• Home

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0706/6414 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีภาระภาษีของกองทุนรวมหุ้นระยะยาว

เลขที่หนังสือ กค 0706/6414 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีภาระภาษีของกองทุนรวมหุ้นระยะยาว

  • Home

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0706/6414 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีภาระภาษีของกองทุนรวมหุ้นระยะยาว

เลขที่หนังสือ กค 0706/6414 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีภาระภาษีของกองทุนรวมหุ้นระยะยาว

เลขที่หนังสือ : กค 0706/6414
วันที่ : 11 พฤศจิกายน 2548
เรื่อง : ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีภาระภาษีของกองทุนรวมหุ้นระยะยาว
ข้อกฎหมาย : กฎกระทรวง ฉบับที่ 246 (พ.ศ. 2547)
ข้อหารือ : บริษัทฯ ขอหารือปัญหา ดังนี้
1. การยกเว้นภาษีเนื่องจากการขายหน่วยลงทุนคืน ตามกฎกระทรวงดังกล่าวเงินได้หรือผลประโยชน์ใด ๆ ที่ได้รับเนื่องจากการขายหน่วยลงทุนคืนให้แก่ กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) จะได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้เฉพาะกรณีที่ผู้มีเงินได้ถือหน่วยลงทุนดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีปฏิทิน แต่ไม่รวมถึงกรณีผู้มีเงินได้ไถ่ถอนหน่วยลงทุนใน LTF เพราะทุพพลภาพหรือตาย และเงินหรือผลประโยชน์ต้องคำนวณจากเงินได้พึงประเมินที่ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้เท่าที่จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนใน LTF ที่ได้มีการจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2550 ในอัตราไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมินที่ได้รับในปีภาษีนั้น ทั้งนี้ เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 300,000 บาท หากข้อเท็จจริงปรากฏว่า ผู้ถือหน่วยลงทุนได้ขายคืนหน่วยลงทุนในระหว่างที่ถือหน่วยลงทุนมายังไม่ครบระยะเวลา 5 ปี หรือปฏิบัติผิดเงื่อนไขอื่นใดตามที่กำหนดไว้ในประกาศอธิบดีกรมสรรพากรดังกล่าว ผู้ถือหน่วยลงทุนไม่ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้และการคำนวณต้นทุนผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนหน่วยลงทุน (CapitalGain) เพื่อเสียภาษีในกรณีดังกล่าว ให้คำนวณโดยวิธีเข้าก่อนออกก่อน (FIFO)
2. เนื่องจากลักษณะของการถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 มีความมุ่งหมายเพื่อการส่งเสริมการออม กรณีจึงต่างกับการเป็นหุ้นส่วนการถือหุ้น หุ้นกู้ พันธบัตร ตั๋ว
เงิน หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ซึ่งมีความมุ่งหมายในลักษณะของการลงทุนดังนั้น เงินได้ซึ่งเกิดจากการขายหน่วยลงทุน เฉพาะส่วนซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าที่ลงทุน (Capital Gain) จึงถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(8) แห่ง
ประมวลรัษฎากร ซึ่งจะต่างจากเงินส่วนต่างที่ได้รับจากการโอนหุ้น ซึ่งถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4)(ช) แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทฯ มีความเห็นว่า เงินหรือผลประโยชน์ใด ๆ (Capital Gain) ที่ผู้ถือหน่วยลงทุนแต่ละรายได้รับจากการขายคืนหน่วยลงทุนให้แก่บริษัทฯ ถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร
3. เงินหรือผลประโยชน์ใด ๆ (Capital Gain) ที่ผู้ถือหน่วยลงทุน แต่ละรายได้รับจากการขายคืนหน่วยลงทุนให้แก่บริษัทฯ ถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา40(8) แห่งประมวลรัษฎากร ด้วยเหตุนี้ แม้ข้อเท็จจริงจะปรากฏว่าผู้ถือหน่วยลงทุนปฏิบัติผิดเงื่อนไขการลงทุนใน LTF ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรดังกล่าว ทำให้ผู้ถือหน่วยลงทุนไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี เป็นผลให้ต้องนำเงินหรือผลประโยชน์ใด ๆ ที่ได้รับมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาก็ตามบริษัทฯ ก็ไม่มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ในกรณีนี้บริษัทฯ ขอหารือว่า ความเข้าใจของบริษัทฯ ถูกต้องหรือไม่
แนววินิจฉัย : กรณีตาม 1. และ 2. ความเห็นของบริษัทฯ ถูกต้องแล้ว สำหรับกรณีตาม 3.ตามข้อ 6 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 133) เรื่องกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว ลงวันที่ 3 กันยายนพ.ศ. 2547 กำหนดว่า กรณีผู้มีเงินได้ได้ซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาวและได้ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้แล้ว และต่อมาได้ปฏิบัติไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากรฉบับดังกล่าวผู้มีเงินได้หมดสิทธิได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ แต่ไม่รวมถึงกรณีผู้มีเงินได้ไถ่ถอนหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาวเพราะทุพพลภาพหรือตาย ผู้มีเงินได้ต้องเสียภาษีเงินได้สำหรับปีภาษีที่ได้นำเงินค่าซื้อหน่วยลงทุนไปหักออกจากเงินได้เพื่อยกเว้นภาษีเงินได้มาแล้วที่อยู่ในช่วงระยะเวลาไม่เกิน 5 ปี นับตั้งแต่วันที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้เพิ่มเติมของปีภาษีนั้น ๆ จนถึงวันที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพิ่มเติมเพื่อเสียภาษีเงินได้เพิ่มเติมของปีภาษีฉบับดังกล่าว พร้อมเงินเพิ่มตามมาตรา 27 แห่งประมวลรัษฎากร ดังนั้น หากผู้ถือหน่วยลงทุนไถ่ถอนหน่วยลงทุนโดยปฏิบัติไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากรฉบับดังกล่าว และกองทุนรวมได้จ่ายเงินหรือผลประโยชน์ใด ๆ (Capital Gain) ให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุน เงินหรือผลประโยชน์ใด ๆ จากการลงทุนดังกล่าว เข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร และเป็นเงินได้ที่เกิดจากการกระทำใด ๆ อันอาจหาประโยชน์อันมีมูลค่า ซึ่งมิใช่การขายสินค้าอันเข้าลักษณะเป็นการให้บริการบริษัทฯ ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 3.0 ตามข้อ 12/1 ของคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ.2528 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.104/2544ฯ ลงวันที่ 15กันยายน พ.ศ. 2544
เลขตู้ : 68/33675


ขอบคุณบทความจาก ::www.rd.go.th
 355
Visitor
Get started for free today. ทดลองใช้งาน

Create a website for free Online Stores