• Home

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0706/1805 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีลูกจ้างซึ่งเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพออกจากงานเพราะเกษียณอายุ และกรณีการยกเว้นภาษีเงินได้จากการซื้อและขายคืนหน่วยลงทุน RMF

เลขที่หนังสือ กค 0706/1805 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีลูกจ้างซึ่งเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพออกจากงานเพราะเกษียณอายุ และกรณีการยกเว้นภาษีเงินได้จากการซื้อและขายคืนหน่วยลงทุน RMF

  • Home

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0706/1805 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีลูกจ้างซึ่งเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพออกจากงานเพราะเกษียณอายุ และกรณีการยกเว้นภาษีเงินได้จากการซื้อและขายคืนหน่วยลงทุน RMF

เลขที่หนังสือ กค 0706/1805 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีลูกจ้างซึ่งเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพออกจากงานเพราะเกษียณอายุ และกรณีการยกเว้นภาษีเงินได้จากการซื้อและขายคืนหน่วยลงทุน RMF

เลขที่หนังสือ : กค 0706/1805
วันที่ : 3 มีนาคม 2549
เรื่อง : ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีลูกจ้างซึ่งเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพออกจากงานเพราะเกษียณอายุ และกรณีการยกเว้นภาษีเงินได้จากการซื้อและขายคืนหน่วยลงทุน RMF
ข้อกฎหมาย : มาตรา 42(17) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อหารือ :          ได้เข้าทำงานที่บริษัท ป. จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2514 และได้เข้าเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2538 ต่อมาได้เกิดวิกฤติเศรษฐกิจปี 2540 บริษัทฯ ได้ปรับโครงสร้างธุรกิจใหม่โดยได้โอนย้ายท่านไปทำงานที่บริษัท ซ. จำกัด เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2545 และให้นับอายุการทำงานต่อเนื่อง ท่านจึงขอทราบว่า
           1. กรณีบริษัท ซ. จำกัด กำหนดให้พนักงานเกษียณอายุเมื่อพนักงานมีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป โดยบริษัทและพนักงานเห็นชอบร่วมกันให้พนักงานพ้นจากการเป็นพนักงานตามหลักเกณฑ์ที่บริษัทกำหนดไว้โดยเฉพาะ เงินหรือผลประโยชน์ใดๆ ที่ท่านได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 42 (17) แห่งประมวลรัษฎากรหรือไม่
           2. ท่านได้ซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ดังนี้
              (1) วันที่ 12 ธันวาคม 2545 จำนวนเงิน 180,000 บาท
              (2) วันที่ 9 ธันวาคม 2546 จำนวนเงิน 200,000 บาท
              (3) วันที่ 25 พฤศจิกายน 2547 จำนวนเงิน 100,000 บาท
              (4) วันที่ 16 ธันวาคม 2547 จำนวนเงิน 70,000 บาท
              (5) วันที่ 2 ธันวาคม 2548 จำนวนเงิน 100,000 บาท
              (6) วันที่ 12 ธันวาคม 2549 จำนวนเงิน 100,000 บาท
           ได้ใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีเงินได้จากการซื้อหน่วยลงทุน RMF แล้วต่อมาท่านจะขายคืนหน่วยลงทุน RMF ในวันที่ 13 ธันวาคม 2550 โดยไม่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพิ่มเติมใช่หรือไม่
แนววินิจฉัย :            1. กรณีตาม 1. ท่านมีอายุไม่ต่ำกว่า 55 ปีบริบูรณ์ ซึ่งออกจากงานเพราะเกษียณอายุ หรือครบกำหนด หรือสิ้นกำหนดเวลาการทำงานตามสัญญาจ้างแรงงานที่เป็นลายลักษณ์อักษร และเข้าเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี เงินหรือผลประโยชน์ใดๆ ที่ท่านได้รับจากกองทุนฯ เมื่อท่านออกจากงานเพราะเกษียณอายุดังกล่าว ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามข้อ 2 (36) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ.2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ประกอบกับประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 151) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการ สำหรับกรณีลูกจ้างออกจากงานเพราะเกษียณอายุ ทุพพลภาพ หรือตาย ลงวันที่ 16 มกราคม พ.ศ.2549
           2. กรณีตาม 2. ท่านได้ซื้อหน่วยลงทุน RMF ครั้งแรกเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2545 ดังนั้น วันที่ครบกำหนด 5 ปี นับตั้งแต่วันซื้อหน่วยลงทุนครั้งแรกคือวันที่ 12 ธันวาคม 2550 การที่ท่านจะขายคืนหน่วยลงทุน RMF ที่ซื้อมาตั้งแต่วันที่ 13 ธันวาคม 2550 เป็นต้นไป กรณีถือได้ว่า ท่านได้ถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปี นับตั้งแต่วันซื้อหน่วยลงทุนครั้งแรก และได้ไถ่ถอนหน่วยลงทุนดังกล่าวเมื่อท่านมีอายุไม่ต่ำกว่า 55 ปีบริบูรณ์ ดังนั้น เงินได้เท่าที่ท่านได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุน RMF และเงินหรือผลประโยชน์ใดๆ ที่ท่านได้รับจากการขายหน่วยลงทุน RMF คืนให้แก่กองทุนฯ ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามมาตรา 42 (17) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับข้อ 2 (55) และ (65) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ.2509)ฯ
เลขตู้ : 69/33931


ขอบคุณบทความจาก ::www.rd.go.th
 403
Visitor
Get started for free today. ทดลองใช้งาน

Create a website for free Online Stores