• Home

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0706/5429 ภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่าย กรณีเงินได้จากเงินปันผลจากบริษัทในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

เลขที่หนังสือ กค 0706/5429 ภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่าย กรณีเงินได้จากเงินปันผลจากบริษัทในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

  • Home

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0706/5429 ภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่าย กรณีเงินได้จากเงินปันผลจากบริษัทในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

เลขที่หนังสือ กค 0706/5429 ภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่าย กรณีเงินได้จากเงินปันผลจากบริษัทในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

เลขที่หนังสือ : กค 0706/5429
วันที่ : 4 กรกฎาคม 2548
เรื่อง : ภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่าย กรณีเงินได้จากเงินปันผลจากบริษัทในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ประเด็นปัญหา : มาตรา 60 และมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร
            บริษัท ก. จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นในประเทศไทย เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2546 ประกอบธุรกิจส่งออกน้ำมันเชื้อเพลิงเครื่องบิน หารือกรณีเงินได้จากเงินปันผลจากบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย โดยมีข้อเท็จจริงดังนี้
          1. เมื่อปี 2546 บริษัทฯ ได้ลงทุนซื้อหุ้นของบริษัท บ. จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยบริษัทฯ ซื้อหุ้นดังกล่าวผ่านตัวแทนซื้อขายหลักทรัพย์ (Broker) ซึ่งอยู่ในต่างประเทศ 2 แห่ง ได้แก่ UOB
          2. ในปี 2547 บริษัทฯ ได้รับเงินปันผลจากบริษัท บ. โดยบริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้ออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ในนามของตัวแทนซื้อขายหลักทรัพย์ (Broker) ทั้ง 2 แห่ง และตัวแทนซื้อขายหลักทรัพย์ (Broker) จะนำเงินปันผลจากหลักทรัพย์มาจ่ายคืนให้แก่บริษัทฯ โดยบริษัทฯ จะได้รับหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย สำหรับเงินปันผล เรียกว่า “Subsidiary Tax Certificate” และหลักฐานประกอบ ได้แก่ หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ที่บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ฯ ออกให้แก่ UOB
          บริษัทฯ หารือว่า บริษัทฯ สามารถใช้หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย สำหรับเงินปันผลที่ได้รับจากตัวแทนซื้อขายหลักทรัพย์ (Broker) ซึ่งอยู่ในต่างประเทศมาเป็นหลักฐานในการเครดิตภาษีของบริษัทฯ ในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลในรอบระยะเวลาบัญชี ตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร ได้หรือไม่
แนววินิจฉัย           กรณีบริษัทฯ ซื้อหุ้นของบริษัท บ. ผ่านตัวแทนซื้อขายหลักทรัพย์ (Broker) ซึ่งอยู่ในต่างประเทศ และตัวแทนซื้อขายหลักทรัพย์ (Broker) ดังกล่าวได้สั่งซื้อและถือหุ้นในบริษัท บ. ในนามของตนเอง เมื่อบริษัท บ. จ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้น ตัวแทนซื้อขายหลักทรัพย์ (Broker) ดังกล่าวก็จะจ่ายเงินปันผลที่ได้รับให้แก่บริษัทฯ อีกทอดหนึ่งและออกหลักฐานหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (Subsidiary Tax Certificate) พร้อมทั้งส่งมอบหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ที่ระบุชื่อตัวแทนซื้อขายหลักทรัพย์ (Broker) ซึ่งอยู่ในประเทศคืนให้แก่บริษัทฯ ด้วย กรณีดังกล่าวบริษัทผู้มีหน้าที่เสียภาษีจากเงินปันผลซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร ได้แก่บริษัทที่มีชื่อปรากฏในสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นของบริษัทผู้ออกหุ้น ดังนั้น กรณีบริษัท บ. จ่ายเงินปันผลให้แก่ตัวแทน ซื้อขายหลักทรัพย์ (Broker) ในฐานะผู้ถือหุ้นที่มีชื่ออยู่ในสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้น ตัวแทนซื้อขายหลักทรัพย์ (Broker) จึงมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้จากเงินปันผลที่ได้รับจากบริษัท บริการเชื้อเพลิงการบินกรุงเทพฯ บริษัทฯ ซึ่งไม่มีชื่ออยู่ในสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นจึงไม่มีสิทธินำหลักฐานหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ที่ระบุชื่อตัวแทนซื้อขายหลักทรัพย์ (Broker) ดังกล่าว มาถือเป็นเครดิตภาษีในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลในรอบระยะเวลาบัญชีตามมาตรา 60 แห่งประมวลรัษฎากร
เลขตู้ : 68/33471

ขอบคุณบทความจาก ::www.rd.go.th
 392
Visitor
Get started for free today. ทดลองใช้งาน

Create a website for free Online Stores