากการประกอบกิจการ บริษัทฯ จึงไม่ต้องนำมูลค่าของสินค้าที่นำเข้าและส่งออกมารวมเป็นรายได้ในการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร
เลขตู้ : 70/34707

ขอบคุณบทความจาก ::www.rd.go.th
 2736
Visitor
Get started for free today. ทดลองใช้งาน

Create a website for free Online Stores