• Home

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0706(กม.06)/881 ภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีเงินได้นิติบุคคล สำหรับการดำเนินการตามโครงการ New Logistics Center for Electronic Parts และการดำเนินธุรกรรมของบริษัท ต่างประเทศภายใน NLC

เลขที่หนังสือ กค 0706(กม.06)/881 ภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีเงินได้นิติบุคคล สำหรับการดำเนินการตามโครงการ New Logistics Center for Electronic Parts และการดำเนินธุรกรรมของบริษัท ต่างประเทศภายใน NLC

  • Home

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0706(กม.06)/881 ภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีเงินได้นิติบุคคล สำหรับการดำเนินการตามโครงการ New Logistics Center for Electronic Parts และการดำเนินธุรกรรมของบริษัท ต่างประเทศภายใน NLC

เลขที่หนังสือ กค 0706(กม.06)/881 ภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีเงินได้นิติบุคคล สำหรับการดำเนินการตามโครงการ New Logistics Center for Electronic Parts และการดำเนินธุรกรรมของบริษัท ต่างประเทศภายใน NLC

เลขที่หนังสือ : กค 0706(กม.06)/881
วันที่ : 5 ตุลาคม 2548
เรื่อง : ภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีเงินได้นิติบุคคล สำหรับการดำเนินการตามโครงการNew Logistics Center for Electronic Parts และการดำเนินธุรกรรมของบริษัทต่างประเทศภายใน NLC
ข้อกฎหมาย : มาตรา 76 ทวิ และมาตรา 80/1(1) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อหารือ : กรณีการดำเนินการตามโครงการ New Logistics Center for Electronic Parts(NLC) และการดำเนินธุรกรรมของบริษัทต่างประเทศภายใน NLC มีข้อเท็จจริงสรุปได้ว่าบริษัทฯ และ I ได้ทำบันทึกข้อตกลงเบื้องต้นในการศึกษาเรื่องการร่วมลงทุนในโครงการจัดตั้ง New Logistics Center for Electronic Parts (NLC) โดยได้ทำแผนธุรกิจและทำการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ NLC ดังกล่าวและเนื่องจากการดำเนิน
ธุรกรรมที่เกิดขึ้นใน NLC ถือเป็นกรณีใหม่เกิดขึ้นภายในเขตปลอดอากร บริษัทฯ จึงหารือภาระภาษีต่าง ๆ ภายใต้ประมวลรัษฎากรกรณีการดำเนินธุรกรรมภายใน NLCโดยแยกเป็นประเภทภาษีตามลำดับดังนี้
1. ภาษีมูลค่าเพิ่ม
1.1กรณีนำสินค้าจากต่างประเทศเข้าไปใน NLC ทั้งนี้ เฉพาะสินค้าที่ได้รับยกเว้นอากรขาเข้าตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร มีการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่
1.2 กรณีนำสินค้าออกจาก NLC โดยมิได้ส่งออกไปนอกราชอาณาจักร แต่นำออกจาก NLC เข้ามาให้แก่ผู้ประกอบการในราชอาณาจักร ผู้ที่นำสินค้าออกจากNLC มีฐานะเป็นผู้นำเข้า ดังนั้น ผู้นำเข้ามีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่
1.3 กรณีนำสินค้าในราชอาณาจักรเข้าไปใน NLC เฉพาะสินค้าที่ต้องเสียอากรขาออกหรือที่ได้รับยกเว้นอากรขาออกตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรถือเป็นการส่งออกตามมาตรา 77/1(14)(ก) แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ที่ส่งสินค้าเข้าไปใน NLC มีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่
1.4 การให้บริการของธุรกรรมที่เกิดขึ้นใน NLC เป็นการให้บริการรับส่งหรือกระจายสินค้าซึ่งเป็นการกระทำในราชอาณาจักรไทย ผู้ให้บริการมีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มอย่างไร
2. ภาษีเงินได้นิติบุคคล
2.1 กรณี NLC เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยจะต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามหลักเกณฑ์ใด
2.2 กรมสรรพากรอนุญาตให้ผู้ประกอบการต่างประเทศ ซึ่งเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ สามารถส่งสินค้าและเก็บสินค้า (Non-resident Inventory) ในคลังสินค้าของ NLC ในเขตปลอดอากรได้หรือไม่อย่างไร
2.3 กรณีผู้ประกอบการต่างประเทศ หากเกิดรายการค้าขายระหว่างผู้ประกอบการต่างประเทศในขณะที่สินค้าเก็บอยู่ในคลังสินค้าของ NLC ผู้ประกอบการต่างประเทศมีภาระภาษี ทั้งกรณีภาระภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาระภาษีมูลค่าเพิ่มในประเทศไทย อันเนื่องจากรายการสินค้านั้นหรือไม่ เนื่องจากในกรณีของประเทศสิงคโปร์ผู้ประกอบการต่างประเทศไม่มีภาระภาษี ทั้งกรณีภาระภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาระภาษีมูลค่าเพิ่ม ทั้งนี้ NLC มิได้ทำหน้าที่เป็นตัวแทนหรือผู้กระทำการแทนผู้ประกอบการต่างประเทศในการติดต่อให้เกิดการค้าระหว่างกันแต่อย่างใด
แนววินิจฉัย : 1. ภาษีมูลค่าเพิ่ม
1.1 กรณี NLC เป็นเขตปลอดอากรตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร เมื่อนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศเข้าไปใน NLC เฉพาะสินค้าที่ได้รับยกเว้นอากรขาเข้าตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร การนำเข้าสินค้าดังกล่าวได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 81(2)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร
1.2 กรณีนำสินค้าที่ต้องเสียอากรขาเข้าหรือได้รับยกเว้นอากรขาเข้าตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรออกจาก NLC ซึ่งเป็นเขตปลอดอากรตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรโดยมิใช่เพื่อส่งออกไปนอกราชอาณาจักร แต่นำออกจาก NLC เข้ามาให้ประกอบกิจการในราชอาณาจักร เข้าลักษณะเป็นการนำเข้าตามมาตรา 77/1(12) แห่งประมวลรัษฎากร ผู้นำสินค้าออกจาก NLC มีฐานะเป็นผู้นำเข้าซึ่งมีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7.0 โดยยื่นใบขนสินค้าขาเข้าและชำระภาษีมูลค่าเพิ่มต่อเจ้าพนักงานศุลกากร พร้อมชำระอากรขาเข้าตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร ตามมาตรา83/9 แห่งประมวลรัษฎากร
1.3 กรณีนำสินค้าในราชอาณาจักรเข้าไปใน NLC ซึ่งเป็นเขตปลอดอากรตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร เฉพาะสินค้าที่ต้องเสียอากรขาออกหรือที่ได้รับยกเว้นอากรขาออกตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรเข้าลักษณะเป็นการส่งออกตามมาตรา77/1(14)(ก) แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ที่ส่งสินค้าเข้าไปใน NLC จะได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ตามมาตรา 80/1(1) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 125) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการนำสินค้าในราชอาณาจักรเข้าไปในเขตปลอดอากรและการขายสินค้าของคลังสินค้าทัณฑ์บนประเภทร้านค้าปลอดอากรตามกฎหมายว่า
ด้วยศุลกากร ตามมาตรา 77/1(14) (ก) และ (ข) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2545
1.4 กรณีการให้บริการของ NLC เป็นการให้บริการที่เกี่ยวข้องกับการบริหารการเคลื่อนย้ายวัตถุดิบ สินค้าระหว่างการผลิต และสินค้าสำเร็จรูป ตลอดจนให้บริการด้านการจัดการคลังสินค้าตลอดจนระบบการขนส่งแบบ Logistics ภายในเขตปลอดอากร ในนามของลูกค้าเป็นการทั่วไป จึงเข้าลักษณะเป็นผู้ให้บริการซึ่งทำหน้าที่รับส่งหรือกระจายสินค้าซึ่งได้กระทำในราชอาณาจักรไทยอยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 77/2(1) แห่งประมวลรัษฎากร โดยเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7.0 จากมูลค่าของบริการที่ได้รับทั้งสิ้นตามมาตรา 79 แห่งประมวลรัษฎากร
2. ภาษีเงินได้นิติบุคคล
2.1 กรณี NLC เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย NLC จึงมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้จากกำไรสุทธิตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งคำนวณได้จากรายได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีหักด้วยรายจ่ายตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในมาตรา 65 ทวิ และมาตรา65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร
2.2 กรณีผู้ประกอบการต่างประเทศเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศดำเนินการส่งสินค้าและเก็บสินค้า (Non-residentInventory) ในคลังสินค้าของ NLC ในเขตปลอดอากรท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ หากผู้ประกอบการต่างประเทศเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต่างประเทศขายสินค้าให้แก่ผู้ซื้อในประเทศไทย ซึ่งอาจเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศและประกอบกิจการในประเทศไทย โดยมี NLC เป็นผู้ทำการแทนในนามของผู้ประกอบการต่างประเทศ (ผู้ขายสินค้า) ในการเก็บรักษาและส่งมอบสินค้าดังกล่าวในประเทศไทยแล้ว หากไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า NLC ได้ประกอบธุรกิจอย่าง
เป็นอิสระจากผู้ประกอบการต่างประเทศตามแนวคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากรที่ 2/2526 เรื่อง ภาษีเงินได้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามมาตรา 76ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2526 ย่อมถือว่าบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต่างประเทศมี NLC เป็นผู้ทำการแทนหรือผู้ทำการติดต่อซึ่งเป็นเหตุให้ได้รับเงินได้หรือผลกำไรในประเทศไทย ซึ่ง NLC มีหน้าที่และความรับผิดในการยื่นรายการและเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลแทนผู้ประกอบการต่างประเทศซึ่งเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต่างประเทศผู้ขายสินค้าดังกล่าว ทั้งนี้ ตามมาตรา 76 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร
2.3 กรณีผู้ประกอบการต่างประเทศซึ่งเป็นผู้ขายสินค้าส่งสินค้าจากต่างประเทศเข้าไปเก็บไว้ในคลังสินค้าของตนภายใน NLC ซึ่งเป็นเขตปลอดอากร และภายหลังได้ส่งสินค้าดังกล่าวออกนอกราชอาณาจักรภายใต้รายการค้าขายระหว่างตนกับผู้ประกอบการต่างประเทศรายอื่น การขายและการส่งมอบดังกล่าวไม่ถือเป็นการขายในราชอาณาจักร ผู้ประกอบการต่างประเทศ (ผู้ขายสินค้า) จึงไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในประเทศไทยแต่อย่างใด นอกจากนี้กรณีการนำสินค้าออกจากNLC โดยส่งออกไปนอกราชอาณาจักรในนามของตนเอง ถือว่าเป็นผู้ส่งออกซึ่งได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ตามมาตรา 80/1(1) แห่งประมวลรัษฎากร
เลขตู้ : 68/33606

ขอบคุณบทความจาก ::www.rd.go.th
 395
Visitor
Get started for free today. ทดลองใช้งาน

Create a website for free Online Stores