• Home

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0706/10178ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีกำไรขาดทุนที่เกิดจากการตีราคาสัตว์หรือพืชมีชีวิต

เลขที่หนังสือ กค 0706/10178ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีกำไรขาดทุนที่เกิดจากการตีราคาสัตว์หรือพืชมีชีวิต

  • Home

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0706/10178ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีกำไรขาดทุนที่เกิดจากการตีราคาสัตว์หรือพืชมีชีวิต

เลขที่หนังสือ กค 0706/10178ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีกำไรขาดทุนที่เกิดจากการตีราคาสัตว์หรือพืชมีชีวิต

เลขที่หนังสือ : กค 0706/10178
วันที่ : 6 ธันวาคม 2548
เรื่อง : ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีกำไรขาดทุนที่เกิดจากการตีราคาสัตว์หรือพืชมีชีวิต
ข้อกฎหมาย : มาตรา 65 ทวิ (3)(6) มาตรา 65 ตรี (1)
ข้อหารือ : ตามมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 57 เรื่อง เกษตรกรรม มีข้อกำหนดบางประการ ที่เกี่ยวข้องกับการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีอากร สภาฯ ดังนี้
1. มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้กำหนดให้กิจการบันทึกราคาของสัตว์หรือพืชที่มีชีวิต (สินทรัพย์ชีวภาพ) โดยวัดมูลค่าเมื่อมีการรับรู้เริ่มแรก และ ณ ทุกวันสิ้นงวดในงบดุล ด้วยมูลค่ายุติธรรมหักด้วยประมาณการค่าใช้จ่าย ณ จุดขาย เว้นแต่การวัดมูลค่ายุติธรรมไม่สามารถทำได้อย่างน่าเชื่อถือ ซึ่งเมื่อมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ชีวภาพนั้นมีการเปลี่ยนแปลงในแต่ละงวดบัญชี ให้กิจการแสดงสินทรัพย์ดังกล่าวด้วยมูลค่ายุติธรรมและรับรู้ผลต่างจากการเปลี่ยนแปลงมูลค่ายุติธรรม โดยบันทึกการเปลี่ยนแปลงเป็นกำไรหรือขาดทุนสำหรับงวดแม้ว่าจะยังไม่มีการขายเกิดขึ้น กำไรขาดทุนที่เกิดจากการตีราคาสัตว์หรือพืชที่มีชีวิตจากการเปลี่ยนแปลงในมูลค่ายุติธรรมจะต้องนำมารวมคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลหรือไม่
2. เมื่อมีการเก็บเกี่ยวผลิตผลจากสินทรัพย์ชีวภาพ มาตรฐานการบัญชีกำหนดให้กิจการบันทึกราคาของผลิตผลทางการเกษตรนั้นด้วยมูลค่ายุติธรรม ณ จุดเก็บเกี่ยวหักด้วยประมาณการค่าใช้จ่าย ณ จุดขาย และรับรู้มูลค่ายุติธรรมนี้เป็นรายได้ของงวด แม้ว่าจะยังไม่มีการขายก็ตาม ซึ่งมูลค่ายุติธรรมที่ได้จะถือเป็นต้นทุนของสินค้าคงเหลือของกิจการด้วย กำไรขาดทุนจากการบันทึกราคาของผลิตผลทางการเกษตรตามมูลค่ายุติธรรมจะต้องนำมารวมคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลหรือไม่
แนววินิจฉัย : 1. การบันทึกราคาของทรัพย์สินประเภทสัตว์หรือพืชที่มีชีวิต (สินทรัพย์ชีวภาพ) ให้ถือตามราคาที่พึงซื้อได้ตามปกติ ในกรณีที่มีการตีราคาเพิ่มขึ้น ห้ามมิให้นำราคาที่ตีราคาเพิ่มขึ้นมารวมคำนวณกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิ และให้หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาในการคำนวณกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และอัตราเดิมที่ใช้อยู่ก่อนตีราคาทรัพย์สินเพิ่มขึ้น โดยให้หักเพียงเท่าที่ระยะเวลาและมูลค่าต้นทุนที่เหลืออยู่สำหรับทรัพย์สินนั้นเท่านั้น ตามมาตรา 65 ทวิ (3) แห่งประมวลรัษฎากร
กรณีที่ตีราคาทรัพย์สินดังกล่าวต่ำลง ค่าของทรัพย์สินที่ตีราคาต่ำลง ไม่ให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (17) แห่งประมวลรัษฎากร แต่หากมีการขายทรัพย์สินดังกล่าวออกไปแล้วมีผลขาดทุนเกิดขึ้น จึงจะมีสิทธินำมาลงเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้
2. การบันทึกราคาสินค้าคงเหลือในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีสำหรับผลิตผลทางการเกษตร ให้คำนวณตามราคาทุนหรือราคาตลาด แล้วแต่อย่างใดจะน้อยกว่า และให้ถือราคานี้เป็นราคาสินค้าคงเหลือยกมาสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีใหม่ด้วย ตามมาตรา 65 ทวิ (6) แห่งประมวลรัษฎากร หากราคาตลาดน้อยกว่าราคาทุน ผลขาดทุนจากการตีราคาสินค้าคงเหลือ จะนำมาหักเป็นรายจ่ายไม่ได้ เพราะการตีราคาตามราคาตลาดซึ่งต่ำกว่าทุนนั้น เท่ากับเป็นการหักรายจ่ายไปครั้งหนึ่งแล้ว
เลขตู้ : 68/33714

ขอบคุณบทความจาก ::www.rd.go.th
 669
Visitor
Get started for free today. ทดลองใช้งาน

Create a website for free Online Stores