เลขที่หนังสือ กค 0706/พ./9916 ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีภาระภาษีจากสัญญารับประกันวินาศภัย

เลขที่หนังสือ กค 0706/พ./9916 ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีภาระภาษีจากสัญญารับประกันวินาศภัย

เลขที่หนังสือ : กค 0706/พ./9916
วันที่ : 8 พฤศจิกายน 2547
เรื่อง : ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีภาระภาษีจากสัญญารับประกันวินาศภัย
ข้อกฎหมาย : มาตรา 82/3, มาตรา 82/10, มาตรา 86/10
ข้อหารือ : 1. การทำสัญญาประกันวินาศภัยซึ่งมีระยะเวลาคุ้มครองหนึ่งปี หากมีการยกเลิกสัญญาก่อนครบกำหนดความคุ้มครอง ภาษีมูลค่าเพิ่มที่เรียกเก็บจากเบี้ยประกันภัยและได้ชำระไปแล้ว จะขอคืนได้หรือไม่2. กรณีบริษัทรับประกันภัยได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเต็มจำนวนเงินเอาประกันภัย และผู้เอาประกันภัยจะต้องโอนซากรถยนต์ให้กับบริษัทรับประกันภัย การโอนซากรถยนต์ดังกล่าวนี้จะต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่ และบุคคลใดเป็นผู้มีหน้าที่จะต้องชำระภาษีมูลค่าเพิ่มดังความละเอียดแจ้งแล้ว นั้น
แนววินิจฉัย : การประกอบธุรกิจรับประกันวินาศภัยเป็นการให้บริการอันอยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 77/1(10) และมาตรา 77/2 แห่งประมวลรัษฎากร โดยความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นเมื่อได้รับชำระราคาค่าบริการ เว้นแต่จะได้มีการออกใบกำกับภาษีหรือได้ใช้บริการไม่ว่าโดยตนเองหรือบุคคลอื่นเกิดขึ้นก่อนได้รับชำระราคาค่าบริการนั้น ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจึงเกิดขึ้นเมื่อได้ออกใบกำกับภาษีหรือได้ใช้บริการไม่ว่าโดยตนเองหรือบุคคลอื่น ทั้งนี้ ตามมาตรา 78/1(1) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งบริษัทผู้รับประกันภัยในฐานะผู้ประกอบการจดทะเบียนมีหน้าที่เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้เอาประกันภัยเมื่อความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น ตามมาตรา82/4 แห่งประมวลรัษฎากร และเสียภาษีมูลค่าเพิ่มโดยคำนวณจากภาษีขายหักด้วยภาษีซื้อในแต่ละเดือนภาษี ตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร ดังนั้น
1. กรณีที่มีการยกเลิกสัญญาประกันภัยก่อนครบกำหนดความคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัยหากการยกเลิกสัญญาประกันภัยดังกล่าวเข้าลักษณะเหตุการณ์อย่างหนึ่งอย่างใด ตามมาตรา 82/10 แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 82) เรื่องกำหนดเหตุอื่นตามมาตรา 82/10(1)(2)(3) และ (4) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 21 มกราคมพ.ศ. 2542 แล้ว บริษัทรับประกันภัยมีสิทธินำภาษีขายที่คำนวณจากมูลค่าของบริการที่ลดลงมาหักออกจากภาษีขายของตนในเดือนภาษีที่ได้ออกใบลดหนี้นั้นได้ ทั้งนี้ ตามมาตรา 82/10 และมาตรา 86/10 แห่งประมวลรัษฎากรสำหรับผู้เอาประกันภัยที่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน ซึ่งได้ถูกบริษัทผู้รับประกันภัยเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภาษีซื้อ) ไปแล้ว และได้นำไปเสียภาษีมูลค่าเพิ่มโดยนำภาษีซื้อไปคำนวณหักออกจากภาษีขายในแต่ละเดือนภาษีตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว เมื่อผู้เอาประกันภัยได้รับใบลดหนี้ ให้นำภาษีมูลค่าเพิ่มที่ปรากฏตามใบลดหนี้ดังกล่าวมาหักออกจากภาษีซื้อของตนในเดือนภาษีที่ได้รับใบลดหนี้นั้น ทั้งนี้ ตามมาตรา 82/10 แห่งประมวลรัษฎากร
2. กรณีบริษัทรับประกันภัยได้รับโอนซากรถยนต์คันที่ได้รับประกันภัยไว้หลังจากที่ได้ชำระค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์แล้วนั้น การรับโอนซากรถยนต์ดังกล่าวเข้าลักษณะที่ผู้เอาประกันภัยได้ขายทรัพย์สินให้แก่บริษัทผู้รับประกันภัยตามมาตรา 77/1(8) แห่งประมวลรัษฎากร หากการขายทรัพย์สินดังกล่าวอยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือผู้เอาประกันภัยเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน ตามมาตรา77/1(6) แห่งประมวลรัษฎากร ผู้เอาประกันภัยมีหน้าที่ต้องเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากบริษัทผู้รับประกันภัยซึ่งเป็นผู้ซื้อซากรถยนต์นั้น ในราคาตามสภาพของรถยนต์ ณ วันที่ขายหรือโอน แล้วนำภาษีขายที่ได้รับมาไปคำนวณเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร
เลขตู้ : 67/33202

ขอบคุณบทความจาก ::www.rd.go.th
 475
Visitor
Get started for free today. ทดลองใช้งาน

Create a website for free Online Stores