• Home

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0706(กม.08)/พ./1193 ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มจาการซื้อเรือโดยบริษัทต่างชาติ

เลขที่หนังสือ กค 0706(กม.08)/พ./1193 ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มจาการซื้อเรือโดยบริษัทต่างชาติ

  • Home

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0706(กม.08)/พ./1193 ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มจาการซื้อเรือโดยบริษัทต่างชาติ

เลขที่หนังสือ กค 0706(กม.08)/พ./1193 ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มจาการซื้อเรือโดยบริษัทต่างชาติ

เลขที่หนังสือ : กค 0706(กม.08)/พ./1193
วันที่ : 16 ธันวาคม 2548
เรื่อง : ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มจาการซื้อเรือโดยบริษัทต่างชาติ
ข้อกฎหมาย : มาตรา 77/1 (8) (9) , มาตรา 77/2 (1) , มาตรา 80
ข้อหารือ : นาย ก. ในฐานะผู้ประสานงานของบริษัท M. ได้ขอให้กรมสรรพากรคืนภาษีมูลค่าเพิ่มจากการซื้อเรือให้แก่บริษัทฯ เป็นเงินจำนวน 455,000 บาท ซึ่งบริษัทฯ ได้ชี้แจงว่า บริษัทฯ เป็นบริษัทต่างชาติไม่สมควรที่จะต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจำนวนดังกล่าวที่บริษัทผู้ขายได้ออกใบกำกับภาษีและเรียกเก็บโดยมี ข้อเท็จจริงจากผู้ซื้อเรือที่มาให้ข้อมูลโดยตรงและโทรศัพท์สอบถามจากนาย น. กรรมการผู้มีอำนาจของบริษัท เอฯ ผู้ขายเรือ ได้ข้อเท็จจริงว่า บริษัทฯ ได้มอบอำนาจให้ Capt. C และ Mr.H เดินทางเข้ามาซื้อเรือในประเทศไทยจากบริษัท เอ ซึ่งเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2548 ในราคา 6,500,000 บาท และภาษีมูลค่าเพิ่ม จำนวน 455,000 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 6,955,000 บาท โดยเรือลำดังกล่าวบริษัท เอฯ ใช้สำหรับขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ประเภทสินค้าที่ขนส่งได้แก่ อาหารทะเลแช่แข็ง บริษัท เอฯ จึงได้ออกใบกำกับภาษีและยื่นแบบ ภ.พ.30 และนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มดังกล่าวต่อกรมสรรพากรไว้แล้ว เนื่องจากบริษัท เอเชี่ยนฯ ผู้ขายเรือไม่ได้เป็นผู้ดำเนินการยื่นใบขนขาออก แต่มีการส่งมอบเรือดังกล่าวให้ผู้ซื้อในประเทศไทย หลังจากผู้ซื้อได้ทำการซ่อมแซมตัวเรือ อุปกรณ์ และเครื่องยนต์เสร็จสิ้น เรือลำ ดังกล่าวได้มีการดำเนินพิธีการจดแจ้งการนำออกจากประเทศไทย เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2548 เพื่อเดินทางไปยังประเทศบังคลาเทศประเทศปลายทาง
แนววินิจฉัย : กรณีตามข้อเท็จจริงดังกล่าวบริษัท เอฯ ซึ่งเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มขายเรือและได้มีการส่งมอบเรือในประเทศไทย โดยมิได้เป็นผู้ดำเนินการยื่นใบขนขาออกจึงมิใช่เป็นการส่งออกที่จะได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ตามมาตรา 77/1(14) และ มาตรา 80/1(1) แห่งประมวลรัษฎากร แต่เข้าลักษณะเป็นการขายทรัพย์สินที่ใช้ในการประกอบกิจการโดยผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มในราชอาณาจักรที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7.0 ทั้งนี้ ตามมาตรา 77/1(8)(9) มาตรา 77/2(1) และมาตรา 80 แห่งประมวลรัษฎากร
เลขตู้ : 68/33760

ขอบคุณบทความจาก ::www.rd.go.th
 451
Visitor
Get started for free today. ทดลองใช้งาน

Create a website for free Online Stores