• Home

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0706/8042 ภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่าย กรณีเงินได้จากการขายบัตรเข้าชมการแสดงพร้อมอาหาร

เลขที่หนังสือ กค 0706/8042 ภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่าย กรณีเงินได้จากการขายบัตรเข้าชมการแสดงพร้อมอาหาร

  • Home

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0706/8042 ภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่าย กรณีเงินได้จากการขายบัตรเข้าชมการแสดงพร้อมอาหาร

เลขที่หนังสือ กค 0706/8042 ภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่าย กรณีเงินได้จากการขายบัตรเข้าชมการแสดงพร้อมอาหาร

เลขที่หนังสือ : กค 0706/8042
วันที่ : 26 สิงหาคม 2547
เรื่อง : ภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่าย กรณีเงินได้จากการขายบัตรเข้าชมการแสดงพร้อมอาหาร
ข้อกฎหมาย : มาตรา 40(8), มาตรา 50 ทวิ
ข้อหารือ : บริษัท ก. จำกัด ประกอบกิจการท่องเที่ยว ให้บริการประกอบด้วยการแสดงโดยนักแสดงและสัตว์ การจำหน่ายสินค้าพื้นเมืองและสินค้าที่ระลึก การจัดแสดงศิลปหัตถกรรม และการจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่ม มีการจำหน่ายบัตรเข้าชมบริเวณทางเข้า 3 ประเภทได้แก่ บัตรชมการแสดงรวมอาหารบัตรชมการแสดง และบัตรอาหารลูกค้า บริษัทฯ ทัวร์ได้นำลูกทัวร์เข้าชมครั้งละหลาย ๆ คน และใช้บัตรเครดิตชำระเป็นค่าบัตร บริษัทฯ หารือว่า
1. การประกอบกิจการดังกล่าว เมื่อบริษัทฯ ทัวร์จ่ายเงินให้กับบริษัทฯ มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย หรือไม่
2. กรณีบริษัทฯ ทัวร์ใช้บัตรเครดิตชำระให้บริษัทฯ เมื่อธนาคารหรือบริษัทบัตรเครดิต ส่งใบแจ้งรายการนำเงินเข้าบัญชีธนาคารของบริษัทฯ บริษัทฯ ได้จ่ายค่าธรรมเนียมการใช้บัตรเครดิตให้กับธนาคารหรือบริษัทบัตรเครดิต และหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย กรณีดังกล่าว บริษัทฯ ต้องหักภาษีเงินได้ ณที่จ่ายในอัตราร้อยละ 3.0 หรือไม่ และออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายระบุวันที่ใดหากถือตามวันที่ในใบแจ้งรายการแล้วได้รับเอกสารล่าช้าจะสามารถนำส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายในเดือนถัดไปได้หรือไม่
แนววินิจฉัย : 1. เงินได้จากการให้บริการเกี่ยวกับการท่องเที่ยว เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา40(8) แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทฯ ทัวร์ได้จ่ายค่าบริการให้กับบริษัทฯ ในส่วนของบัตรชมการแสดงบัตรชมการแสดงรวมอาหารคิดเป็นการเหมา ซึ่งไม่ได้แบ่งแยกราคาออกจากกันอย่างชัดเจน ผู้จ่ายเงินมีหน้าทีต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 3.0 กรณีบริษัทฯ ทัวร์ได้จ่ายค่าบริการให้บริษัทฯ ในส่วนของบัตรอาหาร ผู้จ่ายเงินไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายเนื่องจากค่าบริการดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นค่าบริการของภัตตาคาร ตามคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายนพ.ศ. 2528 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.104/2544 ฯ ลงวันที่ 15 กันยายนพ.ศ. 2544
2. ตามข้อ 2 แยกพิจารณาได้ดังนี้(1) กรณีบริษัทฯ จ่ายค่าธรรมเนียมการใช้บัตรเครดิตให้กับธนาคารหรือบริษัทบัตรเครดิตโดยเป็นการจ่ายผ่านระบบการหักเงินจากบัญชีธนาคารของผู้จ่ายเงิน ถือเป็นการจ่ายค่าบริการที่เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทฯ มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 3.0 ตามคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.4/2528 ฯ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.104/2544 ฯ และบริษัทฯ มีหน้าที่ต้องออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณที่จ่ายให้กับธนาคารหรือบริษัทบัตรเครดิตผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ในทันทีทุกครั้งที่มีการหักภาษี ณ ที่จ่ายและมีหน้าที่ต้องยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย อย่างไรก็ดี เนื่องจากบริษัทฯ มีรายการขายสินค้า
และให้บริการด้วยบัตรเครดิตทุกวัน ทำให้บริษัทฯ ไม่สามารถหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย และออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายได้ทันภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด ดังนั้น เพื่อเป็นการลดภาระการออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายของบริษัทฯ จึงผ่อนผันให้บริษัทฯ ซึ่งมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณที่จ่าย ไม่ต้องออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย สำหรับการจ่ายค่าธรรมเนียมในทันทีทุกครั้งที่มีการหักภาษี ณ ที่จ่าย โดยให้ออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย 1 ครั้งต่อเดือน แต่บริษัทฯ ยังคงมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายทุกครั้งที่มีการจ่ายเงินได้ ทั้งนี้ ตามมาตรา 50 ทวิ วรรคสาม แห่งประมวลรัษฎากร และต้องยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย(2) ในกรณีบริษัทฯ ผู้จ่ายค่าธรรมเนียมมีความประสงค์แต่งตั้งให้ธนาคารหรือบริษัทบัตรเครดิตผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย เป็นตัวแทนเพื่อดำเนินการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย และลงลายมือชื่อในหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายแทนผู้จ่ายเงิน
พร้อมทั้งยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และชำระภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย แทนผู้จ่ายเงิน ก็สามารถกระทำได้ โดยจะต้องจัดทำสัญญาการตั้งตัวแทนและมอบอำนาจให้กระทำการแทนเป็นลายลักษณ์อักษรทั้งนี้ ธนาคารหรือบริษัทบัตรเครดิตซึ่งเป็นตัวแทนจะต้องออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายในนามของบริษัทฯ และต้องยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายในนามของบริษัทฯ หากธนาคารหรือบริษัทบัตรเครดิตรายหนึ่งรายใดได้รับแต่งตั้งเป็นตัวแทนเพื่อดำเนิน การหักภาษี ณ ที่จ่าย แทนบริษัทฯ หลายๆ บริษัทฯ ธนาคารหรือบริษัทบัตรเครดิตจะต้องออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายเป็นรายฉบับทุกครั้งที่จ่ายเงินและต้องยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายในนามของบริษัทฯ เป็นรายฉบับแต่ละราย
บริษัทฯ ด้วยอย่างไรก็ดี เนื่องจากบริษัทฯ รับบัตรเครดิตของธนาคารหรือบริษัทบัตรเครดิตหลายแห่ง จึงไม่อยู่ในวิสัยที่จะทำสัญญาการตั้งตัวแทนและมอบอำนาจให้กระทำการแทนเป็นลายลักษณ์อักษร และไม่อยู่ในวิสัยจะออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ในนามของบริษัทฯ เป็นรายฉบับทุกครั้งที่มีการจ่ายเงินและไม่อยู่ในวิสัยจะยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ในนามของบริษัทฯ เป็นรายฉบับ จึงให้ธนาคารและบริษัทบัตรเครดิตดำเนินการดังนี้
(2.1) กรณีธนาคารหรือบริษัทบัตรเครดิตได้มีหนังสือแจ้งไปยังบริษัทฯ ซึ่งเป็นสมาชิกอยู่เดิมโดยมีสาระสำคัญว่า ธนาคารหรือบริษัทบัตรเครดิตจะเป็นผู้ดำเนินการหักภาษี ณ ที่จ่ายของค่าธรรมเนียมบริษัทฯ รับบัตรเครดิตแทน ออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายแทน และยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายแทน โดยกำหนดระยะเวลาให้บริษัทฯ ตอบรับ เมื่อบริษัทฯตอบรับแล้ว ถือว่าหนังสือแจ้งเป็นข้อตกลงแต่งตั้งให้ธนาคารหรือบริษัทบัตรเครดิตเป็นตัวแทนแล้ว แต่หากเป็นบริษัทฯ ที่เป็นสมาชิกใหม่จะต้องมีข้อกำหนดการแต่งตั้งตัวแทนอย่างชัดเจน
(2.2) กรณีธนาคารหรือบริษัทบัตรเครดิตหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย สำหรับค่าธรรมเนียมแทนบริษัทฯ แล้วผ่อนผันให้บริษัทฯ ไม่ต้องออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายสำหรับการจ่ายค่าธรรมเนียมให้กับธนาคารหรือบริษัทบัตรเครดิตในทันทีทุกครั้งที่มีการหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50 ทวิ วรรคสาม แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งทำให้ธนาคารหรือบริษัทบัตรเครดิตไม่ต้องออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายเป็นรายฉบับทุกครั้งที่จ่ายเงิน แต่ธนาคารหรือบริษัทบัตรเครดิตต้องจัดทำรายละเอียดรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ซึ่งมีรายการตามเอกสารที่ชมรมธุรกิจบัตรเครดิต -สมาคมธนาคารไทย ส่งไปประกอบการพิจารณาของกรมสรรพากร เพื่อเป็นหนังสือรับรองการหักภาษี ณที่จ่าย แต่ธนาคาร หรือบริษัทบัตรเครดิตยังคงมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายทุกครั้งที่มีการจ่ายเงินได้
(2.3) เพื่อเป็นการรับรองว่าธนาคารหรือบริษัทบัตรเครดิตได้ดำเนินการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย แทนบริษัทฯ แล้ว ให้ธนาคารหรือบริษัทบัตรเครดิตระบุข้อความเพิ่มเติมในใบกำกับภาษีของค่าธรรมเนียมมีสาระสำคัญว่า ธนาคารหรือบริษัทบัตรเครดิตได้ดำเนินการหักภาษีเงินได้ณ ที่จ่ายของค่าธรรมเนียมในอัตรา 3% เป็นจำนวน …. บาท แทนบริษัทฯ แล้ว และจะดำเนินการนำส่งภาษีดังกล่าวต่อกรมสรรพากรภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป ซึ่งธนาคารหรือบริษัทบัตรเครดิตจะต้องจัดให้มีการ SCAN หรือพิมพ์ลายมือชื่อผู้รับมอบอำนาจในใบกำกับภาษีดังกล่าวด้วย
(2.4) ให้ธนาคารหรือบริษัทบัตรเครดิตยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายตามแบบภ.ง.ด.53 โดยระบุในช่องผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายว่า ธนาคารหรือบริษัทบัตรเครดิตในฐานะผู้กระทำการแทนผู้จ่ายเงินในใบแนบ ภ.ง.ด.53 พร้อมทั้งแนบรายละเอียดรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายซึ่งระบุชื่อผู้จ่ายเงิน เลขประจำตัวผู้เสียภาษีของผู้จ่าย จำนวนเงินที่จ่าย และจำนวนภาษีที่หัก และให้ถือว่า
เอกสารรายละเอียดดังกล่าวเป็นใบต่อแบบ ภ.ง.ด. 53 ด้วย ซึ่งอาจจัดทำเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษก็ได้ และให้ถือว่าเป็นบัญชีพิเศษแสดงการหักภาษี ณ ที่จ่ายและการนำส่งภาษี ตามมาตรา 17แห่งประมวลรัษฎากร และข้อ 7 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้และภาษีการค้า (ฉบับที่ 4) เรื่อง กำหนดให้ผู้มีหน้าที่หักภาษีเงินได้หรือภาษีการค้า ณ ที่จ่าย มีบัญชีพิเศษ ลงวันที่ 31พฤษภาคม พ.ศ. 2531
(2.5) ให้ธนาคารหรือบริษัทบัตรเครดิตใช้สำเนาแบบ ภ.ง.ด.53 และหลักฐานใบเสร็จรับเงินของกรมสรรพากรที่รับชำระภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย เป็นหลักฐานในการเครดิตภาษีตามมาตรา 60 แห่งประมวลรัษฎากร
เลขตู้ : 67/33107

ขอบคุณบทความจาก ::www.rd.go.th
 731
Visitor
Get started for free today. ทดลองใช้งาน

Create a website for free Online Stores