เลขที่หนังสือ กค 0706/9820อากรแสตมป์ กรณีความรับผิดในการเสียอากร

เลขที่หนังสือ กค 0706/9820อากรแสตมป์ กรณีความรับผิดในการเสียอากร

เลขที่หนังสือ : กค 0706/9820
วันที่ : 3 พฤศจิกายน 2547
เรื่อง : อากรแสตมป์ กรณีความรับผิดในการเสียอากร
ข้อกฎหมาย : มาตรา 111 แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อหารือ : บริษัทฯ ได้ยื่นคำร้องขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มจากค่าก่อสร้างโรงงาน เนื่องจากบริษัทฯ ได้ลงนามทำสัญญาก่อสร้างโรงงานกับ บริษัท ก. ที่ประเทศญี่ปุ่น และเก็บรักษาสัญญาไว้ที่ประเทศญี่ปุ่นตกลงชำระค่างานเป็น 2 ส่วน ส่วนที่ 1 ชำระค่างานเป็นเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐอเมริกา ส่วนที่ 2 ชำระค่างานเป็นเงินบาท โดยให้ บริษัท ข. ประเทศไทย เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างและจัดหาวัสดุอุปกรณ์ จึงหารือว่า
1. สัญญารับเหมาก่อสร้างที่ทำในประเทศญี่ปุ่น และเก็บรักษาไว้ที่ประเทศญี่ปุ่น กรณีดังกล่าวถือว่า บริษัทฯ เป็นผู้ทรงตราสารคนแรกในประเทศไทย มีหน้าที่ต้องเสียอากรโดยปิดแสตมป์ครบจำนวนอากรและขีดฆ่าภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับตราสารนั้น ตามมาตรา 111 แห่งประมวลรัษฎากรถูกต้องหรือไม่
2. หากบริษัทฯ ไม่ต้องรับผิดเสียอากร ตามข้อ 1 ถือว่าการปฏิบัติงานตามสัญญาว่าจ้างดังกล่าว บริษัท ข. ประเทศไทย ได้ดำเนินการก่อสร้างและจัดซื้ออุปกรณ์ก่อสร้างในประเทศไทย ซึ่งไม่เข้าข้อยกเว้นไม่ต้องเสียอากรตามลักษณะแห่งตราสาร 4. จ้างทำของ แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์ดังนั้น ผู้รับจ้างมีหน้าที่ต้องเสียอากรโดยปิดแสตมป์บริบูรณ์ตามมาตรา 104 แห่งประมวลรัษฎากร ถูกต้องหรือไม่
แนววินิจฉัย : 1. สัญญาก่อสร้างโรงงานที่ บริษัทฯ ได้ทำกับ บริษัท ข. ประเทศญี่ปุ่น สาระสำคัญของสัญญานั้นมุ่งถึงผลสำเร็จของงานเป็นสำคัญเข้าลักษณะเป็นสัญญาจ้างทำของตามมาตรา 587 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และเข้าลักษณะแห่งตราสาร 4. จ้างทำของ แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์ ซึ่งผู้รับจ้างมีหน้าที่ต้องเสียอากรโดยปิดแสตมป์บริบูรณ์ตามมาตรา 104 แห่งประมวลรัษฎากร แต่เนื่องจากสัญญาจ้างดังกล่าวได้ทำขึ้นในประเทศญี่ปุ่นจึงเป็นหน้าที่ของผู้ทรงตราสารคนแรกในประเทศไทยต้องเสียอากรโดยปิดแสตมป์ตามจำนวนอากรและขีดฆ่าภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับตราสารนั้น ตามมาตรา 111 แห่งประมวลรัษฎากร
2. กรณีบริษัทผู้ว่าจ้างได้นำสำเนาสัญญาที่ทำขึ้นในต่างประเทศเข้ามาในประเทศไทย และเป็นผู้ถือเอาประโยชน์จากตราสารที่จะต้องปฏิบัติตามข้อตกลงในสัญญา บริษัทฯ จึงอยู่ในฐานะเป็นผู้ทรงตราสารคนแรกในประเทศไทย ซึ่งมีหน้าที่ต้องเสียอากรโดยปิดแสตมป์ครบจำนวนอากรและขีดฆ่าภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับตราสาร ตามมาตรา 111 แห่งประมวลรัษฎากร
3. เนื่องจาก บริษัทฯ ในฐานะผู้ทรงตราสารคนแรกในประเทศไทยมีหน้าที่ต้องเสียอากรดังนั้น บริษัท ข. ประเทศไทย ผู้ดำเนินการก่อสร้างและจัดหาวัสดุอุปกรณ์ จึงไม่ต้องเสียอากรตามลักษณะแห่งตราสาร 4. จ้างทำของ แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์
เลขตู้ : 67/33194


ขอบคุณบทความจาก ::www.rd.go.th
 1551
Visitor
Get started for free today. ทดลองใช้งาน

Create a website for free Online Stores