• Home

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0811/12269 ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการหักรายจ่ายเงินสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญและการจำหน่ายหนี้สูญ

เลขที่หนังสือ กค 0811/12269 ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการหักรายจ่ายเงินสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญและการจำหน่ายหนี้สูญ

  • Home

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0811/12269 ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการหักรายจ่ายเงินสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญและการจำหน่ายหนี้สูญ

เลขที่หนังสือ กค 0811/12269 ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการหักรายจ่ายเงินสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญและการจำหน่ายหนี้สูญ

เลขที่หนังสือ : กค 0811/12269
วันที่ : 17 สิงหาคม 2541
เรื่อง : ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการหักรายจ่ายเงินสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญและการจำหน่ายหนี้สูญ
ข้อกฎหมาย : มาตรา 65 ทวิ (9), มาตรา 65 ตรี (1), กฎกระทรวงฯ ฉบับที่ 186 (พ.ศ. 2534ฯ)
ข้อหารือ : ธนาคารฯ ขอทราบเกี่ยวกับวิธีการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลในรอบระยะเวลาบัญชี 1 มกราคม - 31 ธันวาคม 2535 ซึ่งธนาคารฯ ได้บันทึกบัญชีเงินสำรองที่กันไว้เป็นค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญในงบดุลเพิ่มขึ้นจากรอบระยะเวลาบัญชีก่อนจำนวน 100 ล้านบาท และในระหว่างรอบระยะเวลาบัญชีธนาคารฯ ยังได้บันทึกบัญชีเป็นรายจ่ายสำหรับลูกหนี้ที่ตัดจำหน่ายหนี้สูญที่เข้าหลักเกณฑ์ในกฎกระทรวงฉบับที่ 186 (พ.ศ. 2534) เพิ่มอีกจำนวน 25 ล้านบาท รวม 2 บัญชี เป็นเงิน 125 ล้านบาท โดยในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล ธนาคารฯ ได้ปฏิบัติดังนี้
1. กรณีบัญชีเงินสำรองฯ ธนาคารฯ คำนวณสำรองส่วนที่ตั้งเพิ่มขึ้นที่จะนำมาถือเป็นรายจ่ายตามหลักเกณฑ์ในมาตรา 65 ตรี (1) (ค) แห่งประมวลรัษฎากร ก่อนการแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนด แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2540 เป็นจำนวน 74 ล้านบาทดังนั้นธนาคารฯ จึงบวกกลับเงินสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญเป็นรายได้เพื่อคำนวณภาษีเท่ากับ 26 ล้านบาท (100-74)
2. กรณีบัญชีหนี้สูญสำหรับลูกหนี้ที่ได้ตัดจำหน่ายเป็นหนี้สูญจำนวน 25 ล้านบาท นั้น เข้าหลักเกณฑ์กฎกระทรวง ฉบับที่ 186 (พ.ศ. 2534) ธนาคารฯ จึงมิได้บวกกลับเป็นรายได้ในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลเนื่องจากธนาคารฯ ได้พิจารณาว่า มาตรา 65 ตรี (1) (ค) เป็นเรื่องของรายจ่ายที่เกี่ยวข้องกับเงินสำรองที่ได้รับยกเว้นให้ถือเป็นรายจ่าย ส่วนกฎกระทรวงฉบับที่ 186 (พ.ศ. 2534)เป็นเรื่องหลักเกณฑ์การตัดจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ที่ถือเป็นรายจ่ายได้ ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับหลักเกณฑ์ตามมาตรา 65 ตรี (1) (ค) ธนาคารฯ จึงขอทราบว่า วิธีปฏิบัติดังกล่าวข้างต้นถูกต้องหรือไม่
แนววินิจฉัย : กรณีตามข้อเท็จจริงข้างต้น ธนาคารฯ มีสิทธินำเงินสำรองที่กันไว้เป็นค่าเผื่อหนี้สูญ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ ในมาตรา 65 ตรี (1) (ค) แห่งประมวลรัษฎากร ก่อนการแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2540 จำนวน 74 ล้านบาท และการจำหน่ายหนี้สูญออกจากบัญชีลูกหนี้ ตามมาตรา 65 ทวิ (9) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับกฎกระทรวง ฉบับที่ 186 (พ.ศ. 2534) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ อีกจำนวน 25 ล้านบาท มาถือเป็นรายจ่ายได้ทั้ง 2 กรณี รวมเป็นจำนวนเงิน 99 ล้านบาท
เลขตู้ : 61/26987


ขอบคุณบทความจาก ::www.rd.go.th
 474
Visitor
Get started for free today. ทดลองใช้งาน

Create a website for free Online Stores