• Home

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0706/9237 ภาษีเงินได้นิติบุคคล และ ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการเรียกเงินประกันความเสียหาย

เลขที่หนังสือ กค 0706/9237 ภาษีเงินได้นิติบุคคล และ ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการเรียกเงินประกันความเสียหาย

  • Home

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0706/9237 ภาษีเงินได้นิติบุคคล และ ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการเรียกเงินประกันความเสียหาย

เลขที่หนังสือ กค 0706/9237 ภาษีเงินได้นิติบุคคล และ ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการเรียกเงินประกันความเสียหาย

เลขที่หนังสือ : กค 0706/9237
วันที่ : 8 พฤศจิกายน 2549
เรื่อง : ภาษีเงินได้นิติบุคคล และ ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการเรียกเงินประกันความเสียหาย
ข้อกฎหมาย : มาตรา 65 มาตรา 77/1(8) มาตรา 79 มาตรา 80 และมาตรา 82/4 แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อหารือ :      บริษัทฯ ประกอบกิจการจำหน่ายอุปกรณ์รับชมทีวี โดยมีเงื่อนไข ดังนี้
      1. ผู้จองอุปกรณ์รับชมทีวีมีสิทธินำอุปกรณ์รับชมทีวีไปทดลองรับชมฟรีเป็นระยะเวลา 1 ปี นับแต่วันที่เปิดสัญญาณรับชมรายการ โดยผู้จองฯ ต้องวางเงินประกันความเสียหายของอุปกรณ์
      2. ผู้จองฯ มีสิทธิรับชมรายการทีวีในระหว่างการทดลองรับชมทีวีตามจำนวนที่กำหนด
      3. กรณีผู้จองฯ มีเสาอากาศ MMDS ซึ่งเป็นอุปกรณ์รับชมทีวีเดิมและสามารถรับชมรายการทีวีได้อยู่แล้ว แต่ต้องการให้บริษัทฯ ย้ายเสาอากาศหรือมีการติดตั้งใหม่ ผู้จองฯ จะต้องจ่ายค่าย้ายหรือการติดตั้งแยกต่างหาก
      4. กรณีผู้จองฯ ไม่มีเสาอากาศ MMDS ผู้จองฯ จะเป็นผู้ซื้อเสาอากาศดังกล่าวจากร้านจำหน่ายทั่ว ๆ ไปและให้บริษัทฯ ติดตั้ง ผู้จองฯ ต้องจ่ายค่าติดตั้งแยกต่างหาก
      5. กรณีผู้จองฯ คืนอุปกรณ์รับชมทีวีก่อนครบระยะเวลา 1 ปี ผู้จองฯ จะต้องถูกหักเงิน 1,900 บาท จากเงินประกัน 5,900 บาท เพื่อเป็นค่าเสื่อมราคาอุปกรณ์และค่าบริการอื่น
      6. กรณีครบระยะเวลา 1 ปี นับแต่วันที่ทดลองรับชม ผู้จองฯ ไม่มีสิทธิคืนอุปกรณ์รับชมและบริษัทฯ จะไม่คืนเงินประกัน 5,900 บาท
      7. กรณีครบระยะเวลา 1 ปี แล้ว ผู้จองฯ ต้องจ่ายค่าลิขสิทธิ์ในรายการทีวี เดือนละ 300 บาท โดยมีสิทธิรับชมรายการทีวี จำนวน 16 ช่อง หากผู้จองฯ ไม่ได้จ่ายค่าลิขสิทธิ์ในรายการทีวี ผู้จองฯมีสิทธิรับชมรายการทีวี จำนวน 8 ช่อง
      บริษัทฯ มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับเงินประกันความเสียหายดังกล่าวหรือไม่ โดยต้องรับรู้รายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีใด
แนววินิจฉัย :       กรณีเงินประกันความเสียหายที่บริษัทฯ ได้รับจากลูกค้าเนื่องจากการจำหน่ายอุปกรณ์รับชมทีวีตามข้อเท็จจริง บริษัทฯ ต้องรับรู้รายได้ตามเกณฑ์สิทธิ โดยต้องนำมารวมคำนวณเป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีที่บริษัทฯ ได้รับ หากบริษัทฯ มีการคืนเงินประกันความเสียหายจากการจำหน่ายอุปกรณ์รับชมทีวี บริษัทฯ มีสิทธินำเงินประกันความเสียหายตามจำนวนที่ได้จ่ายคืนมาถือเป็นรายจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีที่บริษัทฯ ได้จ่าย ตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร
      กรณีบริษัทฯ เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มมอบอุปกรณ์รับชมทีวีให้ลูกค้าผู้จองฯ ได้ทดลองใช้งานก่อนซื้อ เมื่อลูกค้าผู้จองฯ พอใจสินค้าดังกล่าว จึงตกลงซื้อขายสินค้าตัวที่มอบนั้น ถือได้ว่าเป็นการขายตามคำนิยามใน มาตรา 77/1(8) แห่งประมวลรัษฎากร ตั้งแต่วันที่มอบสินค้าให้ลูกค้าทดลองใช้ บริษัทฯ ต้องนำเงินประกันความเสียหายซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของราคาสินค้ามารวมคำนวณเป็นมูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 79 แห่งประมวลรัษฎากร และมีหน้าที่เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากลูกค้าในอัตราร้อยละ 7.0 ตามมาตรา 80 และมาตรา 82/4 แห่งประมวลรัษฎากร
เลขตู้ : 69/34632


ขอบคุณบทความจาก ::www.rd.go.th
 384
Visitor
Get started for free today. ทดลองใช้งาน

Create a website for free Online Stores