• Home

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0706/0028 ภาษีเงินได้ กรณีการได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรของผู้ประกอบการสำนักงานปฏิบัติการภูมิภาค

เลขที่หนังสือ กค 0706/0028 ภาษีเงินได้ กรณีการได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรของผู้ประกอบการสำนักงานปฏิบัติการภูมิภาค

  • Home

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0706/0028 ภาษีเงินได้ กรณีการได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรของผู้ประกอบการสำนักงานปฏิบัติการภูมิภาค

เลขที่หนังสือ กค 0706/0028 ภาษีเงินได้ กรณีการได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรของผู้ประกอบการสำนักงานปฏิบัติการภูมิภาค

เลขที่หนังสือ : กค 0706/0028
วันที่ : 5 มกราคม 2549
เรื่อง : ภาษีเงินได้ กรณีการได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรของผู้ประกอบการสำนักงานปฏิบัติการภูมิภาค
ข้อกฎหมาย : พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 405)ฯ และประกาศอธิบดีกรมสรรพากร (ฉบับที่ 109)ฯ
ข้อหารือ : บริษัทฯ หารือกรมสรรพากรเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรของสำนักงานปฏิบัติการภูมิภาคตามพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตรา
และยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 405) พ.ศ. 2545 ประกอบกับประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 109) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขการลดอัตราและยกเว้นภาษีเงินได้ของบริษัทซึ่งประกอบกิจการสำนักงานปฏิบัติการภูมิภาค ลงวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2545 ในประเด็นต่างๆ ดังนี้
1. การให้บริการของสำนักงานปฏิบัติการภูมิภาคแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 การให้บริการที่บริษัทฯ เป็นผู้ให้บริการและรับจัดการในกิจการที่ให้บริการด้วยตนเอง
ทั้งหมดจนเสร็จสิ้น แล้วจะเรียกเก็บค่าบริการทั้งค่าแรงและค่าของ และส่วนที่ 2 การให้บริการเฉพาะการให้คำปรึกษาและคำแนะนำแก่บริษัทในเครือและบริษัทในเครือจะนำ
คำปรึกษานั้นไปปฏิบัติ โดยบริษัทฯ มิได้กระทำการใด ๆ อย่างอื่นอีก บริษัทฯ จะเรียกเก็บเฉพาะค่าบริการให้คำปรึกษา ดังนี้ การให้บริการในส่วนที่ 2 ถือเป็นการให้บริการ
ของกิจการสำนักงานปฏิบัติการภูมิภาคหรือไม่ อย่างไร
2. กรณีที่บริษัทฯ ว่าจ้างบุคคลภายนอกที่มีความชำนาญเฉพาะด้านเพื่อให้ทำการวิจัยหรือหาข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับกิจการที่บริษัทฯ ให้บริการแก่บริษัทในเครือ บริษัทฯ
จะนำค่าใช้จ่ายที่ได้จ่ายไปให้แก่บุคคลภายนอกไปเฉลี่ยตามสัดส่วนการนำไปใช้ประโยชน์ของบริษัทฯ ในเครือในประเทศต่างๆ บวกกับกำไรที่เหมาะสมเพื่อคำนวณค่าบริการ
สำหรับบริษัทในเครือ กรณีดังกล่าวค่าบริการที่เรียกเก็บจากบริษัทในเครือจะถือเป็นรายได้จากการให้บริการของสำนักงานปฏิบัติการภูมิภาคตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 109) ฯ ลงวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2545 ซึ่งจะได้รับการลดอัตราภาษีเงินได้ที่คำนวณจากกำไรสุทธิเหลือร้อยละ 10.0 หรือไม่
3. กรณีที่บริษัทฯ ให้บริการแก่บริษัทในเครือที่อยู่ในต่างประเทศ ซึ่งในบางครั้งบริษัทฯ จะส่งพนักงานไปยังประเทศนั้นๆ ให้เก็บข้อมูลเพื่อนำมาใช้ประกอบการจัดทำแผนงาน
ทางธุรกิจหรือให้คำแนะนำปรึกษาที่จะได้ให้บริการแก่บริษัทในเครือ กรณีดังกล่าวจะถือเป็นการให้บริการที่ได้กระทำในราชอาณาจักรและได้มีการใช้บริการนั้นในต่างประเทศซึ่ง
จะได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ตามมาตรา 80/1(2) แห่งประมวลรัษฎากร หรือไม่
4. อัตราภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายของบุคคลธรรมดาซึ่งเป็นคนต่างด้าวที่บริษัทฯ ว่าจ้าง ซึ่งมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกา ฯ (ฉบับที่ 405) พ.ศ. 2545 กำหนด
ให้หักไว้ในอัตราร้อยละ 15.0 ของเงินได้นั้น จะคำนวณหักจากยอดเงินได้ที่คนต่างด้าวนั้นได้รับในแต่ละเดือน หรือคำนวณหักจากยอดเงินได้รวมตลอดทั้งปี
5. บริษัทฯ ว่าจ้างคนต่างด้าวโดยทำสัญญาจ้างเป็นรายปี กำหนดเงื่อนไขและสวัสดิการต่างๆ เกี่ยวกับสภาพการจ้างให้แก่คนต่างด้าวนั้นด้วย บริษัทฯ เข้าใจว่า การให้บริการของ
คนต่างด้าวเป็นการให้บริการตามสัญญาจ้างแรงงานที่คนต่างด้าวนั้นจะได้รับสิทธิตามมาตรา 4 มาตรา 5 และมาตรา 6 แห่งพระราชกฤษฎีกา ฯ (ฉบับที่ 405) พ.ศ.
2545 และเงินได้ตามสัญญาจ้างดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นเงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน ตามมาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากร
แนววินิจฉัย : 1. กรณีบริษัทฯ เป็นสำนักงานปฏิบัติการภูมิภาคให้บริการด้านการบริหาร ด้านเทคนิค หรือให้บริการสนับสนุนแก่วิสาหกิจในเครือหรือสาขา หากบริษัทฯ เป็นผู้ให้บริการ
ด้วยตนเอง ค่าตอบแทนจากการให้บริการดังกล่าวจะได้รับการลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามมาตรา 8 แห่งพระราชกฤษฎีกา ฯ (ฉบับที่ 405) พ.ศ. 2545 ประกอบกับ
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 109)ฯ ลงวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2545
2. กรณีบริษัทฯ ว่าจ้างบุคคลภายนอกเพื่อทำการวิจัยหรือหาข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับกิจการที่บริษัทฯ ให้บริการแก่บริษัทในเครือ หากการงานที่บุคคลภายนอกรับจ้างทำนั้นได้
กระทำให้แก่บริษัทฯ โดยไม่มีส่วนหนึ่งส่วนใดหรือทั้งหมดที่เป็นการให้บริการโดยตรงแก่บริษัทในเครือแล้ว กรณีย่อมถือได้ว่า การให้บริการของบุคคลภายนอกเป็นส่วนหนึ่งของการ
ให้บริการที่บริษัทฯ ได้จัดทำไปเพื่อให้บริการแก่บริษัทในเครือ ค่าบริการที่บริษัทฯ เรียกเก็บจากบริษัทในเครือซึ่งคำนวณได้จากการนำค่าจ้างที่จ่ายให้แก่บุคคลภายนอกมาคำนวณรวม
กับกำไรที่เหมาะสมแล้วเรียกเก็บ จึงถือเป็นรายได้จากการประกอบกิจการสำนักงานปฏิบัติการภูมิภาคตามข้อ 1 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 109)ฯ
ลงวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2545
3. กรณีบริษัทฯ ให้บริการวางแผนธุรกิจและส่งเสริมการตลาดโดยส่งพนักงานไปเก็บข้อมูล ดูแลและตรวจสอบการปฏิบัติการที่สาขาในต่างประเทศ เพื่อนำข้อมูลมาประกอบการ
จัดทำแผนงานทางธุรกิจหรือให้คำแนะนำปรึกษา หากบริษัทฯ ส่งผลของการให้บริการนั้นไปใช้ในสาขาในต่างประเทศทั้งหมด เข้าลักษณะเป็นการให้บริการที่กระทำในราชอาณาจักรและ
ได้มีการใช้บริการนั้นในต่างประเทศ บริษัทฯ จะได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ตามมาตรา 80/1(2) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับข้อ 2(1) ของ
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 105) เรื่อง กำหนดประเภท หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข กรณีการให้บริการที่กระทำในราชอาณาจักรและได้มีการใช้
บริการนั้นในต่างประเทศ ตามมาตรา 80/1(2) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2543
4. กรณีเงินได้พึงประเมินที่คนต่างด้าวได้รับเนื่องจากการจ้างแรงงานของสำนักงานปฏิบัติการภูมิภาค ให้ลดอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในการหักภาษี ณ ที่จ่ายและคงจัดเก็บใน
อัตราร้อยละ 15.0 ของเงินได้ ทั้งนี้ เป็นการลดอัตราภาษีสำหรับกรณีที่มีการคำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50(1) แห่งประมวลรัษฎากร หากจำนวนภาษีที่ต้องหัก
ณ ที่จ่ายสูงกว่าร้อยละ 15.0 ของเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตลอดปีภาษี บริษัทฯ ผู้จ่ายเงินได้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายไว้เพียงอัตราร้อยละ 15.0 ของเงินได้พึงประเมินที่คนต่างด้าวได้
รับในปีภาษีนั้น ตามมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 405) พ.ศ.2545
5. กรณีเงินได้ที่คนต่างด้าวได้รับจากการปฏิบัติงานในสำนักงานปฏิบัติการภูมิภาคตามสัญญาจ้างแรงงาน ถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากร
เลขตู้ : 68/33798

ขอบคุณบทความจาก ::www.rd.go.th
 1319
Visitor
Get started for free today. ทดลองใช้งาน

Create a website for free Online Stores