• Home

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0706/7714 ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการจ่ายเงินค่าจ้างให้กับบริษัทต่างประเทศ

เลขที่หนังสือ กค 0706/7714 ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการจ่ายเงินค่าจ้างให้กับบริษัทต่างประเทศ

  • Home

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0706/7714 ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการจ่ายเงินค่าจ้างให้กับบริษัทต่างประเทศ

เลขที่หนังสือ กค 0706/7714 ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการจ่ายเงินค่าจ้างให้กับบริษัทต่างประเทศ

เลขที่หนังสือ : กค 0706/7714
วันที่ : 17 สิงหาคม 2547
เรื่อง : ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการจ่ายเงินค่าจ้างให้กับบริษัทต่างประเทศ
ข้อกฎหมาย : มาตรา 65
ข้อหารือ : 1. กิจการร่วมค้าฯ เป็นการตกลงร่วมค้ากันระหว่าง บริษัท A. จดทะเบียนนิติบุคคลภายใต้กฎหมายประเทศแคนาดา และบริษัท B. นิติบุคคลภายใต้กฎหมายประเทศมาเลเซีย ลงทุนในอัตราส่วนร้อยละ 45 และร้อยละ 55 โดยได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจจากกรมทะเบียนการค้า เพื่อให้ประกอบธุรกิจระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตเริ่มตั้งแต่วันที่ 26 มกราคม 2539 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2541 และจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มประเภทภาษีขายหักด้วยภาษีซื้อ เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2539 ประเภทกิจการให้บริการเป็นที่ปรึกษาโครงการ โดยให้คำปรึกษาทางด้านวิศวกรรมและบริหารจัดการโครงการสำหรับโครงการท่อส่งก๊าซธรรมชาติจากแหล่งยาดานา
2. กิจการร่วมค้าฯ ได้ทำสัญญาลงวันที่ 25 มกราคม 2539 ในโครงการท่อก๊าซยาดานาผู้ว่าจ้างคือบริษัทไทย เพื่อดำเนินการเป็นที่ปรึกษาทางด้านวิศวกรรมสำรวจและออกแบบในรายละเอียดพร้อมจัดทำเอกสารประกวดราคาหาบริษัทผู้รับเหมา และควบคุมงานก่อสร้างวางท่อก๊าซ ณ จุดส่งมอบบริเวณชายแดน จังหวัดกาญจนบุรี มายังโรงไฟฟ้าของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ที่บริเวณจังหวัดราชบุรี ตามโครงการท่อส่งก๊าซธรรมชาติจากแหล่งยาดานา (สหภาพพม่า) ค่าจ้างตามสัญญาจ่ายเป็นเงินเหรียญสหรัฐและเงินบาทไทย คิดเป็นจำนวนเงินรวมประมาณ 568 ล้านบาท เริ่มงานเมื่อวันที่15 กรกฎาคม 2539 และขยายเวลาถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2541
3. จากกรณีที่กิจการร่วมค้าฯ ได้ทำสัญญาตกลงกับบริษัทไทย รับเป็นที่ปรึกษาด้านวิศวกรรมและออกแบบการจัดการด้านต่าง ๆ ของโครงการยาดานา เนื่องจากกิจการร่วมค้าฯ ไม่มีเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติงาน กิจการร่วมค้าฯ จึงได้มีข้อตกลงกับบริษัท C. (มาเลเซีย) และบริษัท B.ประเทศมาเลเซีย เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2539 เพื่อจัดหาผู้ชำนาญการด้านเทคนิคมาปฏิบัติงานในโครงการฯลักษณะการให้ความช่วยเหลือด้านเทคนิค ประกอบด้วยการจัดเตรียมผู้ชำนาญการด้านเทคนิค ตามความต้องการของโครงการฯ จัดเตรียมผู้บริหารการจัดการโครงการฯ จัดเตรียมผู้ออกแบบด้านการสื่อสารคมนาคมตรวจสอบและรายงาน พัฒนาและอบรมทางด้านเทคนิคในด้านต่าง ๆ ทั้งการก่อสร้างและการบริหารการจัดการ โดยส่งผู้ชำนาญการเข้ามาปฏิบัติงานในประเทศไทย ในขอบเขตที่รับผิดชอบจนกว่างานจะแล้วเสร็จ และการให้คำปรึกษา โดยส่งข้อมูลผ่านทาง DHL และคอมพิวเตอร์จากเจ้าหน้าที่ของบริษัท C. และบริษัท B. ประเทศมาเลเซีย ระยะเวลาในการปฏิบัติงานในประเทศไทยตั้งแต่ช่วงปี 2539 - 2541 มีการจ่ายค่าจ้างเป็นเงินริงกิต (สกุลมาเลเซีย) ดังนี้หัวข้อ ประเภทจ่าย โนวาแก๊สฯ โอจีพีฯ รวม
A ความช่วยเหลือทางด้านเทคนิคจากมาเลเซีย 4,858,083.50 12,914,224.83 17,772,308.33
B การจัดหาและจ่ายเงินเดือน 811,562.67 348,944.14 1,160,506.81
C การช่วยเหลือการจัดการ 872,467.21 186,623.05 1,059,090.266,542,113.38 13,449,792.02 19,991,905.40 (ริงกิต)
จำนวนเงินที่โอนจ่ายไปมาเลเซียปี 2540-2541 70,766,718.31 135,119,532.67 205,886,205.98 (เงินบาท)การจ่ายเงินค่าจ้างให้กับบริษัท C. ครบตามจำนวนที่ตกลงไว้ ส่วนบริษัท B: ยังเหลือค้างจ่าย 1 งวด จำนวน 761,253.08 ริงกิต
4. เมื่อกิจการร่วมค้าฯ จ่ายเงินค่าจ้างให้กับบริษัทต่างประเทศทั้งสอง ได้ยื่นนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.36) ตามมาตรา 83/6 แห่งประมวลรัษฎากร แต่มิได้นำส่งภาษีเงินได้หัก ณที่จ่ายไว้ กิจการร่วมค้าฯ ถือว่าการบริการดังกล่าว ไม่มีการถ่ายทอดเทคนิคหรือประสบการณ์ เป็นลักษณะการดำเนินงานตามปกติ จึงถือเป็นกำไรจากธุรกิจ และบริษัทต่างประเทศทั้งสองไม่มีสถานประกอบการถาวรในประเทศไทย เนื่องจากได้มีข้อตกลงในการโอนเจ้าหน้าที่ให้อยู่ในความรับผิดชอบของกิจการร่วมค้าฯ โดยให้รับผิดชอบในการนำส่งภาษีหัก ณ ที่จ่าย ของเงินเดือนและผลประโยชน์เพิ่ม แต่การรับเงินเดือนของเจ้าหน้าที่ของบริษัทต่างประเทศทั้งสองอยู่ในข้อตกลงการจ่ายค่าจ้าง “ในหัวข้อ B การจัดหาและจ่ายเงินเดือน” ซึ่งบริษัทต่างประเทศทั้งสองที่ประเทศมาเลเซียเป็นผู้จ่ายให้กับเจ้าหน้าที่ของตนส่วนกรณีรายจ่ายตามข้อ B การจัดหาและจ่ายเงินเดือนเมื่อกิจการร่วมค้าฯ นำส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย จากเงินเดือนของเจ้าหน้าที่ของบริษัทต่างประเทศทั้งสองที่ปฏิบัติงานในประเทศไทย โดยยื่นแบบแสดงรายการตามแบบ ภ.ง.ด.1 จึงถือได้ว่ากิจการร่วมค้าฯ ได้ปฏิบัติไว้ถูกต้องแล้ว จึงไม่มีประเด็นต้องพิจารณาแต่อย่างใด
แนววินิจฉัย : 1. ภาษีเงินได้นิติบุคคล
1.1 กิจการร่วมค้า A และ B เป็นการตกลงกันเข้าร่วมค้าระหว่างบริษัท A. ซึ่งเป็นบริษัทที่จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายประเทศแคนาดา และบริษัท B. ซึ่งเป็นบริษัทที่จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายของประเทศมาเลเซียตามสัญญาจัดตั้งกิจการร่วมค้า ลงวันที่ 27 กรกฎาคม 2538 จึงเข้าลักษณะเป็น “บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล” ตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร และมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร โดยต้องคำนวณกำไรสุทธิตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามมาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากรโดยที่ “กิจการร่วมค้า” เป็นหน่วยภาษีแยกต่างหากจากผู้เข้าร่วมค้าตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากรดังกล่าวแล้ว ฉะนั้น เพื่อประโยชน์ในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจึงถือว่า “กิจการร่วมค้า” เป็นคนละหน่วยภาษีกับผู้เข้าร่วมค้า หรืออีกนัยหนึ่งเสมือนเป็นคนละนิติบุคคลจากข้อเท็จจริงดังกล่าวข้างต้น เห็นได้ว่ารายจ่ายที่กิจการร่วมค้าจ่ายออกไปให้กับบริษัทC. (มาเลเซีย)ฯ และบริษัท B. เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามมาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65ตรี แห่งประมวลรัษฎากรแล้วกิจการร่วมค้าฯ จึงมีสิทธินำรายจ่ายดังกล่าวไปถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ และไม่เป็นการจำหน่ายเงินกำไรตามมาตรา 70ทวิ แห่งประมวลรัษฎากรแต่อย่างใด
1.2 บริษัท C. (มาเลเซีย) ซึ่งเป็นบริษัทที่จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายของประเทศมาเลเซีย ตกลงทำสัญญาให้บริการกับกิจการร่วมค้าฯ ตามสัญญา ลงวันที่ 1 มกราคม 2539 โดยมีสาระสำคัญปรากฏตาม Schedule A เป็นการให้บริการในด้านต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
1.2.1 การให้บริการทางด้านเทคนิค (Technical Assistance renderedfrom Malaysia/Canada)
1.2.2 การจ่ายเงินเดือนและผลประโยชน์อื่น ๆ (Payment of Salaries &Benefits)
1.2.3 การให้บริการจัดหาบุคลากรและจัดการเงินเดือน (Recruitment
andpayroll handling)
1.2.4 การให้บริการสนับสนุนการบริหารจัดการ (AdministrativeSupportServices)โดยจะได้ส่งพนักงานเข้ามาให้บริการดังกล่าวในประเทศไทยตลอดอายุสัญญา บริษัทฯจึงมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 76 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร และเงินได้ที่บริษัทฯได้รับจากการให้บริการไม่มีลักษณะเป็นการถ่ายทอดข้อมูลที่ได้จากประสบการณ์ทางพาณิชยกรรมอุตสาหกรรม หรือวิทยาศาสตร์ จึงไม่เข้าลักษณะเป็น “ค่าสิทธิ” แต่เข้าลักษณะเป็นเงินได้ประเภท “
กำไรจากธุรกิจ” ตามข้อ 7 แห่งความตกลงระหว่างประเทศไทยกับประเทศมาเลเซีย เพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้ เนื่องจากบริษัทฯ มี “สถานประกอบการถาวร”ตามข้อ 5 วรรค 1 แห่งความตกลงฯ บริษัทฯ จึงมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในประเทศไทยดังนั้น เมื่อกิจการร่วมค้าฯ จ่ายเงินได้ให้กับบริษัทฯ จึงต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 5.0 ตามข้อ 12 ของคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.4/2528 ฯ
1.3 บริษัท B. ซึ่งเป็นบริษัทที่จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายของประเทศมาเลเซียตกลงทำสัญญาให้บริการกับกิจการร่วมค้าฯ ตามสัญญา ลงวันที่ 1 มกราคม 2539 โดยมีสาระสำคัญปรากฏตาม Schedule A เป็นการให้บริการในด้านต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
1.3.1 การให้บริการทางด้านเทคนิค (Technical Assistance renderedfrom Malaysia)
1.3.2 การจ่ายเงินเดือนและผลประโยชน์อื่น ๆ (Payment of Salaries &Benefits)
1.3.3 การให้บริการจัดหาบุคลากรและจัดการเงินเดือน (Recruitmentandpayroll handling)
1.3.4 การให้บริการสนับสนุนการบริหารจัดการ (AdministrativeSupportServices)
โดยจะได้ส่งพนักงานเข้ามาให้บริการดังกล่าวในประเทศไทยตลอดอายุสัญญา บริษัทฯจึงมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 76 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร และเงินได้ที่บริษัทฯได้รับจากการให้บริการไม่มีลักษณะเป็นการถ่ายทอดข้อมูลที่ได้จากประสบการณ์ทางพาณิชยกรรมอุตสาหกรรม หรือวิทยาศาสตร์ จึงไม่เข้าลักษณะเป็น “ค่าสิทธิ” แต่เข้าลักษณะเป็นเงินได้ประเภท “กำไรจากธุรกิจ” ตามข้อ 7 แห่งความตกลงระหว่างประเทศไทยกับประเทศมาเลเซีย เพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้ เนื่องจากบริษัทฯ มี “สถานประกอบการถาวร”ตามข้อ 5 วรรค 1 แห่งความตกลงฯ บริษัทฯ จึงมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในประเทศไทยดังนั้น เมื่อกิจการร่วมค้าฯ จ่ายเงินได้ให้กับบริษัทฯ จึงต้องหักภาษี ณที่จ่ายในอัตราร้อยละ 5.0 ตามข้อ12 ของคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.4/2528 ฯ
2. ภาษีมูลค่าเพิ่มการให้บริการของบริษัท C. (มาเลเซีย) และบริษัท B. เข้าลักษณะเป็นการประกอบกิจการซึ่งอยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 77/2 แห่งประมวลรัษฎากร โดยบริษัทฯทั้งสองไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นการชั่วคราวตามมาตรา 85/3 แห่งประมวลรัษฎากร ดังนั้นเมื่อกิจการร่วมค้าฯ จ่ายค่าบริการตามสัญญาออกไปให้กับบริษัทฯ ทั้งสอง จึงมีหน้าที่ต้องนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7.0 ของค่าบริการตามมาตรา 80 และมาตรา 83/6(1) แห่งประมวลรัษฎากร กรณีกิจการร่วมค้าจ่ายค่าบริการตามสัญญาฯ ออกไปให้กับบริษัทฯ ทั้งสองระหว่างวันที่16 สิงหาคม 2540 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2542 กิจการร่วมค้าฯ มีหน้าที่นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 10.0 ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม(ฉบับที่ 309) พ.ศ. 2540 และพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 353) พ.ศ. 2542
เลขตู้ : 67/33095

ขอบคุณบทความจาก ::www.rd.go.th
 955
Visitor
Get started for free today. ทดลองใช้งาน

Create a website for free Online Stores