• Home

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0811(กม)/1854 ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีออกใบกำกับภาษีโดยแยกราคาสินค้าและค่าบริการติดตั้งออกจากกัน

เลขที่หนังสือ กค 0811(กม)/1854 ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีออกใบกำกับภาษีโดยแยกราคาสินค้าและค่าบริการติดตั้งออกจากกัน

  • Home

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0811(กม)/1854 ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีออกใบกำกับภาษีโดยแยกราคาสินค้าและค่าบริการติดตั้งออกจากกัน

เลขที่หนังสือ กค 0811(กม)/1854 ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีออกใบกำกับภาษีโดยแยกราคาสินค้าและค่าบริการติดตั้งออกจากกัน

เลขที่หนังสือ : กค 0811(กม)/1854
วันที่ : 19 ตุลาคม 2541
เรื่อง : ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีออกใบกำกับภาษีโดยแยกราคาสินค้าและค่าบริการติดตั้งออกจากกัน
ข้อกฎหมาย : มาตรา 78/1, มาตรา 86, คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.4/2528 ฯ
ข้อหารือ : บริษัทฯ ประกอบกิจการผลิตสินค้าและให้บริการติดตั้งสินค้าประเภทที่ทำด้วยแสตนเลส เช่นโต๊ะเก้าอี้ ประดับและตกแต่งกระจก หน้าต่าง บริษัทฯ ได้สร้างที่พักผู้โดยสารประจำทางให้กับบริษัท ก.จำกัดตามขนาดและแบบที่บริษัท ก. จำกัด กำหนดโดยใช้วัสดุของบริษัทฯ แล้วนำไปติดตั้งยังจุดต่าง ๆบริษัทฯ ได้ออกใบกำกับภาษีโดยแยกราคาสินค้าและค่าบริการติดตั้งออกจากกัน จึงขอทราบว่า
(1) กรณีการออกใบกำกับภาษี บริษัทฯ ต้องออกใบกำกับภาษีฉบับเดียวกันหรือแยกออกคนละฉบับ
(2) บริษัทฯ ต้องถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในกรณีใดตามข้อเท็จจริงดังกล่าวข้างต้น บริษัทฯ ผลิตสินค้าตามแบบและขนาดที่ลูกค้ากำหนด โดยบริษัทฯ มิได้ผลิตขายโดยทั่วไปเป็นปกติธุระ การประกอบกิจการดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นการรับจ้างทำของ ตามมาตรา 587 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
แนววินิจฉัย : (1) บริษัทฯ มีหน้าที่ต้องออกใบกำกับภาษีรวมราคาสินค้าและค่าบริการติดตั้งฉบับเดียวกันในทันทีที่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น ตามมาตรา 86 แห่งประมวลรัษฎากรเนื่องจากความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการให้บริการเกิดขึ้นเมื่อได้รับชำระราคาค่าบริการ เว้นแต่กรณีที่มีการกระทำดังต่อไปนี้เกิดขึ้นก่อนได้รับชำระราคาค่าบริการ ก็ให้ถือว่าความรับผิดเกิดขึ้นเมื่อได้มีการกระทำนั้น ๆ ด้วยคือ
(ก) ได้ออกใบกำกับภาษี หรือ
(ข) ได้ใช้บริการ ไม่ว่าด้วยตนเองหรือบุคคลอื่น โดยให้ความรับผิดเกิดขึ้นตามส่วนของการกระทำนั้น ๆ แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ ตามมาตรา 78/1 แห่งประมวลรัษฎากร
(2) เมื่อบริษัท ก. จำกัด จ่ายเงินค่าจ้างทำของให้บริษัทฯ จึงมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 3.0 ของยอดเงินที่จ่ายตามข้อ 8 (2) ของคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งกรมสรรพากร ที่ท.ป.19/2530 ฯ ลงวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2530
เลขตู้ : 61/27196


ขอบคุณบทความจาก ::www.rd.go.th
 591
Visitor
Get started for free today. ทดลองใช้งาน

Create a website for free Online Stores