• Home

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0706/5706 ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีรับจ้างผลิตอะไหล่ลูกกลิ้งยาง

เลขที่หนังสือ กค 0706/5706 ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีรับจ้างผลิตอะไหล่ลูกกลิ้งยาง

  • Home

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0706/5706 ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีรับจ้างผลิตอะไหล่ลูกกลิ้งยาง

เลขที่หนังสือ กค 0706/5706 ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีรับจ้างผลิตอะไหล่ลูกกลิ้งยาง

เลขที่หนังสือ : กค 0706/5706
วันที่ :5 กรกฎาคม 2549
เรื่อง :ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีรับจ้างผลิตอะไหล่ลูกกลิงก์ยาง
ข้อกฎหมาย :มาตรา 77/1(10) มาตรา 78/1 และมาตรา 86/10 แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อหารือ :              ห้างหุ้นส่วนจำกัด บ. ประกอบกิจการรับจ้างผลิตอะไหล่ลูกกลิงก์ยาง และวัสดุอุปกรณ์เครื่องจักรที่ใช้ในอุตสาหกรรมทุกชนิด เพื่อทดแทนของเดิมที่ชำรุด รวมถึงการให้บริการซ่อมวัสดุอุปกรณ์อะไหล่ โดยผลิตตามคำสั่งของบริษัทผู้ว่าจ้าง และบริษัท ผู้ว่าจ้างจะเป็นผู้กำหนดขนาด รูปแบบ ชนิด และความแข็งแรง ตลอดจนสีที่ต้องการ ห้างฯ จะเป็นผู้จัดหาวัตถุดิบ รวมทั้งวัสดุต่าง ๆ และนำไปบันทึกเป็นต้นทุนการผลิตของห้างฯ ซึ่งห้างฯ จะออกใบแจ้งหนี้และเรียกเก็บเงินค่ารับจ้างจากบริษัทผู้ว่าจ้าง โดยมีขั้นตอนการดำเนินการ ดังนี้
             1. เมื่อห้างฯ ส่งมอบสินค้าให้แก่บริษัทผู้ว่าจ้าง ห้างฯ ได้ออกใบส่งของ/ใบแจ้งหนี้ให้แก่บริษัทผู้ว่าจ้าง เพื่อเป็นหลักฐานการรับสินค้า หากสินค้าผิดข้อกำหนดที่ตกลงกัน บริษัทผู้ว่าจ้างจะส่งคืนสินค้าเพื่อให้ห้างฯ แก้ไขให้ถูกต้องก่อนส่งมอบใหม่
             2. เมื่อครบกำหนดชำระเงิน ห้างฯ จะออกเอกสารใบกำกับภาษี/ใบเสร็จรับเงินให้บริษัทผู้ว่าจ้าง โดยบริษัทผู้ว่าจ้างมีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 3.0 ห้างฯ จึงขอทราบว่า ห้างฯ ดำเนินการออกเอกสารถูกต้องหรือไม่ และความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นเมื่อได้รับชำระราคาค่าบริการถูกต้องหรือไม่
แนววินิจฉัย :             1. กรณีตาม 1. การประกอบกิจการของห้างฯ ตามข้อเท็จจริงข้างต้น เข้าลักษณะเป็นการให้บริการตามมาตรา 77/1 (10) แห่งประมวลรัษฎากร ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นเมื่อได้รับชำระราคาค่าบริการ เว้นแต่กรณีที่ได้ออกใบกำกับภาษีก่อนได้รับชำระราคาค่าบริการ ก็ให้ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นเมื่อได้มีการกระทำนั้น ๆ ด้วย ทั้งนี้ ตามมาตรา 78/1 แห่งประมวลรัษฎากร ดังนั้น หากความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มยังไม่เกิดขึ้น ห้างฯ ยังไม่มีหน้าที่ต้องออกใบกำกับภาษี ต่อมาห้างฯ ได้รับสินค้ากลับคืนมาเพื่อนำไปแก้ไขให้ถูกต้องตามข้อกำหนดที่ตกลงกัน ห้างฯ ไม่มีหน้าที่ต้องออกใบลดหนี้ตามมาตรา 86/10 แห่งประมวลรัษฎากรแต่อย่างใด
             สำหรับกรณีห้างฯ ได้ออกใบส่งของ/ใบแจ้งหนี้ให้แก่บริษัทผู้ว่าจ้างเพื่อเป็นหลักฐานการรับสินค้า ห้างฯ สามารถดำเนินการได้ในทางการค้า
              2. กรณีตาม 2. เมื่อบริษัทผู้ว่าจ้างชำระราคาค่าบริการให้กับห้างฯ บริษัทผู้ว่าจ้างมีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 3.0 ตามข้อ 8 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2528
เลขตู้ :69/34343

ขอบคุณบทความจาก ::www.rd.go.th
 630
Visitor
Get started for free today. ทดลองใช้งาน

Create a website for free Online Stores