• Home

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0706(กม.08)/741 ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการเก็บและรับฝากสินค้าของผู้มีถิ่นที่อยู่ในต่างประเทศ

เลขที่หนังสือ กค 0706(กม.08)/741 ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการเก็บและรับฝากสินค้าของผู้มีถิ่นที่อยู่ในต่างประเทศ

  • Home

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0706(กม.08)/741 ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการเก็บและรับฝากสินค้าของผู้มีถิ่นที่อยู่ในต่างประเทศ

เลขที่หนังสือ กค 0706(กม.08)/741 ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการเก็บและรับฝากสินค้าของผู้มีถิ่นที่อยู่ในต่างประเทศ

เลขที่หนังสือ : กค 0706(กม.08)/741
วันที่ :8 มิถุนายน 2549
เรื่อง :ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการเก็บและรับฝากสินค้าของผู้มีถิ่นที่อยู่ในต่างประเทศ
ข้อกฎหมาย :มาตรา 82/1(1) มาตรา 77/1(8)(21) มาตรา 80/1(6) และมาตรา 76 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อหารือ :             บริษัท น. มีสถานประกอบการสาขาเป็นโรงพักสินค้าปลอดอากร ตั้งอยู่ในเขตอุตสาหกรรมส่งออก นิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ ประกอบกิจการให้บริการรับฝาก จัดเก็บ บรรจุหีบห่อ จัดส่ง จัดแยกส่ง ขนส่งสัมภาระสิ่งของและสินค้าทั้งภายในและระหว่างประเทศ รวมทั้งเป็นนายหน้าและตัวแทนค้าต่างในกิจการและธุรกิจทุกประเภท บริษัทฯ จะดำเนินการให้บริการจัดเก็บและจัดส่งสินค้าให้กับผู้มีถิ่นที่อยู่ในต่างประเทศในลักษณะ Supply Chain Management โดยมีบริษัทที่เกี่ยวข้อง 3 บริษัท คือ
               ก.บริษัท ก. ประเทศญี่ปุ่น ผู้ว่าจ้างจัดเก็บสินค้าและเป็นเจ้าของสินค้า บริษัท ก. ไม่มีสถานประกอบการในประเทศไทย
               ข.บริษัท ข. ตั้งอยู่ในเขตอุตสาหกรรมส่งออก นิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ ลูกค้าและบริษัทในเครือของบริษัท ก.
               ค. บริษัท โค. (ประเทศไทย) จำกัด (บริษัท ค.) ตั้งอยู่ในเขตอุตสาหกรรมส่งออก 3 นิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ ลูกค้าและบริษัทในเครือของบริษัท ก.
               ขั้นตอนการดำเนินการมี ดังนี้
               1.บริษัทฯ จะเป็นผู้นำเข้าสินค้าและดำเนินพิธีการศุลกากร โดยใบกำกับสินค้า (Invoice) ของบริษัท ก. ที่ใช้ประกอบการนำเข้าสินค้าจะระบุว่า " ไม่คิดมูลค่าในเชิงพาณิชย์ " (No commercial value) และสินค้าดังกล่าวจะถูกนำไปเก็บไว้ที่โรงพักสินค้าปลอดอากรของบริษัทฯ โดยบริษัทฯ จะได้รับเฉพาะค่าบริการจากการรับฝาก จัดเก็บสินค้าและค่าขนส่ง บริษัทฯ ไม่มีส่วนร่วมในกระบวนการจ่ายเงินค่าสินค้าแต่อย่างใด
               2. บริษัท ก. เจ้าของสินค้าจะมีคำสั่งให้ส่งมอบสินค้าให้แก่บริษัท ข. และบริษัท ค. ซึ่งเป็นลูกค้าที่อยู่ในเขตปลอดอากรเดียวกันตามคำสั่งซื้อของบริษัททั้งสองดังกล่าว
               3. การชำระราคาสินค้า บริษัท ก. จะเป็นผู้ออกใบกำกับสินค้า (Invoice) เพื่อเรียกเก็บค่าสินค้าจากบริษัท ข. และบริษัท ค. และบริษัทลูกค้าทั้งสองรายจะชำระราคาสินค้าให้แก่บริษัท ก. โดยตรง
               4. บริษัทฯ จะจัดทำใบกำกับสินค้า (Invoice) ระบุข้อความว่า " ไม่คิดมูลค่าในเชิงพาณิชย์ " (No commercial value) เพื่อส่งมอบสินค้าให้แก่บริษัท ข. และบริษัท ก.
            บริษัทฯ จึงหารือว่า
               1.บริษัทฯ ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบกิจการในเขตอุตสาหกรรมส่งออก การนำเข้าสินค้า ของผู้มีถิ่นที่อยู่ในต่างประเทศ และจัดเก็บไว้ในโรงพักสินค้าปลอดอากรนั้น เป็นลักษณะทำการแทนบริษัทต่างประเทศใช่หรือไม่ บริษัทฯ สามารถทำธุรกรรมเช่นนี้ได้หรือไม่ และบริษัทฯ มีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการเพื่อชำระภาษีแทนบริษัทต่างประเทศ และถือเป็นตัวแทนภาษีมูลค่าเพิ่มของบริษัท โฮยาฯ หรือไม่
               2.เมื่อบริษัท ข. และบริษัท ค. ซึ่งเป็นผู้ซื้อสินค้าและเป็นผู้ผลิตสินค้าจากวัตถุดิบดังกล่าว ส่งออกสินค้าสำเร็จรูปไปยังต่างประเทศ บริษัททั้งสองมีสิทธิขอคืนภาษีได้ใช่หรือไม่
               3.การเรียกเก็บภาษีภาษีมูลค่าเพิ่มระหว่างการส่งสินค้าจากบริษัทฯ ไปยังบริษัท ค. และ บริษัท ข. จะถือว่าเป็นธุรกรรมระหว่างผู้ประกอบการในเขตอุตสาหกรรมส่งออกที่มีสิทธิใช้อัตราภาษีร้อยละ 0 ใช่หรือไม่
               4.ถ้าอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นอัตราร้อยละ 0 เอกสารที่ถูกจัดเตรียมเพื่อประโยชน์ในทางศุลกากรสามารถใช้เป็นใบกำกับภาษีได้โดยไม่ต้องจัดทำใบกำกับภาษีอีกใช่หรือไม่
               5. บริษัท ก. ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในประเทศไทยหรือไม่ โดยมีข้อเท็จจริงว่า บริษัทฯ เป็นตัวแทนอิสระและมีอนุสัญญาภาษีซ้อนระหว่างประเทศญี่ปุ่นกับประเทศไทย
แนววินิจฉัย :              กรณีบริษัท ฯ ประกาศจ่ายเงินปันผล แต่ผู้ถือหุ้นไม่ได้มารับเงินปันผลจากบริษัทฯ ตามข้อเท็จจริงข้างต้น หากบริษัทฯ ยังคงมีเงินปันผลค้างจ่ายบันทึกในบัญชีหนี้สินของบริษัทฯ โดยไม่ได้มีการล้างบัญชีเงินปันผลค้างจ่ายหรือลดยอดบัญชีหนี้สิน บริษัทฯ ไม่ต้องนำเงินปันผลค้างจ่ายดังกล่าวมารวมคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร เนื่องจากเงินปันผลดังกล่าวยังไม่ถือเป็นเงินได้ของบริษัทฯ แต่หากบริษัทฯ ได้มีการล้างบัญชีเงินปันผลค้างจ่ายหรือลดยอดบัญชีหนี้สินไปบันทึกบัญชีกำไรสะสมหรือบัญชีเงินสำรองหรือบัญชีอื่นใดก็ตาม หรือกรณีสิทธิเรียกร้องในเงินปันผลของผู้ถือหุ้นขาดอายุความบริษัทฯ ต้องนำเงินปันผลดังกล่าวมารวมคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามมาตรา65 แห่งประมวลรัษฎากร
            1. ภาษีมูลค่าเพิ่ม
               1.1 กรณีตาม 1. บริษัทฯ เป็นผู้ประกอบการในเขตอุตสาหกรรมส่งออกประกอบกิจการประเภทโรงพักสินค้า มีหน้าที่รับผิดชอบในการเก็บรักษาสินค้าและจัดส่งสินค้าให้แก่ลูกค้าในเขตอุตสาหกรรมส่งออกของบริษัท ก. ซึ่งเป็นผู้ขายสินค้าในต่างประเทศ เข้าลักษณะเป็นตัวแทน ตามมาตรา 77/1(7) แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่เสียภาษีตามมาตรา 82/1(1) แห่งประมวลรัษฎากร และมีหน้าที่รับผิดชอบในการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มของบริษัท ก. ผู้ประกอบการในต่างประเทศ ตามมาตรา 85/2 แห่งประมวลรัษฎากร เมื่อบริษัท ก. ขายสินค้าซึ่งอยู่ในโรงพักสินค้าดังกล่าวให้แก่ผู้ผลิตในประเทศ ถือได้ว่า บริษัท ก. ได้เข้ามาประกอบกิจการในราชอาณาจักร โดยมีบริษัทฯ เป็นตัวแทนของตน
               1.2 กรณีตาม 2. บริษัท ข. และบริษัท ค. เป็นผู้ประกอบการ ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม เมื่อบริษัททั้งสองได้ซื้อวัตถุดิบเพื่อผลิตสินค้าและได้ถูกผู้ประกอบการอื่นเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/4 แห่งประมวลรัษฎากร ถือเป็นภาษีซื้อของบริษัททั้งสองตามมาตรา 77/1(18) แห่งประมวลรัษฎากร ในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร หากภาษีขายมากกว่าภาษีซื้อ ให้ผู้ ประกอบการชำระภาษีเท่ากับส่วนต่างนั้น หากภาษีซื้อมากกว่าภาษีขายให้เป็นเครดิตภาษีและบริษัททั้งสองมีสิทธิได้รับคืนภาษีหรือนำไปชำระ ภาษีมูลค่าเพิ่มได้ ตามมาตรา 84 แห่งประมวลรัษฎากร โดยภาษีซื้อดังกล่าวต้องไม่เข้าลักษณะเป็นภาษีซื้อต้องห้ามตามมาตรา 82/5 แห่ง ประมวลรัษฎากร
               1.3 กรณีตาม 3. เมื่อบริษัทฯ ส่งมอบสินค้าของบริษัท ก. ซึ่งเก็บในโรงพักสินค้าในเขตอุตสาหกรรมส่งออก ให้แก่ลูกค้าของบริษัท ก. ซึ่งอยู่ในเขตอุตสาหกรรมส่งออกเช่นกัน เข้าลักษณะเป็นการขายสินค้าระหว่างผู้ประกอบการที่ประกอบกิจการอยู่ในเขตปลอดอากร จึงได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ตามมาตรา 77/1(21) และมาตรา 80/1(6) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 123) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการขายสินค้าหรือการให้บริการบางกรณี ตามมาตรา 80/1(6) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2545
               1.4 กรณีตาม 4. บริษัทฯ ในฐานะตัวแทนต้องออกใบกำกับภาษีที่มีรายการครบถ้วนตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร และระบุอัตราภาษีร้อยละ 0 เทียบได้กับแนวปฏิบัติกรมสรรพากร ข้อ 7 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.97/2543 เรื่อง การส่งออกสินค้า ซึ่งผู้ประกอบการจดทะเบียนได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ตามมาตรา 80/1 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2543 และ
            2. ภาษีเงินได้นิติบุคคล
               กรณีบริษัทฯ ให้บริการเก็บรักษาสินค้าของบริษัท ก. ซึ่งเป็นผู้ประกอบการในต่างประเทศ และส่งมอบสินค้าดังกล่าวให้แก่ลูกค้าในประเทศไทยแทนบริษัท ก. หาก บริษัทฯ มิได้มีการกระทำใด ๆ อันจะเป็นเหตุก่อให้เกิดรายได้ในประเทศไทยให้แก่บริษัท ก. เช่น มิได้มีการติดต่อซื้อขายหรือแนะนำสินค้าหรือจัดหาคำสั่งซื้อในประเทศไทย เป็นต้น กรณียังไม่ถือว่า บริษัทฯ เป็นผู้ทำการแทนหรือผู้ทำการติดต่อของบริษัท ก. ซึ่งเป็นเหตุให้ได้รับเงินได้หรือผลกำไรในประเทศไทย ตามมาตรา 76 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร
เลขตู้ :69/34282

ขอบคุณบทความจาก ::www.rd.go.th
 441
Visitor
Get started for free today. ทดลองใช้งาน

Create a website for free Online Stores