• Home

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0706(กม.01)/1044 ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการให้บริการจัดการประชุมระหว่างประเทศผ่าน จอภาพโทรทัศน์

เลขที่หนังสือ กค 0706(กม.01)/1044 ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการให้บริการจัดการประชุมระหว่างประเทศผ่าน จอภาพโทรทัศน์

  • Home

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0706(กม.01)/1044 ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการให้บริการจัดการประชุมระหว่างประเทศผ่าน จอภาพโทรทัศน์

เลขที่หนังสือ กค 0706(กม.01)/1044 ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการให้บริการจัดการประชุมระหว่างประเทศผ่าน จอภาพโทรทัศน์

เลขที่หนังสือ : กค 0706(กม.01)/1044
วันที่ : 8 พฤศจิกายน 2548
เรื่อง : ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการให้บริการจัดการประชุมระหว่างประเทศผ่าน จอภาพโทรทัศน์
ข้อกฎหมาย : มาตรา 70 และมาตรา 83/6 (2) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อหารือ : บริษัทฯ ทำสัญญาขอใช้บริการจัดการประชุมระหว่างประเทศทางจอภาพกับ P ซึ่งเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกา สำหรับอุปกรณ์หรือเครื่องมือในการดำเนินการประชุมทางจอภาพ (VDO Conference) บริษัทฯ จะเป็น
เจ้าของกรรมสิทธิ์เองทั้งสิ้น ส่วนขั้นตอนการจัดประชุมนั้น บริษัทฯ ในฐานะผู้ใช้บริการต้องยื่นคำขอตามแบบที่ผู้ให้บริการกำหนดโดยวิธีออนไลน์ ทางเสียงโทรสาร หรืออีเมล เมื่อผู้ให้บริการตกลงรับที่จะดำเนินการจัดประชุมให้แล้วสัญญา
จึงเริ่มต้น อันมีผลให้บริษัทฯ สามารถประชุมกับบุคคลอื่นในต่างประเทศได้ ซึ่งในการให้บริการนี้ P มิได้ประกอบกิจการในประเทศไทยบริษัทฯ เห็นว่า บริการที่จ่ายไปยังต่างประเทศดังกล่าว มิใช่เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(3) แห่งประมวลรัษฎากร จึงไม่ต้องหักภาษีจากเงินได้พึงประเมินที่จ่ายตามมาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากรแต่อย่างใด ถูกต้องหรือไม่
แนววินิจฉัย : 1. ภาษีเงินได้นิติบุคคล
กรณีดังกล่าวบริษัท P เป็นบริษัทที่จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกาและมิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย แต่ได้รับเงินได้ค่าบริการเครือข่าย (Network charges) ค่าบริการเชื่อมต่อ (Bridging Service
Charge) และค่าบริการรายเดือน ซึ่งเงินได้ดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร ที่จ่ายจากประเทศไทย บริษัท Pจึงไม่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากรแต่อย่างใด ดังนั้น เมื่อบริษัท พ. จ่ายเงินได้ดังกล่าวออกไป จึงไม่มีหน้าที่หักและนำส่งภาษีแต่อย่างใด
2. ภาษีมูลค่าเพิ่ม
กรณีดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นการบริการที่ผู้ประกอบการได้ให้บริการในต่างประเทศ และมีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักรซึ่งอยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 77/2 วรรคสาม แห่งประมวลรัษฎากร ดังนั้น เมื่อบริษัท พ.
จ่ายเงินค่าบริการดังกล่าวออกไป จึงมีหน้าที่ต้องนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา83/6(2) แห่งประมวลรัษฎากร
เลขตู้ : 68/33666

ขอบคุณบทความจาก ::www.rd.go.th
 408
Visitor
Get started for free today. ทดลองใช้งาน

Create a website for free Online Stores