• Home

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0706(กม.08)/54 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีการซื้อขายหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) และกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF)

เลขที่หนังสือ กค 0706(กม.08)/54 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีการซื้อขายหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) และกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF)

  • Home

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0706(กม.08)/54 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีการซื้อขายหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) และกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF)

เลขที่หนังสือ กค 0706(กม.08)/54 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีการซื้อขายหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) และกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF)

เลขที่หนังสือ : กค 0706(กม.08)/54
วันที่ : 11 มกราคม 2550
เรื่อง : ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีการซื้อขายหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) และกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF)
ข้อกฎหมาย : มาตรา 40(1)-(8) มาตรา 57 เบญจ มาตรา 57 ตรี และมาตรา 42(17) แห่งประมวล รัษฎากร
ข้อหารือ :           การซื้อหน่วยลงทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) หรือกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) สำหรับกรณีสามีและภริยาอยู่ร่วมกันตลอดปีภาษี สามีและภริยามีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) ถึง (8) แห่งประมวลรัษฎากร หลักเกณฑ์การคำนวณค่าซื้อหน่วยลงทุน RMF หรือ LTF ที่จะได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีภริยามีเงินได้ตามมาตรา 40(2) ถึง (8) แห่งประมวลรัษฎากร ที่จะต้องนำไปคำนวณกับสามี มีหลักเกณฑ์การคำนวณอย่างไร
แนววินิจฉัย :
          กรณีสามีและภริยามีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) ถึง (8) แห่งประมวลรัษฎากร และนำเงินได้ไปซื้อหน่วยลงทุน RMF หรือ LTF หากภริยาประสงค์จะแยกยื่นรายการและเสียภาษีต่างหากจากสามีเฉพาะส่วนที่เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากร โดยมิให้ถือเป็นเงินได้ของสามีตามมาตรา 57 เบญจ แห่งประมวลรัษฎากร เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(2) ถึง (8) แห่งประมวลรัษฎากร ของภริยาจะต้องนำมาถือเป็นเงินได้พึงประเมินของสามีตามมาตรา 57 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร และในการคำนวณหักเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้จากการซื้อหน่วยลงทุน RMF หรือ LTF กฎหมายให้สิทธิผู้มีเงินได้นำค่าซื้อหน่วยลงทุน RMF หรือ LTF มาหักในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ดังนั้น เงินค่าซื้อหน่วยลงทุน RMF หรือ LTF ของภริยาตามส่วนเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(2) ถึง (8) แห่งประมวลรัษฎากร จึงได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามสัดส่วนของเงินได้พึงประเมิน และสามีมีสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้โดยนำเงินค่าซื้อหน่วยลงทุน RMF หรือ LTF ของภริยาตามส่วนเงินได้พึงประเมินดังกล่าวมาหักในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามมาตรา 42(17) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับข้อ 2(55) และ (66) ของกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ฯ และประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 90) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ และการถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ลงวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2544 และประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 133) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว ลงวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2547
เลขตู้ : 70/34722

ขอบคุณบทความจาก ::www.rd.go.th
 471
Visitor
Get started for free today. ทดลองใช้งาน

Create a website for free Online Stores